ประวัติของมหาวิทยาลัยมหิดล

รูปภาพของ NERIYA

ประวัติของมหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพจาก :  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Mahidol_Symbol.jpg 

 

 

                                                             ชื่อ  :    มหาวิทยาลัยมหิดล

                                                   ชื่อ (อังกฤษ)   :     Mahidol University (MU)

                                                               ก่อตั้ง   :    พ.ศ. 2486

                                                             ประเภทสถาบัน   :    รัฐ

                                              อธิการบดี   :     ศาสตราจารย์เกียรติคุณ  พรชัย มาตังคสมบัติ

                                  คำขวัญ   :    "อตฺตานํ อุปมํ กเร" เอาใจเขามาใส่ใจเรา (ความหมายในตรามหาวิทยาลัย) ,

                                                    ให้ความสำคัญต่อความรู้สึกผู้อื่น (ขยายความ)

                                             เพลงประจำสถาบัน   :     เทิดพระนามมหิดล และ มหิดลฉลองชัย

                                                      ต้นไม้ประจำสถาบัน    :    กันภัยมหิดล

                                                              สีประจำสถาบัน   :    น้ำเงินแก่

                                       ที่ตั้ง/วิทยาเขต    :     พุทธมณฑล สาย 4 ศาลายา   พุทธมณฑล นครปฐม

 

 

 

มหาวิทยาลัยมหิดล มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่การเป็นโรงเรียนแพทย์ ณ โรงศิริราชพยาบาล ชื่อว่า "โรงเรียนแพทยากร" ซึ่งตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากนั้นในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "มหิดล" อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ให้เป็นชื่อมหาวิทยาลัยว่าแทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เดิม

เมื่อปี พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเลิศและเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ทั้งในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย โดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  นอกจากนี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ยังรับรองมาตรฐานของสถาบันในระดับดีมากให้กับมหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2009 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทยและเป็นอันดับที่ 30 ของเอเชีย จากการจัดอันดับของ QS Asian Universities Ranking 2009

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดลจัดการเรียนการสอนใน 15 คณะ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัย และสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งหมด 551 หลักสูตร โดยแบ่งออกเป็น 6 วิทยาเขต คือ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา วิทยาเขตพญาไท วิทยาเขตบางกอกน้อย วิทยาเขตกาญจนบุรี วิทยาเขตนครสวรรค์ และ วิทยาเขตอำนาจเจริญ

 

 


  

ภาพจาก :  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Statue_of_Mahidol_Adulyadej.JPG

 

 

มหาวิทยาลัยมหิดล มีความเป็นมาจาก โรงศิริราชพยาบาล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นบริเวณพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือที่เรียกว่า วังหลัง ต่อมา จึงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ ณ โรงศิริราชพยาบาล และตั้งชื่อโรงเรียนแพทย์ว่า "โรงเรียนแพทยากร" จัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตร 3 ปี หลังจากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกของโรงเรียนแพทย์ จึงได้พระราชทานนามโรงเรียนแพทยากรใหม่ว่า "โรงเรียนราชแพทยาลัย"

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" จึงได้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้าเป็นคณะหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460  โดยใช้ชื่อว่า "คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ต่อมา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล"

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ได้แยก คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งเป็น "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์"  สังกัดกระทรวงการสาธารณสุข โดยได้จัดตั้งคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยมากมาย เช่น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท คณะเภสัชศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีการโอนคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปเป็น คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ไปเป็น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ต่อมา ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยมหิดล อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกเป็นชื่อมหาวิทยาลัยแทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เดิม

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดลจัดการเรียนการสอนภายในคณะ สถาบัน วิทยาลัยต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ และเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เป็นผลทำให้มหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

 

* ยุคโรงศิริราชพยาบาล (พ.ศ. 2429 - พ.ศ. 2431) *

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ตั้งคณะคอมมิตี้ เพื่อจัดสร้างโรงพยาบาล โดยใช้ที่ดินส่วนหนึ่งของวังหลัง มาเป็นที่สร้างโรงพยาบาลแห่งแรก ชาวบ้านจึงนิยมเรียกว่า "โรงพยาบาลวังหลัง" ในระหว่างการสร้างโรงพยาบาลนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ได้สิ้นพระชนม์ลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อโรงเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ในงานพระเมรุนำไปสร้างโรงพยาบาล และเสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงพยาบาล พร้อมทั้งพระราชทานนามโรงพยาบาลว่า โรงศิริราชพยาบาล

 

* ยุคโรงเรียนแพทยากร (พ.ศ. 2432-พ.ศ. 2440) *

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น ณ โรงศิริราชพยาบาล โดยมีชื่อว่า โรงเรียนแพทยากร นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้สร้างโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลขึ้น ในบริเวณโรงศิริราชพยาบาล นับเป็นโรงเรียนพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย ในปัจจุบัน คือ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 * ยุคโรงเรียนราชแพทยาลัย (พ.ศ. 2443 - พ.ศ. 2375) *

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกโรงเรียนแพทย์ และพระราชทานนามโรงเรียนแพทยากรใหม่ว่า โรงเรียนราชแพทยาลัย ในโอกาสนั้นโปรดเกล้าฯ พระราชทานประกาศนียบัตรให้แพทย์ รุ่นที่ 8 จำนวน 9 คน และพยาบาลรุ่นแรก จำนวน 10ในปี พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา โรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้าเป็นคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัย มีชื่อว่า คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล

