นิราศกูวาฮาติ รัฐอัสสัม

รูปภาพของ pornchokchai
นิราศกูวาฮาติ รัฐอัสสัม
  AREA แถลง ฉบับที่ 017/2566: วันศุกร์ที่ 06 มกราคม 2566

 

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

 

น้อยคนนักที่จะได้ไปนครกูวาฮาติ รัฐอัสสัม อินเดีย ผมจึงขอพาชมเมืองนี้นักหน่อย เผื่อบางท่านจะไปเที่ยว (แต่ผมแทบไม่พบคนไทยเลย)

 

            ในระหว่างวันที่ 16-19 ธันวาคม 2565 สมาคมผู้ประเมินค่าทรัพย์สินอินเดีย หรือ Institution of Valuers India ได้เชิญผมไปบรรยายด้านการประเมินค่าทรัพย์สิน ถือเป็นแขกต่างประเทศเพียงหนึ่งเดียวในงานประชุมประจำปีของสมาคมแห่งนี้ โดยทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 500 คนจากสมาชิกทั้งหลายหลายหมื่นคน (คงต้องเป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สินที่มีเงินพอสมควรจึงจะไปร่วมงานได้) ณ นครกูวาฮาติ รัฐอัสสัม ผมไปอินเดียมาหลายต่อหลายครั้งแต่ไม่เคยไปนครแห่งนี้เลย

            ที่บอกว่ามีคนไทยไปน้อยมากก็เพราะการต่อเครื่องบินนี่แหละ ราคาเครื่องบินแพง เพราะเป็นเงินประมาณ 15,000 บาทสำหรับการไป/กลับ โดยต้องไปต่อที่โกลกัตตา แต่ถ้านั่งเครื่องบินจากกรุงเทพมหานครไปแค่โกลกัตตา ราคาก็แค่ 7,000 บาทเท่านั้น นี่แสดงว่าตั๋วไปนครกูวาฮาติแพงกว่ามาก อย่างไรก็ตาม หากซื้อแยกสายการบินก็ยังถูกกว่า แสดงว่าตอนจองเครื่องบินต้องดูหลายๆ ทางเลือก  แต่ด้วยค่าตั๋วแพงอย่างนี้ จึงทำให้มีคนไทยไปเที่ยวน้อยมาก

            สาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่คนไทยไปเที่ยวน้อยมากก็เพราะไม่ค่อยมีสถานที่ท่องเที่ยวเท่าไหร่ และที่มีก็ไม่ได้น่าสนใจมากนัก  สถานที่แสวงบุญเช่นวัดไทย ก็แทบไม่มีเช่นกัน รัฐอัสสัมถือเป็นรัฐที่จนที่สุดรัฐหนึ่งของอินเดีย และขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างถนนสายหลักจากสนามบินเข้าเมือง จึงทำให้การเดินทางค่อนข้างช้าเป็นระยะๆ แต่หากการก่อสร้างแล้วเสร็จ ก็คงสะดวกขึ้น

            ระยะเวลาในการเดินทางก็ไม่สะดวก ผมไปด้วยสายการบิน Indigo ซึ่งเป็นสายการบินราคาถูกที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ออกเครื่องตอนตี 3 ยืนรอคิวเช็คอินแสนยาวเป็นชั่วโมง เดินทางถึงโกลกัตตาตอนตี 5 ครึ่ง แต่กว่าจะได้ขึ้นเครื่องอีกครั้งหนึ่งก็ราว 10:00 น. รอนานมาก และใช้เวลาอีก 1 ชั่วโมงเดินทางถึงนครกูวาฮาติ  สิริรวมเป็นเวลา 9 ชั่งโมงครึ่ง พอๆ กับเดินทางไปยุโรปเลยทีเดียว  ส่วนขากลับก็ใช้เวลารวม 7 ชั่วโมงครึ่งสั้นกว่า 2 ชั่วโมง แต่ก็ยังถือว่าไม่สะดวกอยู่ดี

