Le participe présent et le participe passé / Le gérondif

Le participe présent

      รูปแบบ (forme) : [การผันคำกริยาในรูป participe présent]

         1. นำคำกริยาที่ต้องการมาผันกับประธานบุรุษที่ 1พหูพจน์ (Nous) ในรูป présent

         2. ตัดลงท้าย "ons" ออก

         3. เติมลงท้ายที่แกนของคำกริยาด้วย : ant :

        1er groupe (parler) : Nous parlons     =>     parl_     =>   parlant

             2e groupe (finir) : Nous finissons      =>      finiss_      => finissant

             3e groupe (prendre) : Nous prenons      =>      pren_      =>  prenant

        ยกเว้น verbe "être" เป็น étant, verbe "avoir" เป็น ayant, และ verbe "savoir" เป็น sachant

        Verbe ที่ลงท้ายด้วย "_ger" เช่น manger, voyager, changer, mélanger, songer ... [g + e + a]  mangeant,

            voyageant, changeant, mélangeant, sangeant, ...

         Verbe ที่ลงท้ายด้วย "_cer" เช่น commencer, placer, déplacer, tracer ... [ç + a] commençant, plaçant,

           déplaçant, traçant, ...

       การใช้ :

        1. ทำหน้าที่เป็น adjectif ประกอบคำนาม ในกรณีนี้ participe présent ต้องสอดคล้องกับเพศน์ และพจน์ของคำนามที่ไป             ประกอบ :

            - C'est une histoire amusante. (มันเป็นเรื่องที่สนุก)

            - Ce sont des gens intéressants. (พวกเขาเป็นคนที่น่าสนใจ)

            - C' est une fille charmante. (หล่อนเป็นคนที่มีเสน่ห์)

        2.1 ใช้บรรยายการกระทำที่กำลังดำเนินอยู่ ในกรณีนี้ participe présent ไม่มีการเปลี่ยนรูป :

            - Je vois les jeunes gens se promenant heureux la main dans la main.
              (ฉันเห็นคนหน่มสาวเดินจูงมือกันอย่างมีความสุข)

            - Je les trouve lisant des bandes dessinées (ฉันพบพวกเขากำลังอ่านหนังสือการ์ตูนกันอยู่)

        2.2 ใช้แทนรูป pronom relatif "qui" ในความหมาย "ผู้ที่ซึ่ง..."

            - C'est une secrétaire pouvant parler français, anglais et thaï. = C'est une secrétaire qui peut parler               français, anglais et thaï. (หล่อนเป็นเลขาที่สามารถพูดภาษาฝรั่งเศส, อังกฤษ และภาษาไทยได้)

            - Les éIèves ayant le baccalauréat peuvent s'inscrire à l'université. = Les éIèves qui ont le baccalauréat               peuvent s'inscrire à l'université.
             (นักเรียนที่มีประกาศนียบัตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสามารถสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้)

       2.3 ใช้บอกสาเหตุ โดยการแทน " comme " และ " étant donné que " :

            - Comme la pluie tombait très fort, nous avons dû renter. = La pluie tombant très fort, nous avons dû               renter. (เนื่องจากฝนตกแรงมาก เราเลยจำเป็นต้องกลับ)

            - Étant donné qu'elle a passé plusieurs années en France, elle apprécie beaucoup la vie à la française.               = Ayant passé plusieurs années en France, elle apprécie beaucoup la vie à la française.
                (เนื่องจากได้ไปใช้เวลาอยู่ฝรั่งเศสเป็นเวลาหลายปี หล่อนจึงชื่นชอบชีวิตแบบฝรั่งเศส)
            

       3. ใช้กับ " en " จะได้รูปไวยกรณ์ที่เรียกว่า " le gérondif "

            En faisant, en travaillant, en écoutant, ...

            เราใช้ le gérondif กับคำกริยาตัวอื่นอีกตัวเพื่อแสดงว่าการกระทำสองอย่างเกิดขึ้นพร้อมกันโดยประธานเป็นตัวเดียวกัน

             le gérondif บอก " เวลา " :

            - Elle écrit la lettre et elle pense à lui. Elle écrit la lettre en pensant à lui.
              (หล่อนเขียนจดหมายขณะคิดถึงเขา)

            - Quand je suis allé(e) à l'école, j'ai rencontré ton frère. En allant à l'école, j'ai rencontré ton frère.
              (ขณะไปโรงเรียนฉันได้พบพี่ชายของเธอ)  

             le gérondif บอก " วิธีการกระทำ หรือ รูปแบบการกระทำ " :

            - Comment as-tu appris l'italien ? En suivant des cours et en écoutant des cassettes.
              (เธอเรียนภาษาอิตาเลี่ยนอย่างไร ? โดยการไปเข้าชั้นเรียนและฟังเทป)

            - Comment est-ce qu'elle est venue ? En prenant le métro.
              
