user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('การทำงานในสปา', 'node/45548', '', '3.144.237.77', 0, '4bb8a3c184f5496ffc3534c8099e7941', 172, 1716078687) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

สบู่...สบาย

สบู่ผลไม้&สมุนไพรแท้

     สมุนไพร หมายถึง “พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา” ส่วน ยาสมุนไพร หมายถึง “ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์

     สมุนไพรนอกจากจะนำมาใช้ประโยชน์เป็นยารักษาโรค ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆอีก เช่น อาหารเสริมสุขภาพ เครื่องดื่ม สีผสมอาหาร เครื่องสำอาง

     การใช้สมุนไพรเป็นยาบำบัดโรคสามารถใช้ในรูปยาสมุนไพรเดี่ยวๆ หรือรูปตำรับยาสมุนไพร ปัจจุบันตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้รักษาโรคได้ มีทั้งหมด 28 ชนิด

สบู่ผลไม้ & สมุนไพรมะเขือเทศสด [ Tomato Fruit & Herbal Soap ]

      ส่วนผสม : มะเขือเทศสด สมุนไพรสด น้ำผลไม้ น้ำดอกไม้ กลีเซอรีนชั้นดี วิตามินหลากชนิด

      เหมาะกับทุกสภาพผิว

      อุดมไปด้วยเกลือแร่และวิตามินมากมาย สบู่จากธรรมชาติแท้ๆ ปลอดสารอันตรายแน่นอน ช่วยให้ผิวขาวใส เปล่งปลั่งอมชมพู ช่วยให้ผิวหน้าเกลี้ยงเกลา สะอาดหมดจด ปราศจากสารพิษและสิ่งตกค้าง เน้นความขาวใส ลดจุดด่างดำ ผิวสุขภาพดี


วิธีเลือกสมุนไพรเพื่อทำสบู่

การเลือกสมุนไพรเพื่อเติมลงในสบู่นั้นมี 3 สิ่งที่ควรคำนึงถึงด้วยกัน คือ

    1. ชนิดของสมุนไพร ด้วยสมุนไพรมีคุณสมบัติและคุณลักษณะที่แตกต่างกัน การเลือกชนิดของสมุนไพรเพื่อนำมาทำเป็นสบู่
        ควรเลือกดูจากคุณสมบัติของสมุนไพร เช่น กลุ่มสมุนไพรที่ใช้บำรุงผิวและให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง ได้แก่ บัวบก ขมิ้น กล้วย
        มะละกอ ว่านหางจระเข้กลุ่มสมุนไพรที่ใช้แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ได้แก่ เสลดพังพอน ฟ้าทะลายโจร เหงือกปลาหมอ เป็นต้น
        เมื่อทราบชนิดและคุณสมบัติของสมุนไพรแล้ว การนำมาใช้ ควรเลือกให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์

     2. เลือกวิธีสกัดสมุนไพร การเลือกวิธีสกัดที่เหมาะสมกับสมุนไพรแต่ละชนิดมีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยรักษาคุณสมบัติของ
         สมุนไพรให้คงอยู่ วิธีการสกัดสมุนไพรเพื่อใช้เติมลงในสบู่มี 4 วิธีด้วยกัน คือ

            2.1 ทำเป็นผง โ ดยการนำสมุนไพรมาตากแห้ง แล้วบดให้เป็นผงละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเมื่อนำมาผสมในสบู่จะไม่
                  รู้สึกหยาบ การบดจะบดด้วยเครื่องบดหรือครกบดก็ได้ สมุนไพรที่นิยมนำมาบดเป็นผง เช่น กล้วย มะละกอ ขมิ้น เป็นต้น

            2.2 สกัดด้วยน้ำ แบ่งได้ 2 วิธีคือ การคั้นและการต้ม

                   - การคั้น เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการนำน้ำสมุนไพรมาผสมลงในสบู่ สมุนไพรประเภทนี้ได้แก่ น้ำใบบัวบก น้ำสัปปะรด
                     น้ำมะขาม เป็นต้น

                   - การต้ม เป็นการนำสมุนไพรมาต้มกับน้ำ โดยใช้น้ำประมาณ 2-3 เท่าของพืชแห้ง เคี่ยวจนงวด แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง
                     สมุนไพรที่ใช้ได้แก่ ใบฝรั่ง ใบหนาด เหงือกปลาหมอ เป็นต้

           2.3 สกัดด้วยแอลกอฮอล์ วิธีการนี้จะคล้ายกับการดองเหล้า แอลกอฮอล์ที่ใช้ควรเป็นแอลกอฮอล์ 95% หากใช้แอลกอฮอล์
                 70% ที่ไว้สำหรับล้างแผล จะพบปัญหาบ้างเรื่องสีของแอลกอฮอล์ วิธีการนี้ทำได้โดยนำสมุนไพรที่ต้องการ มาหั่นเป็นชิ้น
                 เล็กๆ ตากให้แห้ง จากนั้นนำมา
ปั่นหยาบๆ ด้วยเครื่องปั่น แล้วจึงนำไปแช่แอลกอฮอล์ โดยใส่ให้ท่วมตัวสมุนไพร ปิดฝาให้
                 สนิท ตั้งทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ เมื่อครบกำหนดให้กรองเอากากทิ้ง คงไว้แต่น้ำแอลกอฮอล์ สมุนไพรที่ใช้ ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร 
                 เสลดพังพอน ขมิ้น เปลือกส้ม เป็นต้น

                 ข้อควรระวังในการทำ ควรทำในที่โล่งแจ้ง อากาศถ่ายเทสะดวก มิฉะนั้น คนที่อยู่ใกล้ๆ จะเมาได้

           2.4 สกัดด้วยน้ำมัน วิธีนี้สามารถทำได้โดย นำน้ำมันพืชตั้งไฟปานกลาง เมื่อเดือดให้ใส่สมุนไพรลงไป ทอดพอสมุนไพรกรอบ
                 เอากากทิ้ง จะ
ได้น้ำมันที่มีสารสมุนไพรละลายอยู่ ให้นำน้ำมันที่ได้มาทำสบู่สมุนไพร สมุนไพรที่ใช้ ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร
                 เสลดพังพอน เป็นต้น

                 * การเลือกวิธีการสกัดนี้จะทำให้ได้คุณสมบัติของสมุนไพรตามต้องการ *

     3. วิธีการเติมสมุนไพรลงในสบู่ มี 2 วิธี คือ

            3.1 เติมในระหว่างกระบวนการทำสบู่ วิธีการนี้ ผู้ผลิตควรเติมสมุนไพรหลังจากกวนส่วนผสมของสบู่เสร็จเรียบร้อยแล้ว การเติม
                 ควรเติมสมุนไพรก่อนเทสบู่ลงแบบ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับสมุนไพรประเภทสกัดเป็นผงแอลกอฮอล์ และสกัดด้วยน้ำมัน

            3.2 ทำสบู่พื้นฐานขึ้นมาก่อน แล้วนำมาหลอมใหม่ หลังจากนั้นจึงเติมสมุนไพรลงไป วิธีนี้เรียกว่า "การทำสบู่สองขั้นตอน"
                  เหมาะสำหรับสมุนไพรที่สกัดด้วยการคั้นหรือการต้ม

 

             

สร้างโดย: 
นางสาวศุภัชยา พวงพรทิพ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 235 คน กำลังออนไลน์