ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

รูปภาพของ knw32075

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

            จากจุดเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตบนโลกมนุษย์เมื่อหลายพันล้านปีมาแล้ว จนกระทั่งถึงปัจจุบันสิ่งมีชีวิตได้มีวิวัฒนาการแยกออกเป็นชนิดต่างๆมากมาย          ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการศึกษาและความเข้าใจถูกต้องตรงกัน นักวิทยาศาสตร์ จึงได้จัดแบ่งสิ่งมีชีวิตดังกล่าวเหล่านี้ออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่จนถึงหมวดหมู่ย่อยตามลำดับดังนี้

     1. อาณาจักร (Kingdom)

     2. ไฟลัม (Phylum )

     3. คลาส (Class)

     4. ออร์เดอร์ (Order )

     5. แฟลมมิลี่ (Family)

     6. จีนัส (Genus)

     7. สปีชีส์ (Species)

การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต

การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในแต่ละอาณาจักรจะมีบทบาทหน้าที่ต่างๆกันในระบบนิเวศ ระบบนิเวศ(Ecosystem) หมายถึงระบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆที่อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยเดียวกัน ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันเองและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับแหล่งที่อยู่อาศัย โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวจะต้องมีการถ่ายทอดสารและพลังงานให้แก่กันและกันระบบนิเวศนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ 1. สิ่งไม่มีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิตซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของระบบนิเวศ ได้แก่ พลังงานจากดวงอาทิตย์ ลม อนินทรียสาร เช่น คาร์บอน ออกซิเจน น้ำ อินทรียสาร เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ เช่น อุณหภูมิ แสงสว่าง ความชื้น เป็นต้น 2. สิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะถูกธรรมชาติคัดเลือกให้ดำรงพันธ์ต่อไป โดยจะมีบทบาทหน้าที่ต่างๆกันในระบบนิเวศ ซึ่งได้แก่ ผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ย่อยอินทรียสาร และผู้กินซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว ดังแผนภาพแสดงความสัมพันธ์เชิงอาหารหรือสายใยอาหาร ลูกศรแสดงถึงการบริโภคต่อกันเป็นทอดๆสิ่งมีชีวิตที่อยู่หัวลูกศรเป็น ผู้บริโภค หรือ ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดพลังงานส่วนสิ่งมีชีวิตที่อยู่ปลายลูกศรเป็นผู้ผลิตหรือผู้บริโภค ผู้ผลิต ผู้บริโภคพืช ผู้บริโภคสัตว์ลำดับที่1 ผู้บริโภคสัตว์ลำดับที่ 2 ผู้ย่อยอินทรียสาร และผู้กินซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ได้แก่ ความสัมพันธ์เชิงอาหาร และความสัมพันธ์เชิงการอยู่ร่วมกัน ความสัมพันธ์เชิงอาหารมีอยู่ 2 แบบ คือ ความสัมพันธ์เชิงอาหารแบบโซ่อาหาร และแบบสายใยอาหาร โซ่อาหาร โซ่อาหาร(Food Chain) หมายถึง การกินต่อกันเป็นทอดๆของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในรูปแบบดังกล่าวนี้เป็นการถ่ายทอดพลังงานผ่านผู้ผลิตและผู้บริโภค ในระดับต่างๆ โดยมีผู้ย่อยสลายทำหน้าที่ย่อยสลายในทุกระดับ ตัวอย่างโซ่อาหาร ตัวอย่างที่ 1 ผักกาด กระต่าย สุนัขจิ้งจอก กระต่าย เป็นผู้บริโภคผักกาดในขณะเดียวกันกระต่ายก็ถูกบริโภคโดยสุนัขจิ้งจอก ผักกาด เป็นผู้ผลิต กระต่ายเป็นผู้บริโภคพืช สุนัขจิ้งจอก เป็นผู้บริโภคสัตว์ลำดับ 1 ตัวอย่างที่ 2 ข้าวโพด หนู งู นกฮูก ข้าโพด เป็นผู้ผลิต งู เป็นผู้บริโภคสัตว์ลำดับที่ 1 หนู เป็นผู้บริโภคพืช นกฮูก ผู้บริโภคสัตว์ลำดับที่ 2 สายใยอาหาร สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหนึ่งๆนอกจากจะมีความสัมพันธ์เชิงอาหารแบบโซ่อาหารแล้ว ยังมีความสัมพันธ์เชิงอาหารแบบสายใยอาหารอีกด้วย สายใยอาหาร (Food Web) เป็นระบบความสัมพันธ์เชิงอาหารของสิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อนมาก ซึ่งประกอบด้วยโซ่อาหารหลายๆโซ่ ดังแผนภาพดังนี้ จะเห็นได้ว่า ในระบบนิเวศหนึ่งๆผู้ผลิตจะเป็นตัวกลางสำคัญ ในการถ่ายทอดพลังงานโดยผู้ผลิตจะรับพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์มา แล้วถ่ายทอดไปยังผู้บริโภคชนิดต่างๆ ในรูปของพลังงานเคมีควบคู่ไปกับสารต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบของสารอาหาร ดังนั้น ถ้าในระบบนิเวศใดๆ ไม่มีผู้ผลิต มีแต่ผู้บริโภคและผู้ย่อยสลายอินทรียสารแล้ว สิ่งมีชีวิตต่างๆบนโลกนี้ก็คงจะสูญพันธ์ไปหมด ทั้งนี้เพราะสภาวะสมดุลธรรมชาติของระบบนิเวศสูญเสียไป ทำให้ผู้บริโภคที่เคยบริโภคพืช(ผู้ผลิต) หันมาบริโภคกันเอง หรือไม่ก็ตายไปเนื่องจากขาดอาหาร วัฏจักรของก๊าซที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตก็จะสูญเสียไป อุณหภูมิของโลกจะสูงขึ้น สิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตอยู่เมื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ได้ ก็จะตายและสูญพันธุ์ไปในที่สุด สิ่งมีชีวิตต่างๆนอกจากจะมีความสัมพันธ์กันในเชิงอาหารดังกล่าวแล้ว ยังมีความสัมพันธ์กันในเชิงการอยู่ร่วมกันอีกด้วย ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในเชิงการอยู่ร่วมกันมีดังนี้ 1. การอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพากัน (Mutualism) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยที่ทั้งสองฝ่ายได้รับประโยชน์ด้วยกัน เช่นนกเอี้ยงบนหลังควาย นกเอี้ยงจะคอยจิกกินพวกเห็บที่เกาะติดอยู่ตามตัวควาย ส่วนควายได้รับประโยชน์ คือ ไม่ต้องคอยกำจัดเห็บ 2. การอยู่ร่วมกันแบบเกื้อกูล หรืออิงอาศัยกัน (Commensalism) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยมีฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ เช่นกล้วยไม้บนต้นไม้ กล้วยไม้ได้ประโยชน์ คือ ความชื้นและที่เกาะอาศัยจากต้นไม้ ในขณะเดียวกัน ต้นไม้ก็ไม่ได้หรือเสียประโยชน์ เนื่องจากรากกล้วยไม้ไม่ได้ฝังลึกลงไปแย่งอาหารต้นไม้ 3. การอยู่ร่วมกันแบบปรสิต (Parasitism) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยที่ฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์ แต่อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ เช่น กาฝากบนต้นไม้ กาฝากได้รับประโยชน์คือได้รับอาหารจากต้นไม้ที่อาศัย ส่วนต้นไม้ก็จะเป็นฝ่ายเสียประโยชน์เพราะถูแย่งอาหารไป

ในปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้สิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางลบ และการเปลี่ยนแปลงนั้นได้สะสมตัวมากขึ้นจนธรรมชาติไม่สามารถที่จะปรับให้เข้าสู่สภาวะปกติหรือสภาวะสมดุลได้ทัน ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลดังกล่าวนี้ก็ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในที่สุด

ที่มา http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-311.html

รูปภาพของ knw32251

เนื้อหาเยอะ น่าอ่านดีนะค่ะ - -"

 

5555 5

รูปภาพของ knw32061

FREEDOM FREEDOM !! YAHAA !!

รูปภาพของ knw32084

*ช่วยไป Comment บล๊อก ด้วยนะค่ะ ^^
http://www.thaigoodview.com/node/31363

 

เม้นอิกคร๊า ๆ ,

เม้นคืนนำ ๆ

 

555.

สีสันสวยดี

เนื้อหาก็ดี

เม้นแล้วเม้นอีก

ไปเม้นคืนด้วย

รูปภาพของ knw32072

สุโคร่ย

 

^^

รูปภาพของ knw32072

สุโคร่ย

 

^^

เนื้อหาสมบรูณ์ดี

สีสันสวยงาม

เม้นคืนด้วยนะ

http://www.thaigoodview.com/node/26163

ทำได้ดีมากเลยค่ะ

 แต่ถ้ามีรูปด้วยก็จะดีกว่านี้มากๆเลยนะ

 ^^;

รูปภาพของ knw32077

เนื้อหาดีมากค่ะ

สีสันสวยงาม

^^ 

ฝากเม้น

http://www.thaigoodview.com/node/31157

 

เยี่ยมเลยอ่ะ

รูปภาพของ knw32084

*ช่วยไป Comment บล๊อก ด้วยนะค่ะ ^^
http://www.thaigoodview.com/node/31363

เนื้อหาดีค่ะ ๆ ,

ยืมไปทำบันทึกการอ่าน

^^

ดีดีดี มากๆๆๆเนื้อหาดีมากเลยๆ

รูปภาพของ knw32089

เนื้อหาเข้าใจดีนะค่ะ : )

ตัวหนังสือเล็กแต่เข้าใจดี

เนื้อหาดีมากเลย

 

รูปภาพของ knw32085

ตัวหนังสือเล็กไปนิด

 แต่อ่านแร้วเข้าใจค่ะ

 ขอบคุณน่ะค่ะ

เยี่ยมไปเลย

เม้นๆ

 ไม่ต้องอ่านก็รู้

ของเขาดีจริงๆ

 555+

 

รูปภาพของ knw32075

สาด ๆ ๆ ของมึงก็ดีจิงๆ

รูปภาพของ knw32072

สุดยอดเลย

 

^^

ตัวหนังสือจาเล็กไปมั๊ยค่ะ แต่เนื้อหาก้โอ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 393 คน กำลังออนไลน์