ในช่วงนี้ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ รับพระบรมราชโองการทำจดหมายถึงมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ ขอให้เข้ามาช่วยปรับปรุงการศึกษาแพทย์ โดยมี สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงรับภาระเป็นผู้แทนฝ่ายไทย และได้ขยายหลักสูตรเป็นแพทยศาสตรบัณฑิต ต่อมา มูลนิธิฯ ได้ขยายความช่วยเหลือไปถึงโรงเรียนพยาบาล และคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ด้วย

   * ยุคมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2512) *

ตราประจำมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้รับการสถาปนาขึ้น โดยแยก คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ อยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในช่วงนี้ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้จัดตั้งและโอนคณะต่าง ๆ มากมาย ได้แก่

พ.ศ. 2491 : จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในกระทรวงการสาธารณสุข (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2490

พ.ศ. 2491  : จัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ตามพระราชกฤษฏีกาจัดวางระเบียบราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2491

พ.ศ. 2498  :  โอนคณะสัตวแพทยศาสตร์ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

พ.ศ. 2500  :  จัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์ขึ้นในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

พ.ศ. 2501  :  จัดตั้งโรงเรียนเตรียมวิทยาศาสตร์การแพทย์ต่อมาเป็นคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

พ.ศ. 2502  :  จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นใหม่อีกคณะหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ มีหน้าที่จัดการศึกษาฝ่ายแพทยศาสตร์ และฝ่ายวิชาพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่

พ.ศ. 2503  :  จัดตั้ง คณะอายุรศาสตร์เขตร้อน (ปัจจุบันเป็นคณะเวชศาสตร์เขตร้อน) และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ปัจจุบันเป็นคณะวิทยาศาสตร์ ) ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยที่สมควรอบรมความรู้เรื่องอายุรศาสตร์เขตร้อนโดยละเอียดแก่บรรดาแพทย์ทั้งหลาย ตลอดจนทำการศึกษาวิจัยเพื่อความก้าวหน้าของวิทยาการทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคเขตร้อนแห่งประเทศไทย

พ.ศ. 2507  :  จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแพทย์ ช่วยเหลือ ปรับปรุงคุณวุฒิ และสมรรถภาพของแพทย์ รวมทั้งเภสัชกร ทันตแพทย์ ให้มีความรู้เหมาะสมกับสมัยและช่วยวิจัยปัญหาการแพทย์การสาธารณสุข

พ.ศ. 2508  :  จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้นใหม่อีกคณะหนึ่ง เพื่อผลิตแพทย์ อาจารย์ พยาบาล ผดุงครรภ์อนามัย และพนักงานวิทยาศาสตร์ ตลอดจนบริการประชาชน ผู้ป่วยไข้ และ โอนคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ จาก มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ไปสังกัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พ.ศ. 2510  :  โอนคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปสังกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติโอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ข้าราชการ ลูกจ้างและเงินงบประมาณของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปเป็นของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2510

พ.ศ. 2511   :   จัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท และ คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้นใหม่อีก 2 คณะ โดยคณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท มีหน้าที่จัดการศึกษาด้าน ทันตแพทยศาสตร์ และคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มีหน้าที่จัดการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์

พ.ศ. 2512   :  เปลี่ยนชื่อคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็น คณะวิทยาศาสตร์

 * ยุคมหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2512-ปัจุบัน) *

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ โดยจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ เรียกว่า "มหาวิทยาลัยมหิดล" มีขอบเขตดำเนินงานกว้างขวางยิ่งขึ้น ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2512 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "มหิดล" อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นชื่อมหาวิทยาลัยแทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เดิม ในช่วงนี้มีการจัดตั้งคณะต่าง ๆ อีกมากมายเพื่อให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชาทั้งสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้

พ.ศ. 2512  :   จัดตั้ง คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

พ.ศ. 2514  :   จัดตั้ง สถาบันวิจัยประชากรและสังคม

พ.ศ. 2515  :   โอน คณะทันตแพทยศาสตร์ ไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2515   :   โอน คณะเภสัชศาสตร์ ไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2515   :   จัดตั้ง คณะพยาบาลศาสตร์

พ.ศ. 2520   :   จัดตั้ง สถาบันวิจัยโภชนาการ

พ.ศ. 2521   :   จัดตั้ง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

พ.ศ. 2524   :   จัดตั้ง สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท

พ.ศ. 2524   :   จัดตั้ง สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พ.ศ. 2525   :   ดำเนินการขยายวิทยาเขต ณ พื้นที่ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม

พ.ศ. 2528   :   จัดตั้ง วิทยาลัยนานาชาติ

พ.ศ. 2532   :   จัดตั้ง ศูนย์ศาลายา

พ.ศ. 2533   :   จัดตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์

พ.ศ. 2536   :   จัดตั้ง วิทยาลัยราชสุดา

พ.ศ. 2539   :   จัดตั้ง วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา

พ.ศ. 2540   :   จัดตั้ง คณะสัตวแพทยศาสตร์

พ.ศ. 2540   :   จัดตั้ง สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์

พ.ศ. 2542   :   จัดตั้ง คณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์

พ.ศ. 2547   :   จัดตั้ง คณะศิลปศาสตร์

พ.ศ. 2552   :   จัดตั้ง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 

กลับไปยัง --> ประวัติของมหาวิทยาลัยต่างๆ

 

 

สร้างโดย: 
คุณครู รุจี อภัยพลชาญ และ น.ส.เณริญา ยวดขุนทด ม.6/5 เลขที่ 28

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 353 คน กำลังออนไลน์