เผยแพร่ผลงานวิชาการ



สวัสดี ท่านผู้สนใจทุกท่าน   มีผลงานเผยแพร่ผลงานวิชาการ ของรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งจัดทำเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ในชุด รู้เท่าทันเศรษฐศาสตร์   ในเนื้อหาการเรียนของเรื่อง "กลไกการตลาด" ในเนื้อหาการเรียนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ให้แก่ นักเรียนโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ใช้ศึกษารวมถึงผู้สนใจทุกท่าน   http://www.mediafire.com/download.php?wyhvm4fj3wm
ให้โหลดเพื่อนำไปศึกษาได้ตามลิ้งค์ข้างต้นนี้นะค่ะ หวังว่าต้องมีประโยชน์แก่ผู้ศึกษาทุกท่าน   ด้วยความปราถนาดี

ครูสมแก้วปงกองแก้ว ครูโรงเรียนไทยรัฐ32  ผู้รังสรรค์

บทคัดย่อ

 

ชื่อเรื่อง                    รายงานการพัฒนาผลการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม
ชุดนิทานพื้นบ้านจังหวัดสระแก้ว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนบ้านแก้งวิทยา จังหวัดสระแก้ว

ชื่อผู้ศึกษา        นางขวัญใจ  มาลัยชน

สาขาวิชา                   ภาษาไทย

ปีการศึกษา       2558

 

 

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดนิทานพื้นบ้านจังหวัดสระแก้ว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแก้งวิทยา จังหวัดสระแก้ว ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดนิทานพื้นบ้านจังหวัดสระแก้ว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้าน

แก้งวิทยา จังหวัดสระแก้ว 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดนิทานพื้นบ้านจังหวัดสระแก้ว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน

บ้านแก้งวิทยา จังหวัดสระแก้ว

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จากโรงเรียนบ้านแก้งวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ1)แผนการจัดการเรียนรู้ 2) หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดนิทานพื้นบ้านจังหวัดสระแก้ว จำนวน 5 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ซึ่งมีค่าความยากอยู่ระหว่าง .47-.73 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .50-1.00 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .99 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดนิทานพื้นบ้านจังหวัดสระแก้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่

ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการศึกษาพบว่า

1. หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดนิทานพื้นบ้านจังหวัดสระแก้ว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแก้งวิทยา จังหวัดสระแก้ว มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.93/84.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่าง

มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดนิทานพื้นบ้านจังหวัดสระแก้ว ในระดับมากที่สุด

ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ชื่อผู้วิจัย นายอาจินต์ นาคินทร์

ปีที่ทำการวิจัย 2557

 

บทคัดย่อ

 

                วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ (1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีวิธีดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อการทดลองใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน ร่อนพิบูลย์เกียรติวสุนธราภิวัฒก์ ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 1 ห้อง ได้มาจากการสุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ได้ห้อง ม.1/6 จำนวนนักเรียน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) เอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา              พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 หน่วยการเรียนรู้ คือ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง วัยรุ่นกับการเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง วัยรุ่นกับพัฒนาการทางเพศ และหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ (2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 แผนการจัดการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 40 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า

  1. ค่าประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 มีค่า 86.06/87.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1
  2. ดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1เท่ากับ 0.64 แสดงว่า นักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 64.00 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2
  3. การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยทั้งสองกลุ่มของผู้เรียนก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 26.18 คะแนน หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 35.09 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบแล้วมีความแตกต่างกันเท่ากับ 8.91 คะแนน ดังนั้นจากการทดสอบสถิติ t พบว่า ค่าเฉลี่ยระหว่างผู้เรียนหลังเรียนกับก่อนเรียนสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3
  4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อเอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 4

ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ชื่อผู้วิจัย นายอาจินต์ นาคินทร์

ปีที่ทำการวิจัย 2557

 

บทคัดย่อ

 

                วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ (1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีวิธีดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อการทดลองใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน ร่อนพิบูลย์เกียรติวสุนธราภิวัฒก์ ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 1 ห้อง ได้มาจากการสุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ได้ห้อง ม.1/6 จำนวนนักเรียน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) เอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา              พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 หน่วยการเรียนรู้ คือ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง วัยรุ่นกับการเจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐาน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง วัยรุ่นกับพัฒนาการทางเพศ และหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ (2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 แผนการจัดการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 40 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า

  1. ค่าประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 มีค่า 86.06/87.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1
  2. ดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1เท่ากับ 0.64 แสดงว่า นักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 64.00 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2
  3. การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยทั้งสองกลุ่มของผู้เรียนก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 26.18 คะแนน หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 35.09 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบแล้วมีความแตกต่างกันเท่ากับ 8.91 คะแนน ดังนั้นจากการทดสอบสถิติ t พบว่า ค่าเฉลี่ยระหว่างผู้เรียนหลังเรียนกับก่อนเรียนสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3
  4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อเอกสารประกอบการเรียน รหัสวิชา พ21101 รายวิชา สุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 4

ชื่อเรื่อง         : การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์ไม่เกิน 100,00 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3

ชื่อผู้รายงาน   : นางสาวศิริพร ริยาพันธ์ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ โรงเรียนวัดสำนักขัน             อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย 

ปีที่รายงาน  :  ปีการศึกษา  2558

................................................................................................................................................................

