รายงานการประเมินโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)

ชื่อเรื่อง             :   รายงานการประเมินโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                            ของนักเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) 

                            กรณี โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง)

ผู้รายงาน           :  ธาริณี  จินดาธรรม

ปีการศึกษา         :  2563

บทคัดย่อ

     การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินคือ 1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กรณี โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) 2) เพื่อประเมิน ปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กรณี โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กรณี โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) และ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กรณี โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ เป็นบุคลากรในโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) ปีการศึกษา 2563 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 10 คน (ไม่รวมครูผู้รับผิดชอบโครงการ) ผู้ปกครองนักเรียน            ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 114 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 133 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 16 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 16 คน ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินบริบท (Context Evaluation : C) ฉบับที่ 2 แบบสอบถาม ความคิดเห็นการประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation : I) ฉบับที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation : P) ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมิน ผลผลิต (Product Evaluation : P) : ด้านผลลัพธ์ (Output Evaluation) และฉบับที่ 5 แบบสอบถามความคิดเห็นการประเมินผลผลิต (Product Evaluation : P) : การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

      ผลการประเมินโครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กรณี โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีดอนมูล (บ้านด้ายปาราษฎร์ดำรง) พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (เฉลี่ย=4.61,เบี่ยงเบน=0.38) และผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ3.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยด้านบริบท (Context Evaluation : C) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (เฉลี่ย=4.94,เบี่ยงเบน=0.19) รองลงมา คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation : I) (เฉลี่ย=4.70,เบี่ยงเบน=0.31) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) (เฉลี่ย=4.59,เบี่ยงเบน=0.53) และด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) (เฉลี่ย=4.22,เบี่ยงเบน=0.47) ตามลำดับ ซึ่งผลการประเมินแต่ละด้านมีรายละเอียด ดังนี้

1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation : C) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (เฉลี่ย=4.94,เบี่ยงเบน=0.19) และผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ3.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยด้านความต้องการของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (เฉลี่ย=5.00,เบี่ยงเบน=0.05) รองลงมา คือ ด้านความจำเป็นของโครงการ (เฉลี่ย=4.98,เบี่ยงเบน=0.12) ด้านความเหมาะสมของโครงการ (เฉลี่ย=4.96,เบี่ยงเบน=0.20) และความคาดหวังของโครงการ (เฉลี่ย=4.83,เบี่ยงเบน=0.40) ตามลำดับ

2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation : I) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (เฉลี่ย=4.70,เบี่ยงเบน=0.31) และผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 3.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (เฉลี่ย= 4.95,เบี่ยงเบน = 0.05) รองลงมา คือ ด้านนักเรียน (เฉลี่ย = 4.78,เบี่ยงเบน = 0.51) ด้านการบริหารจัดการ (เฉลี่ย = 4.72,เบี่ยงเบน = 0.38) ด้านวัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก (เฉลี่ย = 4.69, เบี่ยงเบน= 0.24) ด้านการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ( เฉลี่ย= 4.68,เบี่ยงเบน = 0.42) ด้านหลักสูตรการจัดกิจกรรม (เฉลี่ย = 4.63, เบี่ยงเบน= 0.34) ด้านผู้ปกครอง (เฉลี่ย = 4.57,เบี่ยงเบน = 0.44) และด้านงบประมาณ (เฉลี่ย = 4.44,เบี่ยงเบน = 0.28) ตามลำดับ

3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (เฉลี่ย = 4.59, เบี่ยงเบน= 0.53) และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อสอบถามข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอน พบว่า มีค่าเฉลี่ย (เฉลี่ย = 4.68,เบี่ยงเบน = 0.34) และสอบถามจากผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และผู้ปกครองนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีค่าเฉลี่ย (เฉลี่ย = 4.50, เบี่ยงเบน= 0.71)

4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation : P) พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (เฉลี่ย = 4.22,เบี่ยงเบน = 0.47) และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งด้านการประเมินผลลัพธ์ (Output Evaluation) (เฉลี่ย = 4.30, เบี่ยงเบน= 0.27) และด้านการประเมิน ผลกระทบ (Impact Evaluation) (เฉลี่ย = 4.15,เบี่ยงเบน = 0.67)

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 528 คน กำลังออนไลน์