ประวัติของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

รูปภาพของ NERIYA

ประวัติของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ภาพจาก : http://dek-d.com/contentimg/por_2/maejo_phrae.jpg

 

อักษรย่อ   :   มมจ. / MJU

ชื่อภาษาอังกฤษ   :    Maejo University

วันสถาปนา    :    7 มิถุนายน พ.ศ. 2477

ประเภท  :    รัฐ

อธิการบดี    :    รศ. ดร. เทพ พงษ์พานิช

สีประจำสถาบัน   :   เขียว-ขาว-เหลือง

ต้นไม้   :   อินทนิล

เว็บไซต์   :   www.mju.ac.th

 

 

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้พัฒนามาจาก โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ กระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2477 เป็นสถานศึกษาขั้นสูงสุดทางการเกษตรของประเทศในสมัยนั้น ซึ่งมีประวัติที่เล่าขานและเป็นตำนานที่บอกกล่าวมายาวนานถึงเรื่องราวการบุกเบิกพื้นที่ และการต่อสู้กับงานหนัก เพื่อให้ความรู้ สติปัญญา ฝึกทักษะ อาชีพ และหล่อหลอมความทรหดอดทนของผู้เรียน เพื่อให้บรรลุผลของงานที่ทำ ท่ามกลางภยันตรายที่รุมล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นไข้ป่า ความกันดารของสภาพพื้นที่ที่เป็นป่า ขาดแคลนน้ำและดินเลว สภาพที่อยู่ที่กิน และห้องเรียนทีสร้างจากใบตองตึงพื้นเป็นดิน ซึ่งหากไม่มีหัวใจของนักต่อสู้งานหนัก จิตใจที่ตั้งมั่นและอดทนแล้ว คงมิอาจฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ดังกล่าวไปได้เลย สมดังปรัชญาของลูกแม่โจ้ "งานหนักไม่เคยฆ่าคน"

 ยุคสร้าง "แม่โจ้"

พ.ศ. 2477   จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) รัฐมนตรีกระทรวงธรรมการ ได้มีบัญชาให้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือที่แม่โจ้ ให้พระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก ควบคู่กับสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ โดยจัดแบ่งพื้นที่คนละครั้งกับสถานีทดลองซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือ พื้นที่โรงเรียนอยู่ทางทิศใต้ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 900 ไร่เศษ สภาพพื้นที่ยังเป็นป่าตองตึงและไม้เหียงซึ่งเป็นไม้ขนาดย่อมส่วนไม้ป่าอื่น ๆ เช่น สัก ประดู่และตะเคียน มีอยู่เพียงประปรายเท่านั้น เหตุผลเพราะดินชั้นล่างเป็นดินดานแข็งโดยทั่วไป ระบบรากต้นไม้ไม่อาจหยั่งลึกได้ ส่วนดินชั้นบนก็เป็นดินทราย ขาดความอุดมสมบูรณ์สำหรับการปลูกพืชทั่ว ๆ ไป สภาพพื้นที่อย่างนี้จึงไม่มีใครต้องการจะทำประโยชน์อะไรแต่กลับเป็นเหตุผลจูงใจสำคัญยิ่ง ที่พระช่วงฯ ต้องการจะทำประโยชน์ในพื้นที่อย่างนี้ ท่านเล็งให้เห็นว่าการจะพัฒนาการเกษตร ให้เป็นแบบอย่างสำหรับเกษตรกรทั่วไปได้นั้น สิ่งหนึ่งที่จะทำคือ ต้องนำเอาความรู้มาสาธิตแสดงให้ประจักษ์ต่อบุคคลทั่วไป ได้เห็นว่าการปรับปรุงดินเลวให้สามารถใช้ปลูกพืชโดยจัดระบบปุ๋ยพืชสด การใช้ปุ๋ยหมักต่าง ๆ ในพื้นที่เกษตร ไม่ว่าจะเป็นพืชไร่ นา สวนไม้ผล แปลงปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์และระบบการหมุนเวียนใช้ประโยชน์ของพื้นที่นั้น จะสามารถทำการเกษตรได้ทุกอย่าง

