"ลักษณะทางกายภาพ ของโลก"

 รายงานวิชา สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม เรื่อง  ลักษณะทางกายภาพ ของโลก จัดทำโดย นาย ปิยะวัฒน์  วงศ์อัยรา  ม.5/2  เลขที่ 5 นาย เอกพล  บุดดาพันธ์  ม.5/2  เลขที่ 6 นางสาว ศิรินารถ  นาคสมภพ  ม.5/2  เลขที่ 8 นาย ปัญญา  เลขกลาง  ม.5/2  เลขที่ 21 นาย จีระศักดิ์  บุญภาค  ม.5/2  เลขที่ 22 นางสาว ณัฐรินทร์  ศรีเลิศ  ม.5/2  เลขที่ 31 เสนอ อาจารย์ วัชรี  กมลเสรีรัตน์  รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม รหัส ส.32101 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียน ศีลาจารพิพัฒน์


คำนำ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ส. 32101 ประวัติศาสตร์ไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีจุดประสงค์ เพื่อการศึกษาเรื่องลักษณะทางกายภาพของโลก ซึ่งทำให้เรารู้และเข้าใจถึงการเปรี่ยนแปลงของโลก และทำขึ้นเพื่อการศึกษาเพิ่มเติมด้วยตัวเองโดยมี อ.วัชรี กมลเสรีรัตน์ เป็น ผู้ ชี้นะและให้ คำปรึกษา                                                                                                                                                                                                       ผู้จัดทำ                                                                                                                                                                                        ทุกคนที่เป็น สมาชิกกลุ่ม


               สารบัญ     แผนที่คือ                                       1     ลักษณะทางกายภาพ                   2     ข้อมูลต่างๆของ โลก                   3      รูป ทางกายภาพ                          4   


แผนที่ คือ รูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณบริเวณหนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ เช่น วัตถุ หรือบริเวณย่อยๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น แผนที่มักเป็นรูปสองมิติซึ่งแสดงระยะห่างระหว่างจุดสองจุดในบริเวณหนึ่งๆ อย่างถูกต้องตามหลักเรขาคณิต ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ เรายังสามารถวาดแผนที่แสดงคุณสมบัติของบริเวณต่างๆ บนพื้นโลก เช่น ความหนาแน่นของประชากร ความสูง เป็นต้น หรือของบริเวณอื่นๆ อาทิ สมองของมนุษย์ ได้อีกด้วยแผนที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะการแสดงผล

1. แผนที่กายภาพ เป็นแผนที่แสดงลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นหลัก

2.แผนที่รัฐกิจ เป็นแผนที่เน้นการแสดงเขตการปกครองเป็นหลัก

3. แผนที่เศรษฐกิจ แสดงเขตอุตสาหกรรม การเกษตร การประมง และทรัพยากรธรรมชาติ

4.แผนที่เฉพาะกิจ หรือ แผนที่เฉพาะเรื่อง แสดงที่ตั้งของสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือกลุ่มใดเป็นการเฉพาะ เช่นแผนที่แสดงสถานที่ท่องเที่ยว แผนที่แสดงที่ตั้งบริษัท-ห้าง-ร้าน  


ลักษณะทางกายภาพ คือ สิ่งที่อยู่รอบตัวเราที่เกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติลักษณะทางกายภาพเชิงภูมิศาสตร์  มีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้           1.  ภูมิประเทศภูมิประเทศ หมายถึง ลักษณะของพื้นที่ในแต่ละจังหวัด ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น เป็นภูเขาที่ราบสูง ที่ราบลุ่มที่ราบชายฝั่งทะเลสิ่งที่เราต้องศึกษา เช่น ความกว้างความยาวความลาดชันและความสูงพื้นที่  เป็นต้น การศึกษาเกี่ยวกับ ภูมิประเทศ สิ่งที่ต้องใช้ในการสำรวจ สังเกต ตรวจ วัด 2.  ภูมิอากาศ
ภูมิอากาศ หมายถึง ลักษณะทั่วไปของสภาพอากาศ ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีภูมิอากาศแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและปัจจัยอื่น ๆ ด้วย

