การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

ชื่อเรื่อง             :  การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ

                           โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

ผู้รายงาน           :  มนิต  เพชรสุวรรณ

ปีการศึกษา         :  2565

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน คือ 1) เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ เป็นบุคลากร นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ในปีการศึกษา 2565 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน คณะครูในสถานศึกษา จำนวน 85 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,442 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1,442 คน รวมจำนวนทั้งหมด 2,988 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 1 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คณะครูในสถานศึกษา จำนวน 70 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 304 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 304 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเคร็จซี่และมอร์แกน รวมจำนวนทั้งหมด 690 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามเพื่อการวิจัย  ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) ฉบับที่ 1 2) แบบสอบถามเพื่อการวิจัย ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) ฉบับที่ 2 3) แบบสอบถามเพื่อการวิจัย ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) ฉบับที่ 3 4) แบบสอบถามเพื่อการวิจัย ด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) ฉบับที่ 4 5) แบบสอบถามเพื่อการวิจัย ด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) ฉบับที่ 5 และ 6) แบบสอบถามเพื่อการวิจัย ด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) ฉบับที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา พบว่า ภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก  (ค่าเฉลี่ย = 4.47, S.D. = 0.56) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation : C) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (ค่าเฉลี่ย = 4.51, S.D. = 0.59) รองลงมา คือ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) (ค่าเฉลี่ย = 4.50, S.D. = 0.55) ด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) (ค่าเฉลี่ย = 4.46, S.D. = 0.60) และด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.44, S.D. = 0.49) ตามลำดับ  โดยผลการประเมินแต่ละด้านมีรายละเอียด ดังนี้

1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) พบว่า มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.51, S.D. = 0.59)

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) พบว่า มีผลการประเมินโดยรวม  อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.50, S.D. = 0.55)

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า มีผลการประเมิน  โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.44, S.D. = 0.49)

4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) พบว่า มีผลการประเมินโดยรวมด้านผลผลิตอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.46, S.D. = 0.60) และมีผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.47, S.D. = 0.59)

4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) พบว่า ผลการประเมินสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะครูในสถานศึกษา มีภาพรวมการประเมินด้านผลผลิตอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.44, S.D. = 0.59) และมีผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.49, S.D. = 0.55)

4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) พบว่า ผลการประเมินสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีภาพรวมการประเมินด้านผลผลิตอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.43, S.D. = 0.61) และมีผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.46, S.D. = 0.61)

4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) พบว่า ผลการประเมินสำหรับผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีภาพรวมการประเมินด้านผลผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย= 4.51, S.D. = 0.61) และมีผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.48, S.D. = 0.61)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 616 คน กำลังออนไลน์