user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('บัญชีผู้ใช้', 'user/login', '', '18.189.44.52', 0, 'e4b2d2c8bcdebf96e802e27b0580f263', 169, 1716175463) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

การแต่งกายในสมัยสุโขทัย

การแต่งกายในสมัยสุโขทัย

http://www.tkc.go.th/eng/Sitedirectory/174/2942/3084_111.jpg

  

การแต่งกายของผู้หญิง

ทรงผม
                   ผู้หญิงสมัยสุโขทัยทำทรงผมหลายแบบ คือ ไว้ผมยาวเกล้าเป็นมวยอยู่กลางศีรษะ มีพวงดอกไม้หรือพวงมาลัยสวมรอบมวย หรือไว้ผมแสกกลางรวบผมไว้ท้ายทอย มีเกี้ยวหรือห่วงกลมคล้องตรงที่รวบ หรือเกล้าเป็นมวยไว้กลางหลังศีรษะเหนือท้ายทอยขึ้นมา ถ้าเป็นสตรีสูงศักดิ์อาจประดับศีรษะด้วยลอมพอก กรอบพักตร์หรือมงกุฎ

เครื่องนุ่งห่ม
                   เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของผู้หญิงสมัยสุโขทัย พบว่านุ่งผ้าซิ่นหรือผ้าถุงยาวกรอมถึงข้อเท้า ผ้านุ่งทอจากทั้งฝ้าย ไหม มีลวดลายดอกสีต่างๆ เช่น ดำ แดง ขาว เหลือง และเขียว ผ้าที่ใช้มีหลายชนิด เช่น สุพรรณพสตร์ ลิจิตพัสตร์ จินะกะพัสตร์ ตะเลงพัสตร์ เทวครี ผ้ารัตครี และเจตครี ซึ่งระบุไม่ได้ว่าลักษณะของผ้าแต่ละชนิดนั้นเป็นแบบใด แต่น่าจะเป็นผ้าที่ทอเอง และย้อมสีต่างๆเป็นส่วนใหญ่ และมีบางชนิดที่นำมาจากต่างประเทศ เช่น อินเดีย และจีน การนุ่งผ้าซิ่นนั้นเห็นว่าตรงเอวหรือต่ำจากเอวลงมาเล็กน้อย ประดับด้วยผ้ามีรอยจีบคลุมห้อยปล่อยชายลงมาสองชาย ปิดทับหัวเข็มขัดที่สวยงามไว้ สำหรับสตรีที่สูงศักดิ์ เข็มขัดนี้มักนิยมทำเป็นลายประจำยามมีพวงอุบะห้อยเป็นแนว แต่ถ้าเป็นสามัญชนมีทั้งใช้เข็มขัด และใช้ชายผ้า ตรงเอวผูกมัดกันเอง เป็นแบบเหน็บชายพก สตรีสามัญที่แต่งงานแล้วมักไม่สวมเสื้อแต่มีผ้าพันรัดอก สตรีชั้นสูงและสตรีที่ยังไม่แต่งงานจะสวมเสื้อรัดรูป แขนทรงกระบอกและห่มผ้าสไบเมื่อไปงานบุญหรืองานพิธี

 

 

การแต่งกายของบุรุษ

ทรงผม
                    ผู้ชายสมัยสุโขทัย ถ้าเป็นพระมหากษัตริย์หรือเจ้านาย จะไว้ผมยาวมุ่นมวยไว้กลางศีรษะ มีปิ่นปักหรือใช้ผ้าพันหรือโพก หรือประดับศีรษะด้วยมงกุฎ ที่มียอดแหลมหรือกรอบพักตร์ หรือทำผมแสกกลางรวบผมไว้ตรงท้ายทอย มีห่วงหรือเกี้ยวคล้อง

                    สำหรับผู้ชายสามัญชนทรงผมมักไว้ผมยาว แสกรวบไว้ที่ท้ายทอย มีห่วงกลมๆ คล้องตรงที่รวบ หรือไม่ก็ไว้ผมสั้น หรือเกล้าผมเป็นมวยเหนือศีรษะ มีผ้าโพก สำหรับพราหมณ์หรือนักบวชจะเกล้ามวย  ถ้าเป็นเชื้อสายตระกูลพราหมณ์จะมีดอกไม้ทอง  สนอบเกล้า จุฑาทอง ประวิตรทอง ธุรำทองเพิ่มขึ้น และเมื่อจะทำพิธีอันเป็นมงคลจะแต่งผมด้วยการใช้ใบชุมแสง แซมช้อง ผมทัดใบพฤกษ์เวฬู หากประกอบพิธีพรุณศาสตร์จะสยายมวยผมเพื่ออ่านโองการ ถ้าเป็นทหารจะสวมหมวกทรงกลม ด้านหลังหมวกมีชายผ้าจากตัวหมวกห้อยยาวลงไปถึงต้นคอ ซึ่งเรียกว่า หมวกทรงประพาส มีหมวกอีกแบบหนึ่งคือ หมวกชีโบ ที่มีรูปคล้ายฝาชี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “กุบ”

