การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้

ชื่อเรื่อง           การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐาน

                   ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้

                   ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3

ผู้วิจัย             นางอุษาวดี  ซงตายา ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

                   โรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา)  สำนักการศึกษา  เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

                        จังหวัดนราธิวาส

ปีที่ศึกษา         2562

 

บทคัดย่อ

 

           การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3   สรุปสาระที่ได้จากการวิจัย  โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย  (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3   (3)  เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3   (4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3   โดยมีขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน  ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา  (Development : D1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย  (Research : R2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3  Implement: l) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3   (Evaluation: E) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t–test (Independent  Sample  t – test)

           ผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐาน    ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

           1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3  ประกอบ 3 ขั้นตอน  ดังนี้ 

1.1 ขั้นนำ หมายถึง การเตรียมเด็กให้พร้อมในการเรียนโดยใช้กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อ

เข้าสู่หน่วยการจัดประสบการณ์ ดังนี้ ทักทายเด็ก เตรียมความพร้อมเด็ก แนะนำหน่วยการจัดประสบการณ์นำเข้าสู่หน่วยการจัดประสบการณ์ด้วยคำคล้องจอง เพลง ปริศนาคำทาย สัมผัสกล่องปริศนา สถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับกิจกรรม

                    1.2 ขั้นกระบวนการเรียนรู้ หมายถึง การดำเนินการจัดกิจกรรมใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน เป็นการจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้ คิด ลงมือปฏิบัติ สำรวจ ทดลอง สืบค้น เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการใช้คำถาม สังเกต เปรียบเทียบ อธิบายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ เกิดการค้นพบ ร่วมกิจกรรมกลุ่ม นำเสนอผลงาน ประเมินการเรียนรู้ร่วมกับครูและเพื่อนซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

                             ขั้นที่ 1 ตั้งคำถาม หมายถึง  การที่ครูจัดกิจกรรมโดยกระตุ้นเร้าความสนใจให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็น ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อมโยงจากขั้นนำโดยครูใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กมุ่งความสนใจสู่เรื่องที่จะเรียน

                             ขั้นที่ 2 แสวงหาสารสนเทศ หมายถึง การที่ครูจัดกิจกรรมให้เด็กได้ค้นหาคำตอบจากข้อสงสัยด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม วางแผนการสำรวจตรวจสอบ เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ได้แก่ การสำรวจ สังเกต สืบค้น ทดลอง การสนทนา ซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น บันทึกข้อมูลการสำรวจตรวจสอบ

ขั้นที่ 3 สร้างความรู้ หมายถึง การที่ครูจัดกิจกรรมให้เด็กนำสิ่งที่ค้นพบจาก

การสำรวจ สังเกต สืบค้น มาสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยครูเชื่อมโยงสรุปความรู้เพื่อให้เข้าใจอย่างถูกต้องและบันทึกข้อมูลความรู้

ขั้นที่ 4 สื่อความหมาย หมายถึง การที่ครูจัดกิจกรรมให้เด็กนำเสนอบันทึก

ข้อมูล สรุปความรู้ด้วยการพูดอธิบาย มีกิจกรรม

                            ขั้นที่ 5  ขั้นประยุกต์และนำไปใช้  หมายถึง การที่ครูจัดกิจกรรมให้เด็กนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ โดยครูใช้คำถามให้เด็กหาคำตอบจากเหตุการณ์ใหม่ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์เดิม ซึ่งเด็กตอบได้ หลากหลายวิธี เช่น  การเล่าหรือสร้างผลงานใหม่ ครูสังเกตการให้เหตุผลของเด็ก ในการนำ ความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้รับมาใช้ในสถานการณ์ใหม่โดยการนำแนวคิดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาวิเคราะห์            การดำเนินชีวิตตามหลักพอเพียง

                    1.3 ขั้นสรุป หมายถึง การสรุปเรื่องที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งผ่านการตอบคำถาม การแสดงความคิดเห็น การแสดงผลงาน

           2. รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00- 4.80) และความคิดเห็นของครูปฐมวัยต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีผลประเมินโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  ( = 2.70, S.D.  =  0.47) 

           3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถใน การแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ทำให้เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้เพิ่มขึ้น

           4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย  ดังนี้

          4.1 เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หลังใช้รูปแบบ การจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01 ถือว่าผ่านเกณฑ์

          4.2 เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความสามารถในการแสวงหาความรู้หลังใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01 ถือว่าผ่านเกณฑ์

          4.3 เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากถือว่าผ่านเกณฑ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 498 คน กำลังออนไลน์