        3.  ภูมิพฤกษ์
 ภูมิพฤกษ์ หมายถึง ลักษณะพืชพันธ์ป่าไม้ชนิดตาง ๆ ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะพืชพรรณแตกต่างกัน เช่น ถ้าเราอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ลักษณะป่าไม้จะเป็นป่าเบญจพรรณ แต่ถ้าจังหวัดของเราอยู่ทางภาคใต้ลักษณะป่าไม้จะเป็นป่าดงดิบและในพื้นที่ที่อยู่ตามริมฝั่งทะเลจะพบป่าชายเลนด้วย ทั้งนี้ลักษณะของภูมิพฤกษ์จะขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ และภูมิอากาศ          

                4.  ภูมิอุทก
  ภูมิอุทก หมายถึง แหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น ห้วย หนอง คลอง แม่น้ำ ทะเล เป็นต้น แหล่งน้ำในแต่ละพื้นที่ขึ้นอยู่กับสภาพทางภูมิศาสตร์ เช่น จังหวดทางภาคเหนือมีป่าไม้มากจึงมีแหล่งต้นน้ำลำธารสมบูรณ์ จังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีป่าไม้น้อย พื้นดินเป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ แหล่งน้ำและปริมาณน้ำจึงมีน้อย                             

                 5.  ภูมิปฐพี


      
ภูมิปฐพี หมายถึง ลักษณะหินและแร่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นโครงสร้างของเปลือกโลก การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก เช่นจังหวัดทางภาคเหนือบางจังหวัดเป็นแหล่งแร่สำคัญเช่น ถ่านหินลิกไนต์ ดินขาว ฟลูออไรต์ จังหวัดทางภาคใต้บางจังหวัดเป็นแหล่งแร่สำคัญ เช่น แร่ดีบุก แร่ยิปซัม ก๊าซธรรมชาติ                               6.  ภูมิธรณี
    ภูมิธรณี หมายถึง ลักษณะดิน เช่น ชนิดของดิน สมบัติของดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งดินแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน เช่น จังหวัดทางภาคเหนือดินส่วนใหญ่มีความสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง จังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย จึงไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ จังหวัดในภาคกลาง ดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นดินตะกอนธารน้ำ ภาคกลางจึงเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของประเทศ


ข้อมูลต่างๆของ โลก

เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวศูนย์สูตร   12,756.28 kmเส้นผ่านศูนย์กลาง  12,713.56 kmเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย  12,742.02 kmความแป้น  0.003 35เส้นรอบวงตามแนวศูนย์สูตร  40,075 kmเส้นรอบวงตามแนวขั้ว  40,008 kmพื้นที่ผิว  510,067,420 km²
ปริมาตร  1.0832×1012 km³มวล  5.9736×1024 kgความหนาแน่น  5.515 g/cm³ความโน้มถ่วงที่ศูนย์สูตร  9.780 m/s² 1(0.997 32 จี)ความเร็วหลุดพ้น

 11.186 km/sคาบการหมุนรอบตัวเอง1674.38 km/h = 465.11 m/s (ที่เส้นศูนย์สูตร)ความเร็วการหมุนรอบตัวเอง  0.997 258 วัน (23.934 ชั่วโมง ความเอียงของแกน  23.439 281° ไรต์แอสเซนชันของขั้วเหนือ   0° (0 ชั่วโมง 0 นาที 0 วินาที)  เดคลิเนชัน 90°อัตราส่วนสะท้อน  0.367 ความกดบรรยากาศพื้นผิว  100 kPa



   แหล่งที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science03/49/2/web_work/m4.html http://www.cr3.go.th/thirdthai/supeng/page1.htm

รูปภาพของ silavacharee

Innocent

รูปภาพของ sila17271

http://www.thaigoodview.com/node/69692

1.นางสาว วรัญญา เวสูงเนิน เลขที่ 21


2.นางสาว ออลดา คงศรีดี เลขที่ 22


3.นางสาว จิราภรณ์ ประทุมทอง เลขที่ 23


4.นางสาวอลิสสา โมอ่อน เลขที่ 24


5.นาย เสฏฐวุฒิ อำมะลา เลขที่ 27


6.นางสาว ชลลดา เบ้าจรรยา เลขที่ 32

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3

 มาส่งอีกรอบล่ะคราฟ

เปิดให้ได้นะคราฟสาธุ

ขอบพระคุณคับ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 376 คน กำลังออนไลน์