เมื่อปี พ.ศ. 2484   หลักสูตร ปปก.รับนักเรียนเพียง 3 รุ่น คือในปี 2477-79 (แม่โจ้ รุ่น 1 จำนวน 48 คน รุ่น 2 จำนวน 84 คน และ รุ่น 3 จำนวน 99 คน)

พ.ศ. 2478 โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม
กระทรวงธรรมการเห็นว่า หลักสูตรประโยคครูประถมกสิกรรม (ป.ป.ก.) ที่เปิดไปแล้วมีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวนมากพอ และมีสถานศึกษาที่ต้องใช้ครูเกษตรเหล่านี้เพียงจำนวนน้อย จึงให้ยุบเลิกการสอนหลักสูตรดังกล่าว และเปิดหลักสูตรมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมขึ้นแทนหลักสูตรที่เปิดใหม่นี้ รับจากผู้สำเร็จมัธยมปีที่ 4 สายสามัญ เข้าเรียนต่ออีก 4 ปี จบการศึกษาแล้วจะไดรับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมบริบูรณ์แผนกเกษตรกรรม เทียบได้ชั้นมัธยม 8หลักสูตรมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม (มก.) รับเพียง 4 รุ่น ในปี 2478-2481 (แม่โจ้ รุ่น 2 (มก.1) จำนวน 134 คน รุ่น 3 (มก.2) จำนวน 57 คน รุ่น 4 (มก.3) จำนวน62 คน รุ่น 5 (มก.4) จำนวน 51 คน
พ.ศ. 2481 จัดตั้งเป็น วิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กระทรวงธรรมการได้โอนโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมให้กับกระทรวงเกษตราธิการโดยยุบรวมแห่งอื่น ๆ ที่บางกอกน้อย โนนวัด คอหงศ์ และที่แม่โจ้ แล้วจัดตั้งเป็นวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ เพียงแห่งเดียว หลักสูตร 2 ปี ระดับอนุปริญญา โดยรับผู้สำเร็จชั้นมัธยม 8 สำเร็จแล้วบรรจุเป็นข้าราชการชั้นตรี อันดับ 1 อัตราเงินเดือน 80 บาท ตกลงในปีเดียวกันนี้ แม่โจ้จึงเป็นทั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม (ป.ป.ก. ปีสุดท้าย) มัธยมวิสามัญเกษตรกรรม
และวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตามลำดับโดยมี พระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นผู้อำนวยการ

กลางปี พ.ศ. 2481   พระช่วงเกษตรศิลปการได้ย้ายไปรับตำแหน่งอธิบดีกรมเกษตรที่กรุงเทพฯ อาจารยจรัด สุนทรสิงห์ มารักษาการแทน

พ.ศ. 2482 เป็นโรงเรียนเตรียมวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เมื่อวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ย้ายจากแม่โจ้ไปตั้งที่บางเขนที่แม่โจ้จึงถูกจัดตั้งเป็นโรงเรียนเตรียมเกษตรศาสตร์ รับผู้สำเร็จชั้นมัธยมปลาย (ม.6 สายสามัญ) หลักสูตร 2 ปี สำเร็จแล้วเข้าศึกาต่อได้ที่วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยมีศาสตราจารย์ ดร.พนม สมิตานนท์ เป็นผู้อำนวยการ   ศาสตราจาร ดร.พนม ย้ายไปกรมเกษตร ขณะเดียวกันก็เป็นอาจารย์สอนในวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เมื่อปี พ.ศ. 2484 อาจารย์ประเทือง ประทีปเสน จึงรักษาการผู้อำนวยการต่อจนถึงปี พ.ศ. 2486

พ.ศ. 2486 โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เมื่อวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขนได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แม่โจ้จึงเปลี่ยนไปเป็น"โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" หลักสูตร 2 ปี เพื่อเตรียมนักเรียนเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อไป โดยมีศาสตราจารย์ ดร.พนม สมิตานนท์ เป็นผู้อำนวยการ

หลักสูตรตั้งแต่ปี 2482-87 เป็นหลักสูตร 2 ปี (แม่โจ้ รุ่น 6 - รุ่น 11)

สัญลักษณ์ต่างของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ภาพจาก :  http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/7/79/MJU_crest_logo.png

 

 

 

ภาพจาก :  http://www.maejo.net/MaejoFlowerSymbol/300-314IntaninbyTanit2528.jpg

* อินทนิล *

Lagerstroemia macrocarpa Wall.

