user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('ดอกควินิน', 'node/44934', '', '18.190.207.144', 0, '4644aedb7a9cfbd5df4822dda713a641', 189, 1716136619) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

มงคลที่ 33 เห็นอริยสัจ

                                                               มงคลที่ 33 เห็นอริยสัจ

                                                       

                                          แหล่งที่มา : http://www.kmitl.ac.th/buddhist/tumma/  

 

การรู้เห็น ความจริง สิ่งเที่ยงแท้
ไม่ผันแปร สี่ชนิด ไม่ผิดหลง
ตัดตัณหา มูลราก พรากทุกข์ลง
เป็นการส่ง ข้ามฟาก จากสาคร

 แม่บทของพระพุทธศาสนาก็คือ อริยสัจ 4
  อริยสัจสามารถแปลได้หลายความหมาย เช่น
     - คือ ความจริงอันประเสริฐ
     - คือ ความจริงอันทำให้บุคคลผู้เห็นเป็นผู้ประเสริฐ
 อริยสัจ 4 คือ ความจริงที่มีอยู่คู่โลกแต่ไม่มีใครเห็น จนกระทั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ
ทั้งรู้และเห็นแล้วทรงชี้ให้เราดู ได้แก่
     1.ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจต่างๆ
     2.สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
     3.นิโรธ คือ ความดับทุกข์ สภาพที่ทุกข์หมดไป
     4.มรรค คือ วิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่ความดับทุกข์

     ถ้าจะเปรียบกับโรค
 ทุกข์ ก็เปรียบเหมือน สภาพที่ป่วยเป็นโรค
 สมุทัย ก็เปรียบเหมือน ตัวเชื้อโรค
 นิโรธ ก็เปรียบเหมือน สภาพที่หายจากโรค แข็งแรงแล้ว
 มรรค ก็เปรียบเหมือน ยารักษาโรคให้หายป่วย

   
      คนทุกคนในโลกนี้ ล้วนแต่มีความทุกข์กันทั้งนั้น เหมือนคนป่วยแต่ก็ไม่รู้ว่าป่วยจากอะไร อะไรเป็นสาเหตุ
      จะแก้ไขรักษาให้หายป่วยหายทุกข์ได้อย่างไร
      ในมงคลนี้ เราจะมาศึกษากันให้เข้าใจถึงแก่นแท้ของชีวิตกันล่ะเอาให้รู้กันเลยว่าที่เราทุกข์ๆ กันอยู่ทุกวันนี้น่ะ 
      มันมีสาเหตุมาจากอะไรแล้วเราจะได้รีบปฏิบัติเพื่อให้พ้นทุกข์กันเสียที

 

                                          

                          แหล่งที่มา : http://media.photobucket.com/image/%25E0%25B8%25A5%25E0%25B8%25B9%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%2584%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A7%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%259E%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2588/watchari/girl_med2.jpg  

อริยสัจที่ 1 ทุกข์
   ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจต่างๆ พระองค์ทรงพบความจริงว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนตกอยู่ใน
ความทุกข์ จะเป็นมหาเศรษฐี เป็นนายกฯ เป็นประธานาธิบดี เป็นกษัตริย์ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แม้ที่สุดเป็น
พระภิกษุ ก็มีทุกข์ทั้งนั้น ต่างแต่เพียงว่าทุกข์มากหรือทุกข์น้อยและมีปัญญาพอที่จะรู้ตัวหรือเปล่าเท่านั้น
พระองค์ได้ทรงแยกแยะให้เราเห็นว่า ความทุกข์นี้มีถึง 11 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

   1.สภาวทุกข์ คือ ทุกข์ประจำ เป็นความทุกข์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นสภาพธรรมดาของสัตว์ ซึ่งเมื่อเกิดแล้วต้อง
มีทุกข์ชนิดนี้ มี 3 ประการได้แก่
     1.การเกิดเป็นทุกข์
     2.การแก่เป็นทุกข์
     3.การตายเป็นทุกข์
 ศาสนาอื่นๆ ในโลก อย่างมากที่สุดก็บอกได้เพียงว่า ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นทุกข์ ส่วนการเกิดกลับถือว่า
เป็นสุข เป็นพรพิเศษที่ได้รับประทานจากสรวงสวรรค์ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงทำสมาธิมามาก
ทรงรู้แจ้งโลกด้วยดวงปัญญาอันสว่างไสว และชี้ให้เราเห็นว่า การเกิดนั้นแหละเป็นตัวทุกข์ ทุกข์ตั้งแต่ต้องขด
อยู่ในท้อง พอจะคลอดก็ถูกมดลูกบีบรัดดันออกมา ศีรษะนี่ถูกผนังช่องคลอดบีบจนกระโหลกเบียดซ้อนเข้าหากัน
จากหัวกลมๆ กลายเป็นรูปยาวๆ เจ็บใจขาดเลยเพราะฉะนั้นทันทีที่คลอดออกมาได้สิ่งแรกที่เด็กทำคือ ร้องจ้าสุด
เสียงเพราะมันเจ็บจริงๆ และการเกิดนี่เอง ที่เป็นต้นเหตุเป็นที่มาของความทุกข์อื่นๆ ทั้งปวง ถ้าเลิกเกิดได้เมื่อ
ไหร่ก็เลิกทุกข์
           อีกอย่างหนึ่งที่คนมักเข้าใจไขว้เขวกัน ก็คือ คิดว่าชราทุกข์นี่จะมีเอาก็ต่อเมื่ออายุ 60-70ปี แต่จริงๆ แล้ว
ทันทีที่เราเริ่มเกิด เราก็เริ่มแก่แล้วชราทุกข์เริ่มเกิดตั้งแต่ตอนนั้น และค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เซลล์ในร่างกายเริ่ม
แก่ตัวไปเรื่อยๆ อันนี้ขอให้ทราบกันด้วย