                    ส่วนเด็กนั้นจะไว้ผมจุกมีปิ่นปักหรือผ้าพัน เด็กเล็กๆ โดยทั่วไปคงไม่สวมอะไรเลยแต่ในงานประเพณีหรือฤดูหนาวจะนุ่งห่มคล้ายผู้ใหญ่ แต่เด็กโตมีการแต่งกาย เด็กชายก็คงจะนุ่งโจงกระเบนหรือกางเกง เด็กผู้หญิงมีจับปิ้งห้อยปิดอวัยวะเพศ เด็กผู้หญิงที่โตจะนุ่งผ้าซิ่น สวมเสื้อคอกลมหรือห่มสไบ ถ้าเด็กผู้ชายนุ่งกางเกงหรือโจงกระเบน แต่หากมีงานประเพณีพิธีกรรม เด็กจะแต่งตัวอย่างงดงาม ด้วยผ้านุ่งผ้าห่มและเครื่องประดับตามฐานะ

เครื่องนุ่งห่ม
                    ผู้ชายสุโขทัยสวมเสื้อและมีผ้าคล้องไหล่ เสื้อเป็นเสื้อแขนยาวผ่าอก ผู้ชายชั้นสูงมีผ้าพาดไหล่ ส่วนผ้าโพกศีรษะนั้น ก็มีกล่าวไว้ว่า ผ้าทรงและผ้าโพกก่อนจะใส่มักนิยมอบด้วยของหอม เช่น อบด้วยอายธูป ผ้าโพกนี้คงเป็นผ้าโพกศีรษะนั่นเอง ส่วนเสื้อก็เป็นเสื้อแขนสั้น คอสี่เหลี่ยม เรียกว่าเสื้อยันต์หรือไม่ก็เป็นเสื้อชนิดสวมหัว เข้าใจว่าพวกทหารก็มีเครื่องแต่งกายแบ่งหมู่เหล่าด้วยเหมือนกัน โดยใส่เสื้อและหมวกสีต่างๆ

                    สำหรับผ้านุ่งนั้น ทำจากผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมเหมือนของสตรี ถ้าเป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือพวกเจ้านายทรงผ้าโจงกระเบนทับสนับเพลา ทั้งบั้นพระองค์หรือเอวมีผ้าจีบประดับทับถ้อยลงมาสองชายแล้วคาดทับด้วยปั้นเหน่งหรือเข็มขัดเส้นใหญ่สวยงามแบบหนึ่ง อีกแบบนั้น ทรงสวมสนับเพลาขายาวหรือขาสั้นเหนือเข่ามีผ้าคาด ส่วนผ้าพาดไหล่นั้น เวลาใช้จะใช้ชายผ้าทั้งสองชายพาดไปด้านหลังของไหล่แต่ละข้าง ด้านหน้าจึงเห็นผ้าเป็นรูปโค้ง หรือไม่ก็พาดไว้ที่ไหล่ข้างเดียว ผ้าห้อยนี้มีหลายสี ถ้าเป็นสามัญชนและพราหมณ์ จะนุ่งผ้าโจงกระเบนสั้น เหนือเข่า มีผ้าคาดเอว

 

 

เครื่องประดับสมัยสุโขทัย

                    ส่วนใหญ่ในระยะแรกนั้น มีลักษณะและรูปแบบคล้ายกับศิลปะลพบุรี แต่ได้มีการปรับปรุงรูปแบบเป็นลักษณะของตนด้วย มีการคิดประดิษฐ์ให้รูปแบบใหม่ทั้งจากที่คิดประดิษฐ์ขึ้นเองและได้รับอิทธิพลจากรูปแบบศิลปกรรมภายนอกที่เข้ามาใหม่  เช่น  อิทธิพลจากศิลปะลังกา ซึ่งเข้ามาพร้อมกับการรับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์   ดังนั้น  รูปแบบเครื่องประดับสมัยสุโขทัยจึงมีลักษณะเป็นแบบของตนเอง และเป็นแบบอย่างของเครื่องประดับสมัยอยุธยาในระยะต่อมา ในสมัยนี้มีการใช้เครื่องประดับทั้งที่ทำด้วยทองคำ ถม เงิน และนิยมประดับด้วยอัญมณี 7 สี มีปัทมราค และ ประพาฬรัตน์ เป็นต้น โดยใช้คำว่า “แก้วมณีรัตน์” และ “เครื่องถนิมพิมพาภรณ์” เครื่องประดับที่ปรากฏสำหรับบุคคลชั้นสูง มี ศิราภรณ์ ตุ้มหู แหวน สำหรับสตรีชั้นสูง พบว่ามีทองปลายแขนและแหวน