                1.  ชื่อไทย ( Thai name )  อินทนิล,  จ่อล่อ, จะล่อหูกวาง
                2.  ชื่อสามัญ ( Common name ) Queen's flower, Queen's crape myrtle
                3.  ชื่อวิทยาศาสตร์ ( Scientific name ) Lagerstroemia macrocarpa Wall.
                4. ชื่อวงค์ ( Family ) LYTHRACEAE
              สีดอก  ดอกสีม่วง  ม่วงชมพู  เป็นช่อตรง  ดอกออกตามปลายกิ่งหรือตามข้อกิ่ง
ออกดอก ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน

* ประวัติและเหตุผล *

 เกี่ยวกับการเลือกพันธ์ไม้นี้เป็นสัญญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย  อันเนื่องมาจากแม่โจ้"มหาวิทยาลัยแม่โจ้" มี  อายุครบ  50  ปี  ในเดือนมิถุนายน  2527  คณะกรรมการศิษย์เก่าแม่โจ้และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
โดย  นายจำนงค์  โพธิสาโร (แม่โจ้ รุ่น 10) อธิบดีกรมป่าไม้สมัยนั้น  อุปนายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้  เป็นประธาน  ได้เสนอชื่อพรรณไม้ที่ทนต่อสภาพแวดล้อมและเจริญเติบโต
ในทุกภาคของประเทศไทย  เป็นพันธ์ลักษณะที่ดี  มีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง อายุยืนนานใบสีเขียวเข้ม ลักษณะใบเดี่ยว ดอกสีม่วง ม่วงชมพู  มีฉายานามว่าเป็น "ราชินีดอกไม้"( Queen's Flower ) ฝักผลไม่ยอมทิ้งต้น  มีสายพันธ์อีกหลายชนิดในวงค์เดียว มีดอกเป็นลักษณะQeen's crape myrtle เช่น  ตะแบก, เสลา และยี่เข่ง  เป็น Qrape myrtle  เหมือนกัน
           คณะกรรมการได้ลงมติเลือกชื่อพรรณไม้ "อินทนิล" นี้เป็นมงคลนามต่อมหาวิทยาลัย  ซึ่งมีความหมายถึงความผูกพันกับมหาวิทยาลัย  อินทนิลมีลักษณะของช่อดอกเกาะกันเป็นกลุ่มแน่น สีสวยสด เหมือนความรัก  ความสามัคคี  เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  ความผูกพันอยู่กับมหาวิทยาลัยของศิษย์เก่าตลอดเวลาที่ออกไปประกอบอาชีพอยู่ทุกหนทุกแห่ง
           อินทนิล  หรือไม้ในวงค์นี้  เป็นไม้เศรษฐกิจ  เนื้อแข็งปานกลางจนถึงแข็ง ใช้เป็นไม้ประดับให้ร่มเงา ดอกสีสวยสดงดงาม  ตลอดทั้งเปลือก ต้น ใบ ใช้เป็นยาสมุนไพร  ดั่งคุณค่าของบรรดาศิษย์เก่าแม่โจ้  ที่ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคมประเทศชาติเป็นระยะเวลาอันยาวนานกว่า 50 ปี

ภาพจาก :  http://image.dek-d.com/15/873238/14451889

 

 

 กลับไปยัง --> ประวัติของมหาวิทยาลัยต่างๆ

 

 

สร้างโดย: 
คุณครู รุจี อภัยพลชาญ และ น.ส.เณริญา ยวดขุนทด ม.6/5 เลขที่ 28

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 369 คน กำลังออนไลน์