user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('ส่งงาน', 'node/4583', '', '18.224.61.12', 0, 'b09ace752f920338062a5a26843981a6', 117, 1716080192) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

อาณาจักรสัตว์ (Animalia Kingdom)

 


 

เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกหมวดหมู่ของอาณาจักรสัตว์

 1. ระดับการทำงานร่วมกันของเซลล์ (level of cell organization)

2. สมมาตร (symmetry)

3. ลักษณะช่องว่างในลำตัวหรือช่องตัว (body cavity or coelom)

4. การเกิดช่องปาก

5. ทางเดินอาหาร (digestive tract)

6. การแบ่งเป็นปล้อง (segmentation)

7. พิจารณาจากแกนพยุงร่างกายหรือโนโตคอร์ต (Notochord)

8. พิจารณาจากแบบแผนการเจริญเติบโตจากตัวอ่อน

ปัจจุบันสัตว์ในโลกที่มนุษย์รู้จักมีมากกว่า 1 ล้านสปีชีส์ พบทั้งในน้ำจืด น้ำเค็มและบนบก ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง (invertebrate) และสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง (vertebrate) และสามารถจำแนกเป็นไฟลัมต่างๆได้ราว 35 ไฟลัม แต่ส่วนใหญ่จะเรียนรู้กันเฉพาะไฟลัมใหญ่ๆเท่านั้น ซึ่งในการจัดจำแนกจะใช้เกณฑ์ต่างๆ ดังนี้

1. ระดับการทำงานร่วมกันของเซลล์ (level of cell organization) โดยดูการร่วมกันทำงานของเซลล์และการจัดเป็นเนื้อเยื่อนั้น มีลักษณะเป็นอย่างไร มากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งทำให้แบ่งสัตว์ออกเป็นพวกใหญ่ๆ คือ
1.1 เนื้อเยื่อที่ไม่แท้จริง (no true tissue) เรียกสัตว์กลุ่มนี้ว่าพาราซัว (parazoa) เนื่องจากเซลล์ในสัตว์กลุ่มนี้ไม่มีการประสานงานกันระหว่างเซลล์ โดยเซลล์ทุกเซลล์จะมีหน้าที่ในการดำรงชีวิตของตนเอง หน้าที่ทั่วไปคือด้านโภชนาการและสืบพันธุ์ ได้แก่ ฟองน้ำ
1.2 เนื้อเยื่อที่แท้จริง (true tissue) เรียกสัตว์กลุ่มนี้ว่า ยูเมตาซัว (eumetazoa) ซึ่งเนื้อเยื่อจะถูกสร้างขึ้นเป็นชั้น หรือเรียกว่าชั้นของเนื้อเยื่อ (germ layer) มี 2 ประเภทคือ
1.2.1 เนื้อเยื่อ 2 ชั้น (diploblastica) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อชั้นนอก(ectoderm) และเนื้อเยื่อชั้นใน(endoderm) ได้แก่ พวกไฮดรา แมงกะพรุน โอบีเลีย
1.2.2. เนื้อเยื่อ 3 ชั้น (triploblastica) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อชั้นนอก ชั้นกลาง(mesoderm) และชั้นใน ได้แก่พวกหนอนตัวแบนขึ้นไปจนถึงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง

2. สมมาตร (symmetry) คือลักษณะการแบ่งร่างกายออกเป็นซีกๆตามความยาวของซีกเท่าๆกัน มีอยู่ 3 ลักษณะ ได้แก่
2.1 ไม่มีสมมาตร (asymmetry) มีรูปร่างไม่แน่นอน ไม่สามารถแบ่งซีกซ้ายและซีกขวาได้เท่ากัน ได้แก่ พวกฟองน้ำ

2.2 สมมาตรแบบรัศมี (radial symmetry) ร่างกายของสัตว์จะมีรูปร่างคล้ายทรงกระบอกหรือล้อรถ ถ้าตัดผ่าน จุดศูนย์กลางแล้วจะตัดอย่างไรก็ได้ 2 ส่วนที่เท่ากันเสมอ หรือเรียกว่ามีสมมาตรที่ผ่าซีกได้เท่าๆกันหลายๆครั้งในแนวรัศมี ได้แก่ สัตว์พวกไฮดรา แมงกะพรุน ดาวทะเล เม่นทะเล
2.3 สมมาตรแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry) หรือมีสามาตรที่ผ่าซีกได้เท่าๆกันเพียง 1 ครั้ง สมมาตรแบบนี้สามารถผ่าหรือตัดแบ่งครึ่งร่างกายตามความยาวของลำตัวแล้วทำให้ 2 ข้างเท่ากันได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ได้แก่ หนอนตัวกลม แมลง สัตว์มีกระดูกสันหลัง

http://www.millerandlevine.com/ques/images/symmetry.jpg


ที่มา : http://www.maryvit.ac.th/viboon/sci/bio/bio3.htm
http://www.snr.ac.th/m4html/w4html/animalia.htm


 


 

 

สร้างโดย: 
นางสาว ชิดชนก รักษ์ถาววรวงศ์ ; อาจารย์ที่ปรึกษา : นาย สมบูรณ์ กมลาสนางกูร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 216 คน กำลังออนไลน์