1.2.1 กลไกการแยกทางสืบพันธุ์ก่อนระยะไซโกต

 

 

 

          1.2.1 กลไกการแยกทางสืบพันธุ์ก่อนระยะไซโกต 

                  เป็นกลไกที่ป้องกันไม่ให้เซลล์สืบพันธุ์จากสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันได้มาผสมพันธุ์กัน กลไกเหล่านี้ได้แก่

                    1. ถิ่นที่อยู่อาศัย

                        สิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันที่อาศัยในถิ่นที่อยู่ต่างกัน เช่น กบป่า อาศัยอยู่ในแอ่งน้ำซึ่งเป็นแหล่งน้ำจืดขนาดเล็ก

ส่วนกบบูลฟรอกอาศัยอยู่ในหนองน้ำหรือบึงขนาดใหญ่ที่มีน้ำตลอดปี กบทั้งสองสปีชีส์นี้มีลักษณะรูปร่างใกล้เคียงกันมาก

แต่อาศัยและผสมพันธุ์ในแหล่งน้ำที่แตกต่างกันทำให้ไม่มีโอกาสได้จับคู่ผสมพันธุ์กัน

                         

                          กบป่าอาศัยในแหล่งน้ำขนาดเล็ก                     กบบูลฟรอกอาศัยในบึงขนาดใหญ่

                      ที่มารูปภาพ : http://sci.hatyaiwit.ac.th/present/evolution.ppt#358,89,Slide 89

                    2.พฤติกรรมการผสมพันธุ์

                       เช่น พฤติกรรมในการเกี้ยวพาราสีของนกยุงเพศผู้ ลักษณะการสร้างรังที่แตกต่างกันของนกและการใช้ฟีโรโมน

ของแมลง เป็นต้น พฤติกรรมต่างๆ นี้ จะมีผลต่อสัตว์เพศตรงข้ามในสปีชีส์เดียวกันเท่านั้นที่จะจับคู่ผสมพันธุ์กัน

 

 ลักษณะการสร้างรังที่แตกต่างกันของนก 2 สปีชีส์

                          ภาพที่ 19-23 หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติมชีววิทยาเล่ม 5 หน้า 143

 

 

สร้างโดย: 
อาจารย์กวิสรา ชาลาภคำ และ น.ส.ทิพย์วรรณ บุตรละคร โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 457 คน กำลังออนไลน์