การฟื้นฟูปรับปรุงชาติบ้านเมือง

รูปภาพของ p_pun_p

การฟื้นฟูปรับปรุงชาติบ้านเมือง

ที่มาของรูปภาพ : http://www.bloggang.com/data/travelaround/picture/1194167171.jpg 

          การฟื้นฟูชาติบ้านเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้กระทำในทุกๆด้าน ดังนี้
1) การดำเนินการด้านการบ้านเมือง
         1.1 การสงครามกับพม่า ในสมันรัตนโกสินทร์ไทยทำสงครามกับพม่ารวม 10 ครั้ง ในรัชกาลที่ 1 มีถึง 7 ครั้ง เนื่องจากพระเจ้าปะดุงกษัตริย์ของพม่าเห็นว่าไทยกำลังก่อตั้งอาณาจักรใหม่ สงครามที่เด่นๆ ได้แก่
2) ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ
          2.1 ความสัมพันธ์กับล้านนาไทย ล้านนาไทยประกอบ้วยเมืองเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ฝาง น่าน เชยงแสน และหัวเมืองเล็กๆ ทางภาคเหนือของไทย ในสมันรัตนโกสินทร์ตอนต้นล้านนาอยู่ในฐานะประเทศราชของไทย มีหน้าที่ช่วยราชการสงครามตามที่ไทยกำหนด และส่งเครื่องราชบรรณาการ ให้กรุงเทพมหานคร 3 ปีครั้งหนึ่ง
          2.2 ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู หัวเมืองมลายู ได้แก่ ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู อยู่ในฐานะประเทศราชของไทย ในช่วงสมันรัชกาลที่ 1-3 มีการก่อกบฏในหัวเมืองมลายู หลายครั้งแต่ไทยก็สามารถปราบได้ทุกครั้ง
          2.3 ความสัมพันธ์กับอาณาจักรลาว ลักษณะของอาณาจักรลาวแยกออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ลาวตอนเหนือมีศูนย์กลางอยู่ที่หลวงพระบาง ลาวตอนล่างมีศูนย์กลางที่เมืองจำปาศักดิ์ และลาวตอนกลางมีศูนย์กลางอยู่ที่เวียงจันทน์ แต่ละเมืองมีอำนาจปกครองตนเอง และตกอยู่ใต้อำนาจของไทยมาตั้งแต่สมัยธนบุรี
          ถึงรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้เจ้านันทเสนไปปกครองเวียงจันทน์ และได้พระราชทานพระพุทธรูป พระบาง ที่ยึดมานั้นคืนไปด้วย (แต่พระแก้ว ยังคงรักษาไว้ที่กรุงเทพฯจนถึงทุกวันนี้) ต่อมาเจ้านันทเสรเป็นกบฏ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 จึงให้นำไปประหารชีวิต และให้เจ้าอินทร์ปกครองแทน เมื่อเจ้าอินทร์ถึงแก่พิราลัย จึงโปรดเกล้าฯให้เจ้าอนุวงศ์ครองเมืองเวียงจันทน์
          ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เจ้าเมืองจำปาศักดิ์เป็นกบฏ เจ้าราชบุตรซึ่งเป็นราชบุตรของเจ้าอนุวงศ์ ยกทัพไปปราบได้สำเร็จ จึงโปรดเกล้าฯให้เจ้าราชบุตรเป็นเจ้าเมืองจำปาศักดิ์ ทำให้เต้าอนุวงศ์มีกำลังกล้าแข็ง เพราะควบคุมได้ทั้งลาวตอนกลางและตอนใต้
          ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 มีข่าวลือว่าไทยขัดใจกับอังกฤษ เจ้าอนุวงศ์เห็นเป็นโอกาส จึงยกทัพเข้ามาตีดินแดนของไทย ขณะที่กองทัพเจ้าอนุวงศ์ถึงเมืองนครราชสีมานั้น ปลัดเมืองนครราชสีมาติดราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ จึงยึดได้โดยง่านและกวาดต้อนผู้คนทรัพย์สินต่างๆ แต่ระหว่างทางที่พักอยู่ ณ ทุ่งสำริด คุณหญิงโม ภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมาออกอุบาย เลีเยงสุราอาหารแก่นายทหาร ไพร่พลลาว พอได้โอกาสชายหญิงชาวไทยที่ถูกกวาดต้อนเป็นเชลยก็ลุกขึ้นใช้อาวุธมีดทำครัว และไม้หลาว ไม้พลอง จู่โจม ฆ่าฟัรทหารลาวโดยไม่ทันรู้ตัวบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมากจึงแตกทัพหนีไป
          วีรกรรมของคุณหญิงโมครั้งนี้ ภายหลังเมื่อเสร็จศึกแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นท้าวสุรนารี
          เมื่อกองทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายกลับไปแล้วรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้จัดทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ และจัับเจ้าอนุวงศ์มาจำกัดที่กรุงเทพฯ หน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ประชาชนไทยพากันสาปแช่งเจ้าอนุวงศ์ทนอยู่ได้ 7-8 วันก็ป่วยตาย เป็นอันสิ้นสุดกบฏครั้งสำคัญของอาณาจักรลาว 
           2.4 ความสัมพันธ์กับเขมร เขมรตกเป็นประเทศราชของไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่คราวใดที่ไทยประสบกับปัญหาภายในราชอาณาจักร เขมรมักจะตั้งตนเป็นอิสระไม่ยอมอ่อนน้อมต่อไทย
          ครั้นถึงรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยสามารถปกครองเขมรได้อีกโดยแบ่งเขมรเป็น 2 ส่วน ให้เจ้านายเขมรปกครองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่ง คือ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ ให้เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ ขุนนางไทยปกครอง
          ครั้นถึงสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเขมร เสื่อมลงเรื่อยมา จนถึงรัชกาลที่ 3 ญวนเข้ามาแทรกแซงเขมร ทำให้ไทยกับญวนต้่องทำสงครามกันเพื่อแย่งชิงดินแดนเขมร ส่วนเขมรต้องส่งเครื่องราชบรรณาการใ้ห้ทั้งฝ่ายไทยและญวนในเวลาเดียวกัน
          2.5 ความสัมพันธ์กับญวน ในสมัยรัชกาลที่ 1 เกิดกบฏไกเซินขึ้นในญวน เจ้านายญวนองค์หนึ่ง คือ องเชียงลือ ได้หนีเข้ามาพึ่งได้ และได้รับการชุบเลี้ยงเป็นอย่างดี ไทยได้ส่งทัพไปช่วยปรากบฏในญวนแต่ไม่สำเร็จ องเชียงสือจึงหนีไปของความช่วยเหลือจากฝรั่งเศส และได้กลับไปเป็นกษัตริย์ในญวนทรงพระนามว่า พระเจ้ายาลอง ตลอดรัชกาลของพระเจ้ายาลอง ญวนขอเป็นไมตรีกับไทย
          สมัยรัชกาลที่ 2 ญวนเริ่มเข้าแทรกแซงเขมรซึ่งเป็นประเทศราชของไทย
          สมัยรัชกาลที่ 3 ญวนได้สนับสนุนให้เจ้าอนุวงศ์แห่งอาณาจักรลาวก่อกบฏต่อไทย นอกจากนี้ญวนยังขัดแย้งกับไทย ในเรื่องปัญหาการเมืองในเขมร ทำให้เกิดสงครมระหว่างไทยกับญวนเป็นเวลานานถึง 15 ปี จนในที่สุดเลิกรากันเมื่อญวนตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส 
สร้างโดย: 
อาจารย์รัชญา ไชยนา และ น.ส.ชัชวรรณ ธิติทรัพย์เลิศ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 353 คน กำลังออนไลน์