รูปแบบของเครื่องประดับ

1. ศิราภรณ์
         มีลักษณะคล้ายเทริด แบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนกระบังหน้า หรือกรอบพักตร์กันส่วนรัดเกล้าที่ประดับผมส่วนบน ตัวกรอบพักตร์มีความกว้างตรงกลางประดับด้วยลายดอกไม้เป็นแนวกว้างขนาด้วยแถวไข่มุก ตัวกะบังหน้ามีแนวตรงและที่ขอบบนเป็นแนวโค้งหยักสูงเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนรอบหน้าผากหยักโค้ง

         ส่วนรัดเกล้า มี 3 แบบคือ เป็นทรงกระบอกยอดกลมแบบหนึ่ง อีกแบบหนึ่งเป็นทรงกะเปาะ ซ้อนกันขึ้นไป 5 ชั้น ชั้นบนสุดเรียวสูง เหนือขอบบนของกรอบพักตร์มีแผ่นรูปสามเหลี่ยม 3 แผ่น ประดับตรงกลางเหนือหน้าผาก 1 แผ่น และด้านข้างเหนือแนวหูข้างละ 1 แผ่น ส่วนอีกแบบหนึ่งเป็นรัดเกล้าคล้ายวงแหวน หรือกะเปาะเฟืองสั้นๆ ซ้อนกันขึ้นไป 5 ชั้น

2. กรองศอ
          เป็นแถบกว้างโค้งไปตามแนวคอ ตรงกลางแนวกรองศอประดับด้วยลายดอกประจำยามขนาดใหญ่ มีสายต่อกับทับทรวงที่ซ้อนกัน  ลายตรงแนวกลางนี้ขนาบด้วยแนวไข่มุก  มีหลายลักษณะทั้งแนวกลมมีลายดอกไม้ 3 ดอก  ประดับเป็นระยะๆ กับที่ตรงกลางเป็นวงเรียบ ขอบสองด้านประดับด้วยแนวหยักหรือเป็นแนวเรียบ แบ่งเป็น 3 แนว แนวกลางประดับด้วยลายไข่มุกขนาดใหญ่ ขนาบด้วยแนวไข่ มุกขนาดเล็ก เป็นแนวขอบบนและขอบล่าง และที่เป็นวงแหวน 3 วง  เรียงต่อกันเป็นแผ่นสามเหลี่ยมโค้งคล้ายใบปรือ  และยังมีห่วงคอเรียบๆ ที่มีลายดอกไม้ประดับอยู่ตรงกลางเพียงดอกเดียว

3. กำไลข้อมือ
          กำไลข้อมือมักเป็นแบบเรียบๆ ที่สวมหลายๆวง ส่วนใหญ่มี 3 – 4 วง ทำด้วยทองและเงิน

4. ตุ้มหู
          ตุ้มหูสมัยสุโขทัย ใช้ประดับทั้งบุรุษและสตรี ตุ้มหูเป็นรูปดอกไม้ หรือรูปกลมที่มีก้านเสียบเข้ากับติ่งหูที่เจาะเป็นรูไว้ มีทั้งที่เป็นรูปกลมชิ้นเดียว หรือ 2 – 3 ชิ้นต่อเป็นช่อท้ายลงมา

5. ปั้นเหน่ง
          บุรุษและสตรีนุ่งผ้ายาวหรือโจงกระเบนยาวแบบที่อินเดียเรียกว่า โธตี ดังนั้นจึงจับชายผ้าเหน็บที่เอวให้กระชับ แล้วคาดเข็มขัดทับเข็มขัดในสมัยนี้จึงเป็นเส้นเรียบ ๆ มีหัวเข็มขัดเป็นรูปกลมและรูปรี เมื่อรัดแล้วประกอบดูคล้ายกับผูกเชือกรอบเอว

6. เครื่องประทินหรือเครื่องสำอาง
          ของหอมที่ใช้ทั้งบุรุษและสตรี คือ กระแจะ จวงจันทร์ น้ำมันหอม ผัดหน้าและลูบกายด้วยแป้งสารภี สตรีมีการเขียนคิ้ว แต่งเล็บ ไว้เล็บ สตรีใช้น้ำมันงาใส่ผม

 

   

สร้างโดย: 
นางสาว ชยาดา ฟองทิพย์สุคนธ์ ม.6/7 เลขที่ 5

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 299 คน กำลังออนไลน์