Les pronoms personnels : place des pronoms [ตำแหน่งของคำสรรพนาม]

LES PRONOMS PERSONNELS : La place des pronoms compléments
[คำสรรพนาม]

     สรรพนามที่แทนคำนามและเป็นกรรมของกริยา หรือเป็นส่วนขยายบอกสถานที่ จะวางไว้หน้ากริยา

         ยกเว้นเมื่ออยู่ในรูปคำสั่งบอกเล่า สรรพนามเหล่า่นี้ จะตามหลังกริยา

         1. กับสรรพนามเพียงหนึ่งตัว

             - Tu connais cette jeune fille ?   

            + Oui, je la connais.

            + Non, je ne la connais pas

               [ในประโยคปฎิเสธ สรรพนามจะอยู่ระหว่างปฎิเสธส่วนแรก "ne" และ "กริยา" ตามด้วยปฎิเสธส่วนที่สอง]

       ในประโยคคำสั่งบอกเล่า สรรพนามที่เป็นกรรมจะตามหลังกริยา

           - Achète ces fleurs.      Achète-les.

      ในประโยคคำสั่งปฎิเสธ สรรพนามที่เป็นกรรมจะกลับไปอยู่หน้ากริยาดังเดิม

           - N' achète pas ces fleurs.      Ne les achète pas.

       สังเกต : เครื่องหมายยัติภังค(trait d'union) "-" จะใช้คั่นระหว่าง กริยาและสรรพนาม ในประโยคคำสั่งบอกเล่า

         2. กับสรรพนามสองตัว

             สรรพนามที่แทนกรรมรองจะอยู่หน้าสรรพนามที่แทนกรรมตรง

                - Il me prête son livre.      Il me le prête.

                - Elle nous raconte son histoire.      Elle nous la raconte.

            หากสรรพนามที่แทนกรรมรองเป็นบุรุษที่ 3 (lui หรือ leur) สรรพนามที่แทนกรรมตรง

                จะนำหน้าสรรพนามที่แทนกรรมรอง

                - Il offre ce cadeau à Hélène.      Il le lui offre.

                - Le professeur explique les leçons aux élèves.      Il les leur explique.

         ในประโยคคำสั่งบอกเล่า หลังกริยาจะตามด้วยสรรพนามที่แทนกรรมตรงก่อน

            แล้วจึงตามด้วยสรรพนามที่แทนกรรมรอง

            - Donnez-moi votre adresse.      Donnez-la-moi.

            - Apporte ces fleurs à Roselyne.      Apporte-les-lui.

          ในประโยคคำสั่งปฎิเสธ สรรพนามจะกลับไปอยู่หน้ากริยาเหมือนเดิม โดยสรรพนามที่แทนกรรมรอง

             จะนำหน้ากรรมตรง ยกเว้นเมื่อสรรพนามที่แทนกรรมรองเป็นบุรุษที่ 3 (lui หรือ leur) สรรพนามที่แทนกรรมตรง

             จะนำหน้าสรรพนามที่แทนกรรมรอง

        สังเกต : เครื่องหมายยัติภังค (trait d'union) "-" จะใช้คั่นระหว่าง กริยาและสรรพนามทั้งสองตัว ในประโยคคำสั่งบอกเล่า

           3. สรรพนาม "y" และ "en" นั้นจะอยู่ท้ายสุดตามลำดับในบรรดาสรรพนามทั้งหมด

            - Jean m' invite au restaurant.      Il m' y invite.

               - Je donne de l' argent à mes enfants.      Je leur en donne.

               - Il y a assez de pain ?       Oui, il y en a assez.

        สังเกต : - Donnez-moi un kilo d' oranges.      Donnez-m' en un kilo.

        เมื่อมีคำกริยาในรูป infinitif ตามหลังคำกริยาตัวแรก สรรพนามที่ใช้แทนกรรมจะอยู่หลังคำกริยาตัวแรก

           และอยู่หน้า infinitif

           - Je ne peux pas répondre à ces questions.     Je ne peux pas y répondre.

           - Elle veut voir ce film.       Elle veut le voir.

        สำหรับคำกริยา "faire" และ "laisser" เมื่อตามด้วย infinitif สรรพนามที่แทนกรรมจะอยู่หน้าคำกริยาตัวแรก

           - Maman fait cuire les pâtes.      Maman les fait cuire.

           - Elle ne laisse pas sortir ses enfants le soir.      Elle ne les laisse pas sortir le soir.

         ยกเว้น : ในประโยคคำสั่งบอกเล่า สรรพนามจะอยู่หลังคำกริยาตัวแรก

           - Laissez les enfants jouer !       Laissez-les jouer !

           - Fais venir le médecin.      Fais-le venir.

 

คำแนะนำ: คลิกปุ่ม HOME เพื่อกลับสู่หน้าหลัก (สารบัญ)

คลิกปุ่ม BACK เพื่อถอยหลังกลับหน้าที่แล้ว

คลิกปุ่ม NEXT เพื่อไปยังหน้าต่อไป

ขอบคุณมากๆค่ะ แสดงความคิดเห็นกันด้วยนะคะ

สร้างโดย: 
ภัทรา พงศ์ภัทรถาวร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 281 คน กำลังออนไลน์