user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('เกณฑ์จำเพาะในการจำแนกสัตว์', 'node/44494', '', '3.142.130.250', 0, '7c4895b598f0c9ab1de04d31c618e5e3', 120, 1716018550) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
                   โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3                               โรงเรียนเทศบาล ๖ (อนุบาลในฝัน)

ผู้วิจัย           นางศราภรณ์  หนูแก้ว

ปีการศึกษา    2562

บทคัดย่อ 

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กชายและหญิงชั้นอนุบาลปีที่ 3/4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๖ (อนุบาลในฝัน) สำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 32 คน คนซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์ข้อมูลการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Groups) การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๖ (อนุบาลในฝัน) จำนวน 1 ฉบับ 2) รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๖ (อนุบาลในฝัน)3) ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 4) แผนการจัดประสบการณ์ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า

          1. ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21
สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยให้มีรูปแบบที่เหมาะสม มีกิจกรรมหลากหลาย

            2. รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะ
หาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีขั้นตอนที่สร้างขึ้น มีชื่อว่า “P7A Model” (พีเซเว่นเอ โมเดล) 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 เกริ่นนำ (Warm-up Activity : P1A) ขั้นที่ 2
เข้าสู่สิ่งที่ควรเรียนรู้ (Objectives and Purposes Activity : P2A) ขั้นที่ 3 การสร้างสถานการณ์
เพื่อการสืบค้นหา (Encountering and Defining the Problem Activity : P3A) ขั้นที่ 4 การฝึกปฏิบัติโดยอิสระ (Independent Activity : P4A) ขั้นที่ 5 การหาข้อมูลและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (Data collection Activity : P5A) ขั้นที่ 6 การสื่อสาร (Explain Activity : P6A) และขั้นที่ 7 การตรวจสอบสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ (Checking for Learning Activity : P7A) มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.56/83.92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80

          3. ระดับพัฒนาการหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน โดยมีระดับพัฒนาการเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 7.43 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.26 (= 7.43, S.D. = 0.26) คิดเป็นร้อยละ 61.91 และระดับพัฒนาการเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 10.07 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.34 (= 10.07, S.D. = 0.34) คิดเป็นร้อยละ 83.92

            4. เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.67 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47
(= 2.67, S.D. = 0.47)

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 264 คน กำลังออนไลน์