อุปกรณ์ในการถ่ายรูป

 

 

 

                              ขาตั้งกล้อง(Tripod)

        

http://www.arowanacafe.com/webboard/pictures/1140494056.jpg

   ขาตั้งกล้องเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ติดตั้งกล้อง  เพื่อให้กล้องยึดกับขาตั้งให้นิ่งและมั่นคง

  จำเป็นสำหรับการถ่ายภาพในสภาพแสงสว่างน้อย ที่ต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ

           เพื่อให้ได้รับแสงนานๆ หรือการถ่ายภาพระยะไกลที่ใช้เลนส์ถ่ายไกล

    โดยเฉพาะที่มีความยาวโฟกัสสูงๆ ภาพจะมีช่วงความชัดต่ำ หรือการถ่ายภาพระยะใกล้

โดยใช้เลนส์แมโครจำเป็นต้องให้กล้องนิ่งไม่สั่นไหว หรือการถ่ายภาพไฟประดับตามอาคารร้านค้า

                  ตามท้องถนน เวลากลางคืนที่ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ B

 

                                                                                                     สายลั่นไก(Cable release)

                                                                             

                                                                                    [ http://www.usedshoponline.com/file/8764.jpg

อุปกรณ์ที่ใช้ควบคู่กันไปกับขาตั้งกล้อง  หรือแท่นก๊อปปี้ภาพ  คือสายลั่นไก

 ทำหน้าที่กดชัตเตอร์แทนนิ้วมือของผู้ถ่ายภาพโดยมีเกลียวขันต่อกับปุ่มกดชัตเตอร์

ทั้งนี้เพื่อให้การกดชัตเตอร์เป็นไปอย่างนิ่มนวล  สายลั่นไกมีอยู่หลายแบบ  

 เช่น  สายยาง  สามารถถ่ายจากที่สูงหรือที่อยู่ไกลจากกล้องได้

 

                         เครื่องวัดแสง(Light meter)

                เครื่องวัดแสงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการถ่ายภาพ 

               เป็นเครื่องมือที่จะคำนวณปริมาณของแสงที่ถูกต้อง 

          สามารถบอกเป็นตัวเลขของช่องรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ 

กล้องถ่ายภาพรุ่นใหม่ๆ จะมีเครื่องวัดแสงติดมากับตัวกล้อง (Exposure meter)

            ซึ่งมีวัสดุที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแสงให้เป็นไฟฟ้าอยู่ 4 ชนิด คือ

                1. เซลล์แคดเมียมซัลไฟด์ (CDS)  มีขนาดเล็ก 

      มีความไวแสงมากกว่าเซลล์ซีลีเนียม ใช้ได้ดีในที่ๆ มีแสงน้อย

                               2. เซลล์ซีลีเนียม

3. เซลล์ซีลิคอน (SPD)  มีขนาดเล็ก  และมีความไวแสงมากกว่าเซลล์แคดเมียม 

              ถือได้ว่าเป็นเซลล์ไวแสงที่เหมือนตามนุษย์มากที่สุด

         4. เซลล์แกลเลี่ยม  เป็นเซลล์ที่มีความไวในการวัดแสงได้ดีมาก 

      นิยมใช้แทนเซลล์ซิลิคอนเพราะว่ามีราคาถูกกว่าและคุณสมบัติที่เหนือกว่า

 

            เครื่องวัดแสงที่ติดตั้งในตัวกล้อง  แบ่งได้เป็น 2 พวก  คือ

  1. ตัววัดแสงอยู่ภายนอกตัวกล้อง  อาจใช้ซีลีเนียมหรือแคดเมียมซัลไฟด์ 

มีขนาดและรูปร่างต่างๆ  ส่วนมากจะติดอยู่ที่ตัวเลนส์หรือรอบวงแหวนของเลนส์

2. ตัววัดแสงอยู่ภายในกล้อง  และวัดแสงที่หักเหผ่านเลนส์ (Through the lens)

