สงครามเย็น I

สงครามเย็น
 
 
 
 
 
          เป็นที่ทราบกันดีว่าหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง การเผชิญหน้ากันระหว่างฝ่ายพันธมิตรกับฝ่ายอักษะได้แปรเปลี่ยน
 
ไปเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างอุดมการณ์ทางการเมือง 2 ค่ายคือ ประชาธิปไตยกับคอมมิวนิสต์ และการเผชิญหน้านี้เองจะถูก
 
เรียกว่า “สงครามเย็น (Cold War)” ถึงแม้ปัจจุบันสภาวะของสงครามเย็นได้ยุติลงด้วยความสูญเสียในระดับที่น้อยกว่าการสูญเสีย
 
ในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยสงครามโลกครั้งที่สองนั้นมีการสูญเสียชีวิตถึง 72 ล้านคน (รวมทั้งพลเรือนและทหารแยกฝ่ายสัมพันธ
 
มิตรสูญเสีย 61 ล้านคน และฝ่ายอักษะสูญเสีย 11ล้านคน) ในขณะที่สงครามเย็นมีการสูญเสียชีวิตคนไปหลายล้านคน (สงคราม
 
เกาหลี สงครามเวียดนาม สงครามสหภาพโซเวียต-อัฟกานิสสถาน ฯลฯ รวมแล้วก็หลายล้านคนแต่ไม่ถึง 72 ล้านคน) แต่การสูญเสีย
 
ในสงครามเย็นก็สามารถกล่าวได้ว่ามีการสูญเสียในระดับที่สูงคือระดับที่เป็นหลักล้านชิวิตเหมือนกัน
 
 
 
 
 
 
 
            ในช่วงสงครามเย็นนั้นไม่เพียงแต่จะมีการสูญเสียชีวิตไปในระดับที่เป็นหลักหลายล้านคนแล้ว สิ่งที่จะนำไปสู่ความหายนะ
 
ของมวลมนุษย์ชาติ ด้วยความเสี่ยงที่เกือบจะเกิดการโจมตีจากแต่ละฝ่ายด้วยอาวุธนิวเคลียร์หลายครั้ง ดังเช่น กรณีวิกฤตการ
 
ขีปนาวุธคิวบา ในช่วง 14 – 28 ต.ค.2505 (Cuban Missile Crisis) หรือกรณีของเรือดำน้ำ B-59 ชั้น Foxtrot ของสหภาพโซเวียต
 
ที่เกือบจะทำการยิงขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์เนื่องจากเข้าใจว่าเกิดสงครามระหว่างสหภาพโซเวียตกับสหรัฐฯในวันที่ 27
 
ต.ค.2505 ในช่วงเวลาเดียวกันกับวิกฤตการขีปนาวุธคิวบา ซึ่งก็นับว่าเป็นความโชคดีของมวลมนุษย์ชาติที่ยังคงสามารถดำรง
 
เผ่าพันธุ์เอาไว้ได้ เพราะความเสี่ยงที่เกิดจากกระบวนการตัดสินใจกดปุ่มปล่อยอาวุธของคนเพียงไม่กี่คนเท่านั้น
 
 
 
 
 
 
 
           สำหรับความหมายของคำว่าสงครามเย็นในพจนานุกรมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้ให้ความหมายไว้ว่า “สภาวะความ
 
ตึงเครียดและความเป็นปฏิปักษ์กันอย่างรุนแรงระหว่างมหาอำนาจตะวันตกกับค่ายคอมมิวนิสต์ของยุโรปตะวันออก” ส่วนคำว่า
 
สงครามเย็น ในความหมายที่เข้าใจกันในปัจจุบันที่ว่า สงครามเย็นเป็นสภาวะความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจ 2 ประเทศที่
 
แบ่งออกเป็น 2 ขั้วอำนาจคือ สหรัฐฯ และสหภาพโซเวียต นั้นมีการกล่าวถึงครั้งแรกโดย Bernard Baruch นักการเงินสหรัฐฯ ผู้เคย
 
เป็นที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจให้กับประธานาธิบดี Woodrow Wilson และประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt ในช่วงคริสต
 
ศตวรรษที่ 19 โดย ได้ไปกล่าวสุนทรพจน์ที่มลรัฐเซาธ์แคโรไลนา เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2490 ได้กล่าวไว้ในสุนทรพจน์ของ
 
เขาในประโยคที่ว่า "We are today in the midst of a cold war." หรือถอดใจความเป็นภาษาไทยได้ว่า “วันนี้เราอยู่ท่ามกลาง
 
สงครามเย็น” และหลังจากนั้นก็เริ่มมีการใช้คำว่า Cold War หรือ สงครามเย็น แทนสภาวะความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และ
 
สัมพันธมิตร กับสหภาพโซเวียตและสัมพันธมิตร
 
 
 
 
 
สร้างโดย: 
นางรัชญา ไชยนา, นางสาวสุจิตรา ทรัพย์จรูญวงศ์ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 314 คน กำลังออนไลน์