            โชคดีอยู่ตรงที่คณะผู้จัดงานจัดให้พักโรงแรมอย่างดี คืนละประมาณ 5,000 บาท และมีรถมารับส่งอย่างดี แต่ถนนหนทางต่างๆ ก็ยังไม่สะดวก กำลังขยายถนนอยู่ ทำให้กว่าจะเข้าเมืองได้ก็ต้องเดินทางจากสนามบินไปอีก 1 ชั่วโมงเต็มๆ จึงกลายเป็นว่าโอกาสการท่องเที่ยวเมืองนี้สำหรับคนไทยแทบจะไม่มีก็ว่าได้ ถึงว่าตลอดเที่ยวบินไม่เจอคนไทยสักคนหนึ่งเลย แต่อาจมีพระสงฆ์ไปปฏิบัติธรรมบ้างก็ได้

            ในอินเดียอะไรต่างๆ ก็ต้องเข้าคิว ไม่ใช่ว่าเขามีระเบียบอะไรนัก แต่เพราะว่ามีผู้ให้บริการน้อย เช่น ตอนตรวจคนเข้าเมือง ก็ใช้เวลานับชั่วโมง ตอนตรวจคนจะออกจากเมือง (กลับกรุงเทพมหานคร) ก็ใช้เวลานานพอๆ กัน จะทานอาหารที่ทางผู้จัดงานจัดขึ้นก็เข้าคิวยาวเหมือนกัน เพราะไม่ยอมวางอาหารไว้หลายจุด มีแค่จุดเดียว ก็เลยมีคิวยาวเป็นพิเศษ ที่นี่ใช้แรงงานคนเปลืองมาก เช่น เครื่องบินจอดสนิท ห่างจากตัวท่าอากาศยานแค่ 200 เมตร ก็ต้องใช้รถมารับ ไม่ให้เดินไปเอง (ปรากฏการณ์แบบนี้ก็พบได้ที่กรุงกาฐมาณฑุ เนปาลเช่นกัน)

            สิ่งที่น่าสังเกตอีก 3 อย่างก็คือ

            1. อินเดียโดยเฉพาะในภูมิภาคนี้ซึ่งกำลังพัฒนาอาจถือว่าเป็น “เมืองในฝุ่น” เพราะการก่อสร้างต่างๆ มากมาย และที่สำคัญถนนก็มีฝุ่นมากมายเนื่องจากการก่อสร้างและบ้างก็เป็นถนนดิน ฝุ่นควันต่างๆ จึงมีอยู่มาก

            2. ข้อนี้คล้ายๆ ที่เวียดนามก็คือการจราจรติดขัดในเมือง และต้องบีบแตรลั่นกันใหญ่ แต่ต่างกันตรงที่ในเวียดนาม คนข้ามถนนจะได้รับเกียรติจากคนขับรถพอสมควร แต่ที่อินเดีย แทบจะชนคนเดินข้ามถนนก็ว่าได้ แทบไม่มีการหยุดให้เกียรตคนเดินเท้า

            3. การเดินริมถนนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก เพราะบางแห่งก็ไม่มีบาทวิถีเลย และรถวิ่งกันขวักไขว่ไปหมด ยิ่งถ้าเป็นคนต่างชาติ โอกาสเกิดอุบัติเหตุย่อมมีมากขึ้น (เพราะอาจขาดความระมัดระวัง)

            แล้วบ้านเมืองเป็นซะขนาดนี้ ทำไมผู้จัดงานจึงจัดที่นครกูวาฮาติแห่งนี้ เหตุผลก็คือเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐที่ยากจนแห่งนี้นั่นเอง

 

Vivanta โรงแรมชั้นหนึ่งในนคร Guwahati  https://bit.ly/3WzRAR9

 

ยามค่ำ ณ นคร Guwahati https://bit.ly/3GeQbIJ

 

งานแสดงสินค้าเกษตร รัฐอัสสัม อินเดีย 17-19 ธค 65  https://bit.ly/3X5gZlm

 

 

 


ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 433 คน กำลังออนไลน์