    หรือ TTL  มักใช้แคดเมียมซัลไฟด์เพราะมีขนาดเล็กและความไวแสงสูง 

สามารถวัดแสงได้ถูกต้องและแม่นยำ  มักติดตั้งเซลล์วัดแสงที่ตัวปริซึมห้าเหลี่ยม 

หรือใต้ช่องกระจกสะท้อนภาพ  เครื่องวัดแสงแบบ TTL มีระบบในการวัดอยู่ 3 แบบ

   วัดแสงเฉพาะตรงส่วนกลาง (Center spot) เป็นการวัดแสงในเนื้อที่เล็กๆ

               เฉพาะส่วนที่ต้องการ ทำให้การวัดแสงถูกต้องดีมาก

แบบเฉลี่ยแสงทั่วทั้งภาพ (Full area everaging) เซลล์วัดแสงจะรับแสงสะท้อน

                     จากวัตถุทั้งหมดแล้วเฉลี่ยปริมาณของแสง

  แบบเฉลี่ยแสงแบบกลางภาพ (Center weighted) เป็นการผสมกันระหว่าง

วัดเฉพาะส่วนกลางกับวัดเฉลี่ยแสงทั่วทั้งภาพ ให้ผลการวัดแสงถูกต้องดีมากที่สุด

 

                                                             ไฟแวบหรือแฟลช(Flash)

ในการถ่ายภาพในที่ๆ มีแสงน้อย  เช่น  เวลากลางคืน  หรือกลางวันที่มีแสงไม่เพียงพอในการถ่ายภาพ 

 เราจำเป็นต้องใช้แฟลชเข้าช่วย  นอกจากเป็นการเพิ่มแสงสว่างให้แก่วัตถุแล้ว 

ยังสามารถใช้แฟลชเพื่อลบเงาและปรุงแต่งแสงให้ดูนิ่มนวลยิ่งขึ้น  แฟลชมีอยู่ 2 ชนิด  คือ

1. แฟลชบัลบ์ (Flash bulb) เป็นหลอดแฟลชที่ภายในหลอดมีไส้หลอด

แต่ละหลอดจะจุดสว่างได้เพียงครั้งเดียว เมื่อใช้แล้วต้องเปลี่ยนหลอดใหม่ทุกครั้ง

2. แฟลชอิเล็กทรอนิคส์ (Electronic flase) เป็นแฟลชที่นิยมใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันตัวหลอด 

 ทำด้วยแก้วใสประเภทควอทซ์ (Quartz)  ภายในมีไส้หลอดบรรจุด้วยก๊าซซีนอน (Xenon)

ให้อุณหภูมิสีเหมือนสีของแสงจากดวงอาทิตย์ (ประมาณ 5500K - 6000K)  ดังนั้นฟิล์มสีประเภท Day light 

เมื่อนำมาถ่ายภาพด้วยแสงอิเล็กทรอนิคส์แฟลชแล้ว  จะให้สีที่ถูกต้องเหมือนสีธรรมชาติ 

 แฟลชชนิดนี้สามารถจุดให้หลอดสว่างได้ถึง 10,000 ครั้ง  โดยอาศัยพลังงานจากกระแสไฟฟ้า AC หรือแบตเตอรี่แห้ง 

 สำหรับแบตเตอรี่แห้งที่ใช้กันทั่วไป  มีขนาดเล็กทำด้วย Alkaline  ถ่ายภาพได้กว่า 100 ภาพต่อแบตเตอรี่ 1 ชุด

  และถ้าเป็นแบบ Nickel cadmium  เมื่อใช้ไฟหมดสามารถนำมาประจุไฟใหม่ด้วยกระแสไฟ AC 

การประจุไฟแต่ละครั้งสามารถนำไปถ่ายได้เกินกว่า 50 ภาพ

 

                  ที่บังแสงของเลนส์(Lens shade หรือ Hood)

               

http://klongtairoob.files.wordpress.com/2009/09/hoodnikonhb-32.jpg ]

      ที่บังแสงของเลนส์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สวมไว้หน้าเลนส์มีทั้งชนิดเป็นโลหะ

         และเป็นยาง ทำหน้าที่ป้องกันแสงที่ไม่ต้องการเข้าไปในเลนส์

                   อาจทำให้ภาพมีรอยแสงด่างไม่สวยงาม

 

 

 

สร้างโดย: 
นาย วีรศักดิ์ เตชมหนนท์และ นางสาว กัญญารัตน์ ภูมิศิริวิไล โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 288 คน กำลังออนไลน์