 (เธอมาอย่างไร ? โดยการขึ้นรถใต้ดิน)  

               le gérondif บอก " เงื่อนไข " :

             - Tu réussiras à l'examen si tu travailles régulièrement Tu réussiras à l'examen en travaillant                 régulièrement. (เธอจะประสบความสำเร็จในการสอบถ้าเธอทำงานอย่างสมํ่าเสมอ)

            - Tu pourras me contacter si tu appelles chez mes parents. Tu pourras me contacter en appelant                chez mes parents. (เธอจะสามารถติดต่อฉันได้ถ้าเธอโทรไปที่บ้านพ่อแม่ของฉัน)

            เราใช้ " tout " นำหน้า " le gérondif " เพื่อบอก :

             การกระทำสองอย่างเกิดขึ้นพร้อมกัน :

            - Ils chantent tout en dansant. (พวกเขาร้องเพลงไปพร้อมกับการเต้น)  

             ความขัดแย้งกัน :

            - Il est malheureux tout en étant très riche. (เขาไม่มีความสุขทั้งที่รํ่ารวยมาก) 

            


Le participe passé

      รูปแบบ (forme) : [การผันคำกริยาในรูป participe passé]

        วิธีทำกริยา infinitif ให้เป็น participe passé มีหลายรูปแบบโดยเฉพาะคำกริยาในกลุ่มที่ 3
       
อย่างไรก็ตาม สำหรับคำกริยาในกลุ่มที่ 1 และ คำกริยาในกลุ่มที่ 2 จะมีรูปลงท้ายที่แน่นอน คือ " é " สำหรับกลุ่มที่ 1
        และ " i " สำหรับกลุ่มที่ 2 ส่วนกลุ่มที่ 3 นอกจากคำกริยาที่มีรูปหรือลงท้ายที่เฉพาะแล้ว (ซึ่งต้องท่องจำ) เราอาจจะรวมกลุ่ม
        ลงท้ายได้เป็น 4 กลุ่ม คือ radical + u, radical + i, radical + is, radical + it ตามตารางข่างล่างนี้ :

Être
Avoir
1ergroupe
2e groupe
été
eu

radical + é
aimé

radical + i
choisi
3e groupe
           radical + u
connaître
connu
voir  
vu
venir  
venu
..... 
           radical + i
partir 
parti
servir  
servi
rire 
ri
..... 
           radical + is
mettre 
mis
prendre  
pris
asseoir 
assis
..... 
            radical + it
écrire 
écrit
conduire  
conduit
dire  
dit
..... 

Cas particuliers : กรณีเฉพาะ (ที่ต้องท่องจำ)
ouvrir ouvert
offrir offert
couvrir couvert
découvrir découvert
faire fait
éteindre éteint
naître

mourir
mort
.....

        การใช้ :

        1. ใช้ประกอบกับกริยาช่วย (auxiliaire) "être" หรือ "avoir") ในการสร้าง กาลผสม (temps composés) :

            กับ "avoir", participe passé จะไม่สอดคล้องกับเพศและพจน์ของประธาน

            - J'ai mangé des fruits à midi. (passé composé)

            - Elle avait fini ses devoirs. (plus-que-parfait)

            - Il aura lu tous ces romans. (futur antérieur)

            - J'aurais voulu être artiste. (conditionel passé)

            - Je suis content que tu aies gagné la partie. (subjonctif passé)

             กับ "être", participe passé จะ่สอดคล้องกับเพศและพจน์ของประธาน

             - Elle est allée au rendez-vous. (passé composé)

            - Nous étions sortis pour manger. (plus-que-parfait)

            - Ils seront rentrés . (futur antérieur)

            - Je me serais levé(e) . (conditionel passé)

            - Je suis content qu'elles soient venues à ma fête. (subjonctif passé)

        2. ใช้ประกอบกับกริยาช่วย (auxiliaire) "être" ในรูป passive เพื่อเน้น "กรรม หรือ ผลของการกระทำ"
             และ participe passé ต้องสอดคล้องกับเพศและพจน์ของกรรมที่กลายมาเป็นประธาน :

           โครงสร้าง : être + participe passé + préposition "par" + nom

           - Cette fête est organisée par les étudiants. (งานนี้ถูกจัดโดยนักศึกษา)

           - Ce film a été fait par un réalisateur français. (ภาพยนต์เรื่องนี้ถูกสร้างโดยผู้กำกับชาวฝรั่งเศส)

           โครงสร้าง : être + participe passé [เมื่อไม่เน้นผู้กระทำกริยา]

           - Ces livres ont été imprimés en France. (หนังสือเหล่านี่ถูกพิมพ์ในฝรั่งเศส)

           - Les enfants seront vaccinés à l'école. (เด็กๆจะได้รับการฉีดวัคซีนที่โรงเรียน)

      3. ใช้เป็น adjectif ประกอบคำนาม ในกรณีนี้ participe passé ต้องสอดคล้องกับเพศน์ และพจน์ของคำนามที่ไปประกอบ :    

          - C'est un acteur très connu. (เขาเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงมาก)

          - C'est un film interdit aux enfants de moins de 12 ans. (นี่เป็นภาพยนต์ที่ห้ามสำหรับเด็กอายุตํ่ากว่า 12 ปี)


 

คำแนะนำ: คลิกปุ่ม HOME เพื่อกลับสู่หน้าหลัก (สารบัญ)

คลิกปุ่ม BACK เพื่อถอยหลังกลับหน้าที่แล้ว

คลิกปุ่ม NEXT เพื่อไปยังหน้าต่อไป

ขอบคุณมากๆค่ะ แสดงความคิดเห็นกันด้วยนะคะ

สร้างโดย: 
ภัทรา พงศ์ภัทรถาวร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 339 คน กำลังออนไลน์