 2.ปกิณณกทุกข์ คือ ทุกข์จร เป็นความทุกข์ที่เกิดจากจิตใจหย่อนสมรรถภาพ ไม่อาจทนต่อเหตุภายนอกที่มากระทบ
ตัวเราได้
ผู้มีปัญญารู้จักฝึกควบคุมใจตนเอง สามารถหลีกเลี่ยงทุกข์ชนิดนี้ได้ ทุกข์จรนี้มีอยู่ 8 ประการ ได้แก่
     1.โสกะ ความโศก ความแห้งใจ
     2.ปริเทวะ ความคร่ำครวญรำพัน
     3.ทุกขะ ความเจ็บไข้ได้ป่วย
     4.โทมนัสสะ ความน้อยใจ
     5.อุปายาสะ ความท้อแท้กลุ้มใจ
     6.สัมปะโยคะ ความเบื่อหน่ายขยะแขยงจากการประสบสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก
     7.วิปปโยคะ ความห่วงใย จากการพลัดพรากจากของรัก
     8.อาลภะ ความเสียดายจากการปรารถนาสิ่งใด แล้วไม่ได้สิ่งนั้น
 นี่คือผลการวิจัยเรื่องทุกข์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงเป็นเหมือนแพทย์ผู้ชำนาญโรค สามารถแยกแยะ
อาการของโรคให้เราดูได้อย่างละเอียดชัดเจน

            “ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ” อริยสัจ คือ ทุกข์ อันเราพึงกำหนดรู้ (พุทธพจน์)

อริยสัจที่ 2 สมุทัย
 สมุทัย คือ เหตุแห่งความทุกข์ทั้งหลายดังกล่าวข้างต้น ศาสนาอื่นๆ หาเหตุแห่งความทุกข์ไม่เจอ จึงโทษไปต่างๆ นานา
เป็นการลงโทษของพระเจ้าบ้าง ของผีป่าบ้าง ถ้าเป็นจริงละก็ ผีป่าตนนี้คงใจร้ายน่าดู เที่ยวไปรังแกคนโน้นคนนี้ทั้งวัน
ให้เขามีทุกข์ หน้าคงจะหงิกอยู่ทั้งวัน เขี้ยวงอกเลยผีตัวนี้
 แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงฝึกสมาธิมามาก พระองค์ทรงทำใจให้ใสเข้าถึงธรรมกาย แล้วเห็นความจริงอย่างชัดเจน
เลยว่า ที่เราทุกข์ๆ กันอยู่นี่ สาเหตุมันมาจากกิเลสที่มีอยู่ในใจนี่แหละ พระองค์บัญญัติศัพท์เรียกว่า
ตัณหา คือ ความทะยาน
อยากในใจของเราเอง แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
     1.กามตัณหา ความอยากได้ เช่น อยากได้เงิน อยากได้ทอง อยากสนุก อยากมีเมียน้อย อยากให้คนชมเชยยกย่อง
          สรุป คือ อยากได้ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์ที่น่าพอใจ
     2.ภวตัณหา ความอยากเป็น เช่น อยากเป็นนายกรัฐมนตรี อยากเป็นใหญ่เป็นโต อยากเป็นทหาร อยากเป็นตำรวจ ฯลฯ
     3.วิภวตัณหา ความอยากไม่เป็น เช่น อยากไม่เป็นคนจน อยากไม่เป็นคนแก่ อยากไม่เป็นคนขี้โรค ฯลฯ
 มนุษย์เราเกิดมาจากตัณหา ลอยคออยู่ในตัณหา เคยชินกับตัณหาคุ้นเคยกันกับตัณหา จนเห็นตัณหาเป็นเพื่อนสนิท กินด้วยกัน
ดื่มด้วยกัน ถ้าขาดตัณหาแล้วเขากลัวว่าจะขาดรสของชีวิตที่เคยได้เคยอยู่เคยเป็น แต่ตามความเป็นจริง ตัณหานั้นถ้าเป็นเพื่อน
ก็เพื่อนเทียม คอยหลอกล่อนำทุกข์มาให้เราแล้วก็ยืนหัวเราะชอบใจ
 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเหมือนแพทย์ผู้ชำนาญทรงแยกแยะชี้สาเหตุของโรคสาเหตุของทุกข์ ให้เราเห็นว่ามาจากอะไร
เชื้อโรคชนิดไหนกิเลสชนิดใด

              “ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพํ” อริยสัจ คือ ทุกข์สมุทัย อันเราพึงละ (พุทธพุจน์)

                                                          

                                                                     สารบัญ คลิกที่นี่

 

สร้างโดย: 
นางปาลิดา สวนชังและนางสาวนันทิชา เรืองวินิตวงศ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 346 คน กำลังออนไลน์