การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญา

ชื่อเรื่อง          การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญา    และอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้                          ภาษาไทย

ผู้วิจัย             ดรุณี  ศิริต๊ะ

ปีการศึกษา      2563

บทคัดย่อ 

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียน  การสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนเขียน    วิชาภาษาไทย โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทย โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทย โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  3.2) เพื่อศึกษาความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทย โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลอุโมงค์ ๑ ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลอุโมงค์ จำนวนทั้งสิ้น 36 คน ประกอบด้วย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 18 คน และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 18 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาลอุโมงค์ ๑ ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลอุโมงค์  จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) แบบวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 1 ฉบับ 2) แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาไทย เพื่อเสริมสร้างความสามารถ   ในการเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 5 เล่ม 3) แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทย โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 27 แผน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทย โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 30 ข้อ  5) แบบวัดความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  จำนวน 2 ข้อ (20 คะแนน)  6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทย โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าร้อยละ              ค่าประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยโดยใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า

              1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประกอบด้วยการศึกษา การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานจากการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) สร้างและทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทย โดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาได้ตามสภาพจริง

              2. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า “PPLPC MODEL” (ดับเบิ้ลพีแอลพีซี โมเดล) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม สร้างแรงจูงใจ เร้าความสนใจ (Provide Motivational Anticipatory Step : P) ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอบทเรียน (Presentation of Learning Task Step : P) ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกปฏิบัติ (Learning by Doing Step : L) ขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนอและอภิปรายผล (Presentation and Discussion Step : P) ขั้นที่ 5 ขั้นสรุปผลการเรียนรู้ (Conclusion step : C) และมีมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.10/84.07 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80      

              3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า   

                  3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                  3.2 ความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

              4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนเขียนวิชาภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการเขียน      เชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

 

 

 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 493 คน กำลังออนไลน์