โฟโตเคมีคัลออกซิแดนท์ (Photochemical Oxidants) 2

                                

 

รูป 2 ปฏิกิริยาการแตกตัวของไฮโดรคาร์บอนในอากาศและการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่กับ HO 
 
          OH ที่เกิดขึ้นในอากาศเป็นสารออกซิแดนท์รุนแรงที่ทำให้สารประกอบหลายชนิด เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นได้ ในกรณีที่ไฮโดรคาร์บอนเป็นอีเธนปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแสดงได้ดังรูปที่ 2 การเกิดปฏิกิริยาอาจดูเหมือนซับซ้อนมาก โดยจะเริ่มจาก OH ดึงไฮโดรเจนไปจากอีเธน จากนั้นปฏิกิริยาก็จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องโดยมี O2 และ NO เข้ามาเกี่ยวข้อง จุดสำคัญอยู่ที่การเกิด Aldehyde และ HO2 จากไฮโดรคาร์บอน และการเกิด OH ขึ้นอีก เนื่องจากการทำปฏิกิริยาของ HO2 และ NO กล่าวคือปฏิกิริยาระหว่างไฮโดรคาร์บอนและ OH ในขณะที่มี NO อยู่ในปริมาณหนึ่ง จะเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ของอนุมูลของสารประกอบนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อมี Nitric Ester และ Peroxy Acyetyl Nitrate (PAN) เกิดขึ้น

          การเกิด Protochemical Smog หรือเรียกอีกอย่างคือการเกิดโอโซนนั้นความเข้มข้นจะขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาของทั้ง (RO2 + NO) และ (RO2 + NO) ดังรูปที่ 2 RO2 และ HO2 ที่เกิดขึ้นเมื่อมีไฮโดรคาร์บอนจะทำให้ NO เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกลายเป็น NO2 ตามสมการที่ 1 ถึง 3 การใช้ O3 โดย NO จึกถุกจำกัดทำให้ O3 สะสมแสดงให้เห็นได้ว่าในสมการจัดการ Phochemical Smog โดยการลดความเข้มข้นของ NOx และไฮโดรคาร์บอนมีความสำคัญอย่างยิ่ง

          จากการายงานขององค์การอนามัยโลก (World Healt Oganizetion : WHO) (1978) ได้ระบุว่าความเข้มข้นของโฟโตเคมีคัลออกซิแดนท์ มีค่าระหว่าง 200-500 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (0.1-0.25 ส่วนในล้านส่วน) อาจมีผลต่อปอดของเด็ก ระบบทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคืองตา ถึงระดับความเข้มข้นของโฟโตเคมีคัลออกซิแดนท์อยู่ระหว่าง 200-294 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (01.-0.15 ส่วนในล้านส่วน) จะลดความสามรถในนการออกกำลังกาย และปอดของผู้ป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรังจะลดการทำงานลง เนื่องจากโอโซนมีความเข้มข้นตามธรรมชาติอสูงยู่แล้ว จึงไม่สามารถนำอัตราส่วนความปลอดภัย (Safty Factor) มาใช้ได้ประกอบกับโฟโตเคมีคัลออกซิแดนท์ในช่วงระยะเวลาสั่นมีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยในเวลา 8 หรือ 24 ชั่วโมง ด้วยเหตุผลดังกล่าว ในการกำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศ จึงให้กำหนดค่าความเข้มข้นสูงสุดของโฟโตเคมีคัลออกซิแดนท์ ในรูปโอโซน ใน 1 ชั่วโมง ไม่เกิน 200 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือ 0.10 ส่วนในล้านส่วน

 

 

 

 

                                                    

สร้างโดย: 
นางสาวปิยะวดี ศรีผง และ นางสาวดวงรัตน์ สุขกลัด ม.6/7 ร.ร.กาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 426 คน กำลังออนไลน์