การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การแก้โจทย์   

                   ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ผู้วิจัย          สุธัญยาภรณ์  ติ้งจันทร์

ปีการศึกษา    2563

บทคัดย่อ 

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎี การสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการสอน คณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 3.2) เพื่อศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 6 (ถนนโคกเคียน) ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส จำนวนทั้งสิ้น 45 คน ประกอบด้วย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 24 คน และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 21 คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล ๖ (ถนนโคกเคียน) ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองนราธิวาส จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารข้อมูล จำนวน 1 ฉบับ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ จำนวน 18 แผน แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ จำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ จำนวน 4 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ t-test (Dependent Sample)  ผลการวิจัยพบว่า

          1. ผลศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า ครูมีความต้องการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องในแต่ละด้านและประเด็นคำถาม แสดงความคิดเห็นร่วมกันจากการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) แล้วนำมาสรุป เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

          2. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยรูปแบบ การเรียนการสอน        ที่สร้างขึ้นนี้มีชื่อว่า TUASPCI Model (ทูแอสพีซิ โมเดล) ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ ทบทวนและนำเข้าสู่บทเรียน (Triggering Attention : T) ขั้นที่ 2 ขั้นทำความเข้าใจปัญหาการเรียนรู้ (Understanding the Problem : U) ขั้นที่ 3 ขั้นการวิเคราะห์โจทย์ (Data Analysis : A) ขั้นที่ 4 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing : S) ขั้นที่ 5 ขั้นฝึกทักษะเพิ่มเติม (Practical : P) ขั้นที่ 6 ขั้นสรุปความคิดรวบยอด (Concept : C) ขั้นที่ 7 ขั้นบูรณาการแนวคิดเชื่อมโยงสู่ชีวิตประจำวันและชื่นชมความสำเร็จ (Integration and Linking to Life : I) และมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.73/82.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80  

           3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า

               3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  

               3.2 ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน
โดยใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

            4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 506 คน กำลังออนไลน์