 

 

             การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์ไม่เกิน 100,000 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ซึ่งเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ที่มีแบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 22 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E และเรียบเรียงสาระตามโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เทียบเคียงกับข้อสอบทางการศึกษาและข้อสอบระดับชาติตั้งแต่ปี 2550 - 2556 มีอำนาจจำแนก 0.20 – 0.97 ความยาก 0.50 - 0.80 และความเชื่อมั่น 0.93 และแบบสอบถามความพึงพอใจมีความเชื่อมั่น 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มสัมพันธ์

             ผลการวิจัยพบว่าแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวก การลบจำนวนนับที่มีผลลัพธ์ไม่เกิน 100,000 ที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 5E สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ 19 แผน ผลประเมินระดับคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ผลระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 78.10/75.23 ดัชนีประสิทธิผล 0.61 โดยที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีระดับความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด

ชื่องานวิจัย      การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนควบคู่กับเทคนิค TAI (Team Assisted Individualization)เรื่อง การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ชื่อผู้วิจัย                     นางอุไรวรรณ ประนอม

กลุ่มสาระการเรียนรู้     การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ปีการศึกษา                 2557

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนควบคู่กับเทคนิค TAI (Team Assisted Individualization)เรื่อง การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนควบคู่กับเทคนิค TAI เรื่อง การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2554 - 2556 จำนวน 93 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2554 - 2556 จำนวน 71 คน

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนควบคู่กับเทคนิค TAI เรื่อง การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบบหนึ่งต่อหนึ่ง มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.42  / 82.54 ได้ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 20.6  

2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนควบคู่กับเทคนิค TAI เรื่อง การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01 

หัวข้อการศึกษา การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนผัง
                      ความคิด
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
                      ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 เรื่องข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
                      ยาและสารเสพติด

ปีที่ศึกษา           2554

ผู้ศึกษาค้นคว้า             นางสารีย์   ศิริ

............................................................................................................................................................

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบฝึกกิจกรรมการเขียนแผนผังความคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ยาและสารเสพติด ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80

2.  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ยาและสารเสพติด กกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา      ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกกิจกรรมการเขียนแผนผังความคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ยาและสารเสพติด ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น

                3. เพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยแบบฝึกกิจกรรมการเขียนแผนผังความคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ยาและสารเสพติด  

                 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองจริง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนบ้านทุ่งมน (ริมราษฎร์นุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา  255
4 จำนวน  32  คน

                 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมีดังต่อไปนี้  1)  แผนการจัดการเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ยาและสารเสพติด  2) แบบฝึกกิจกรรมการเขียนแผนผังความคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ยาและสารเสพติด 3)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ยาและสารเสพติด  4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยแบบฝึกกิจกรรมการเขียนแผนผังความคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ยาและสารเสพติด  สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และt-test Dependent ผลการศึกษา  พบว่า

1. แบบฝึกกิจกรรมการเขียนแผนผังความคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ยาและสารเสพติด ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ยาและสารเสพติด    กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาหลังเรียนด้วยแบบฝึกกิจกรรมการเขียนแผนผังความคิด สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

                3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนแบบฝึกกิจกรรมการเขียนแผนผังความคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ยาและสารเสพติด ในระดับมาก

ชื่อเรื่อง        รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง เลขยกกำลัง วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
ผู้วิจัย        นางสาวปวันรัตน์  เอี่ยมสะอาด  ตำแหน่ง  ครู  วิทยฐานะ  ครูชำนาญการ  
โรงเรียนเทศบาล  2  “วิภัชศึกษา”  กองการศึกษา  เทศบาลเมืองสุรินทร์
ปีที่วิจัย        2555

บทคัดย่อ

               รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง เลขยกกำลัง วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1   โดยมีวัตถุประสงค์  4  ข้อ  ดังนี้  1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ  เรื่อง  เลขยกกำลัง  วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ  เรื่อง  เลขยกกำลัง  วิชา  คณิตศาสตร์พื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะ  เรื่อง  เลขยกกำลัง  วิชา  คณิตศาสตร์พื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  และ  4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ  เรื่อง  เลขยกกำลัง  วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาล 2 “วิภัชศึกษา”  อำเภอเมืองสุรินทร์  จังหวัดสุรินทร์  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555  จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster Random Sampling)   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบฝึกทักษะ  เรื่อง  เลขยกกำลัง  จำนวน 12 ชุด  แผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ  จำนวน 12  แผนการจัดการเรียนรู้  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4  ตัวเลือก  จำนวน  30 ข้อ  แบบทดสอบย่อยของแต่ละชุดแบบฝึกทักษะชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก จำนวน 12 ชุด  และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ  จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ (E1/E2)  และใช้สถิติทดสอบ t-test  ในการทดสอบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน

ผลการวิจัยพบว่า
1.    ประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E1/E2)   ของแบบฝึก
ทักษะ  เรื่อง  เลขยกกำลัง  วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/1  ภาคเรียนที่ 1              ปีการศึกษา  2555  โรงเรียนเทศบาล 2 “วิภัชศึกษา”  อำเภอเมืองสุรินทร์   จังหวัดสุรินทร์   จำนวน  39  คน  มีประสิทธิภาพ  เท่ากับ  84.99/81.71   ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2.    ดัชนีประสิทธิผล  ( E.I.)  ของแบบฝึกทักษะ  เรื่อง  เลขยกกำลัง  วิชาคณิตศาสตร์
พื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/1  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2555  โรงเรียนเทศบาล 2 “วิภัชศึกษา”  อำเภอเมืองสุรินทร์   จังหวัดสุรินทร์   จำนวน  39  คน  มีค่าเท่ากับ  0.6973   แสดงว่านักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ  69.73        
3.   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ  เรื่อง  เลขยกกำลัง  วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/1  พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05
    4.  ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ  เรื่อง  เลขยกกำลัง  วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/1 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
    จากการวิจัยในครั้งนี้ทำให้ได้แบบฝึกทักษะ เรื่อง  เลขยกกำลัง  วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ที่มีประสิทธิภาพสูงและประสิทธิผลสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ทำให้นักเรียนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ได้เป็นอย่างดี

ชื่อผลงาน      ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เรื่อง แสงและการมองเห็น
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7
E)

ผู้รายงาน       นางสาวนิลมณี   บัวระภา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านขอนแดง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 

 ปีที่ศึกษา      ปีการศึกษา 2555

 บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง
แสงและการมองเห็น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
7 ขั้น (7
E) ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม  2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
7 ขั้น (7
E) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่
4 โรงเรียนบ้านขอนแดง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย จำนวน
13 คน
ที่กำลังเรียนภาคเรียนที่
2 ปีการศึกษา 2555 การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยที่ยังไม่เข้าขั้นการทดลอง (Pre-Experimental
Design) ใช้รูปแบบการศึกษาเฉพาะรายกรณีโดยให้การทดลอง 1 ครั้งกับกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม (One-shot Case
Study)

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ประกอบด้วย
1. เครื่องมือในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น
(7
E) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง
แสงและการมองเห็น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน
12  แผน ใช้เวลา 12 ชั่วโมง 2. เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เป็นแบบทดสอบปรนัยแบบเลือกตอบ
4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน
เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า
5 ระดับ (Rating Scale) ตามวิธีการของลิเคอร์ท จำนวน 12 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ
  ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

1. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน
10 คน คิดเป็นร้อยละ 76.92 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ
ร้อยละ
70 ของนักเรียนทั้งหมด แสดงว่า การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
7 ขั้น (7
E)
สามารถส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

2. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น(7E) เรื่อง แสงและการมองเห็น โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.48

เป็นผลงานที่เหมาะสมกับผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง

บทคัดย่อ รายงานการวิจัย                     การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  
                                       
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ
                                      
เทคโนโลยี   เรื่อง  งานเกษตรคู่บ้าน
                                      
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย                               
นางสุภัคตรา  วรรณจู 

ตำแหน่งครูวิทยฐานะชำนาญการ                                      
โรงเรียน
บ้านจำนันสายเจริญ                                
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ  เขต
4
ปีที่วิจัย                 
ปีการศึกษา 2552                                                                                                                                    
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ
(1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง เรื่อง  งานเกษตรคู่บ้าน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80  (2)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียน  ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง เรื่อง  งานเกษตรคู่บ้าน และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง  งานเกษตรคู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  โรงเรียนบ้านจำนันสายเจริญ  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน  15  คน ทำการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง งานเกษตรคู่บ้าน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจในการเรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t –Dependent Test)
ผลการวิจัยพบว่า1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง งานเกษตรคู่บ้าน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ E1/E2 มีค่าเท่ากับ 84.67 / 83.78  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง งานเกษตรคู่บ้าน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  เรื่อง งานเกษตรคู่บ้าน ทำให้นักเรียนเกิดความพึงพอใจในการเรียนอยู่ในระดับมาก

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 201 คน กำลังออนไลน์