การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างทักษะจำเป็นพื้นฐาน 3Rs

ชื่อเรื่อง      :  การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการมีส่วนร่วม
                    เพื่อเสริมสร้างทักษะจำเป็นพื้นฐาน 3Rs ในการเรียนรู้โลกศตวรรษที่ 21
                    ของนักเรียนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง)

ผู้วิจัย         :  ธาริณี  จินดาธรรม

ปีการศึกษา :  2563 

บทคัดย่อ

   การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างทักษะจำเป็นพื้นฐาน 3Rs ในการเรียนรู้โลกศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) มีความมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหาร งานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างทักษะจำเป็นพื้นฐาน 3Rs ในการเรียนรู้โลกศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างทักษะจำเป็นพื้นฐาน 3Rs ในการเรียนรู้โลกศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างทักษะจำเป็นพื้นฐาน 3Rs ในการเรียนรู้โลกศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ตามลักษณะการเก็บข้อมูล ดังนี้ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นการบริหารงานวิชาการ (R1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือรักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นเชียงรายโซนเหนือ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2563 โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 8 คน ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก (D1) แบ่งการดำเนินการเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก ตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือรักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 8 คน และการเลือกกลุ่มตัวอย่างจากคณะครู จากโรงเรียน 12 โรงเรียน จากการใช้ตารางสำเร็จรูปของเคร็ชชี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) จำนวน 169 คน ช่วงที่ 2 การนำรูปแบบการบริหาร งานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก ที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้ (Try out) กับบุคลากรโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน และคณะครูผู้สอน จำนวน 37 คน รวม 38 คน เพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก (R2) ที่สร้างขึ้น โดยการดำเนินการทดลองรูปแบบการบริหารงานวิชาการ ที่มีชื่อว่า “Quality Control Stage USAE Model” ที่มีขั้นตอนการบริหาร 4 ขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลประเมินพฤติกรรมความสามารถทักษะจำเป็นพื้นฐาน 3Rs จำนวน 2 ฉบับ และประเมินความพึงพอใจ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ จากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน คณะครูผู้สอน จำนวน 11 คน รวม 12 คน และระยะที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก (D2) ที่สร้างขึ้น โดยดำเนินการนำผลการประเมินพฤติกรรมความสามารถทักษะจำเป็นพื้นฐาน 3Rs ในการเรียนรู้โลกศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน และผลประเมินความพึงพอใจของรูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กที่สร้างขึ้น มาสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อปรับปรุงรูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก ที่สร้างขึ้น เพื่อความเหมาะสม สรุป และเผยแพร่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในระยะที่ 3

    ผลการวิจัยพบว่า

    1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นการบริหารงานวิชาการ เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อเสริมสร้างทักษะจำเป็นพื้นฐาน 3Rs ในการเรียนรู้โลกศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) พบว่า สภาพปัญหา และความต้องการจำเป็น ของโรงเรียนซึ่งเป็นหน่วยสำคัญที่สุดในการปฏิบัติการ เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพ เป็นคนไทยที่สมบูรณ์ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ จึงเป็นหน่วยงานที่รัฐต้องเอาใจใส่และให้การสนับสนุน ส่งเสริม ทุ่มเททรัพยากรในการบริหารจัดการ เพื่อให้โรงเรียนมีความเข้มแข็งในการดำเนินภารกิจพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเจตนารมณ์แห่งชาติได้อย่างสมบูรณ์ โดยโรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ปวงชนชาวไทย ส่วนใหญ่แล้วก็จะกระจายอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ โดยจำนวนโรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำลังประสบปัญหาที่ท้าทายที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การมีโรงเรียนขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี เนื่องจากประชากรวัยเรียนมีจำนวนลดลงและความนิยมของผู้ปกครองที่ต้องการส่งบุตรหลานไปเรียนในเมืองและการอพยพของผู้ปกครอง จากการมีโรงเรียนขนาดเล็กดังกล่าว ทำให้เกิดปัญหาทางด้านการจัดการศึกษาไม่สามารถสะท้อนคุณภาพและประสิทธิภาพได้เพียงพอ ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ผลการเรียนที่อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ การจัดการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก และแนวทางการพัฒนาผู้เรียนที่สนองต่อความต้องการจำเป็นในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในโลกศตวรรษที่ 21 และแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว (ประเทศไทย 4.0) การบริหารการศึกษามีความสำคัญในโรงเรียน เพื่อให้งานการจัดการศึกษาบรรลุเป้าหมายทั้งในระดับประเทศ และในระดับของโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนจะมีบทบาทสำคัญในกระบวนการจัดการศึกษาในโรงเรียนที่มีความร่วมมือของผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในการวางเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาที่ชัดเจน การวางแผน การจัดโครงสร้าง และวางระบบงาน การใช้ทรัพยากร งบประมาณที่คุ้มค่า การสั่งการควบคุมและการประเมินผลงาน เพื่อปรับปรุงงาน โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการที่มีต่อคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ

2. ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างทักษะจำเป็นพื้นฐาน 3Rs ในการเรียนรู้โลกศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) ที่พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า “Quality Control Stage USAE Model” ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ และกระบวนการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างทักษะจำเป็นพื้นฐาน 3Rs ในการเรียนรู้โลกศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโดยกระบวนการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความเข้าใจร่วมกัน (Understanding Teamwork Stage : U) โดยใช้ปัญหาเป็นฐานของการพัฒนา (Problem-Based Development) และการมีส่วนร่วมในการพัฒนา (Participative Development) ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการพัฒนา (School-Based Planning Stage : S) โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานแห่งการพัฒนา (School-Based Development) ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติและการบูรณาการ (Action and Integration Stage : A) โดยใช้การปฏิบัติงานมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ทักษะจำเป็นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 (Results-Based Development) และการใช้สมองเป็นฐานแห่งการเรียนรู้ของผู้เรียน (Brain-Based Learning) และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการปฏิบัติงานและการรายงาน (Evaluation and Reporting Stage : E) โดยใช้วิจัยเป็นฐานของการพัฒนา (Research-Based Development Stage : R) ผลการตรวจสอบความสมเหตุสมผลและความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างทักษะจำเป็นพื้นฐาน 3Rs ในการเรียนรู้โลกศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) แบบ “Quality Control Stage USAE Model” มีความสมเหตุสมผลกับหลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการบริหาร งานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างทักษะจำเป็นพื้นฐาน 3Rs ในการเรียนรู้โลกศตวรรษที่ 21 ที่นำมาใช้ในการสังเคราะห์รูปแบบ มีความสอดคล้องกับสภาพและความต้องการและจำเป็นในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขนาดเล็ก และสภาพบริบทของโรงเรียนขนาดเล็กที่สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล องค์ประกอบของรูปแบบ และการดำเนินการตามกระบวนการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันผลการตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ของรูปแบบการบริหาร งานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างทักษะจำเป็นพื้นฐาน 3Rs ในการเรียนรู้โลกศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) แบบ “Quality Control Stage USAE Model”  มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน

   3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีชื่อว่า “Quality Control Stage USAE Model” พบว่า 1) จากการประเมินพฤติกรรมความสามารถด้านการอ่านได้ เขียนได้ และคิดเลขเป็น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) พบว่า ในภาพรวมนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีระดับคะแนนพฤติกรรมเฉลี่ยในระดับอ่านคล่อง เขียนคล่อง และคิดเลขได้ อย่างมีนัยสำคัญตามลำดับ 2) จากการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีชื่อว่า “Quality Control Stage USAE Model” มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

   4. ผลการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อปรับปรุงรูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีชื่อว่า “Quality Control Stage USAE Model” 4 ขั้นตอน ควรมีการปรับปรุงในแต่ละขั้นตอนเพียงเล็กน้อย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 421 คน กำลังออนไลน์