การพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สิทธิ

ชื่อเรื่อง      การพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง                     สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของพลเมืองดี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้วิจัย         อุดร  สายสิงห์

ปีการศึกษา  2563

บทคัดย่อ 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของพลเมืองดี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของพลเมืองดี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของพลเมืองดี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของพลเมืองดี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านโกตาบารู ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) รูปแบบการสอนสังคมศึกษา ตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของพลเมืองดี จำนวน 5 ชุด 3) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน 4) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 ข้อ 5) แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า

1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) นโยบายการพัฒนาประเทศ เน้นการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา 2) นโยบายการพัฒนา การศึกษา เน้นให้คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิต ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 กำหนดเป้าหมายด้านผู้เรียน คือ มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น ทักษะด้านการคิด การแก้ปัญหา ความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม การสร้างสรรค์และนวัตกรรม การสื่อสาร ทักษะคอมพิวเตอร์ ทักษะอาชีพและการเรียนรู้ รวมทั้งความมีเมตตา กรุณา มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม ขณะที่เป้าหมายของการจัดการศึกษามุ่งเน้นการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพ มีความทั่วถึงและความเท่าเทียม ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษามี 6 ยุทธศาสตร์หลัก โดยยุทธศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการวิจัยครั้งนี้ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ เป้าหมายที่ 2 คนทุกช่วงวัย ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่พิเศษได้รับการศึกษาและเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ 3) การเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการดำรงชีวิต การอยู่ร่วมกันในสังคม การปรับตัวให้เข้ากับบริบทสภาพแวดล้อม การเข้าใจและปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นพลเมืองที่ดี มีความรับผิดชอบ มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ มีคุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม 4) แนวคิดการจัด การเรียนการสอนของครูสังคมศึกษา ครูมีบทบาทหน้าที่ คือ การช่วยเตรียมให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการปรับตัว ช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้สูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ จัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ฝึกให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้ เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และสอนวิธีเรียนมากกว่าสอนเนื้อหา โดยครูต้องมีการเสริมแรง ให้กำลังใจ และสร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วมในการเรียน 5) การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม (Constructivism Theory) ครูผู้สอนเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหาที่สามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน จากนั้นนักเรียนแก้ปัญหาจากสถานการณ์นั้น ๆ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อภิปราย หาข้อสรุป โดยนำความรู้เดิมมาเชื่อมโยงความรู้ใหม่ ซึ่งเป็นการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง 6) การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้ (Group Investigation: GI) เริ่มจากการจัดกลุ่มผู้เรียนแบบคละความสามารถ ย่อยเนื้อหาสาระวิชาสังคมศึกษาให้เป็นหัวข้อย่อย ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเลือกหัวข้อที่สนใจ จากนั้นให้ร่วมกันวางแผนแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบภายในกลุ่ม ร่วมกันกำหนดวิธีการดำเนินงาน วิธีการสืบค้นข้อมูล การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และสรุปข้อมูล และการนำเสนอผลงาน โดยเน้นให้ทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และ 7) การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แยกได้เป็น 2 ประเด็นใหญ่ ๆ คือ 7.1) ปัญหาที่เกิดจากผู้อื่นและสภาพแวดล้อม ได้แก่ ปัญหาด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม การใช้ภาษาถิ่นเป็นภาษาหลักเพื่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้นักเรียนอ่านภาษาไทยไม่ออก เขียนไม่ได้ ปัญหาด้านความยากจน ปัญหาครอบครัวแตกแยก ปัญหาด้านผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องไปทำงานต่างถิ่นหรือต่างประเทศ และ 7.2) ปัญหาที่เกิดจากตัวนักเรียนเอง ได้แก่ ปัญหานักเรียนขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และทักษะการทำงานเป็นทีม รวมทั้งไม่กล้าแสดงออก ซึ่งจากสภาพปัญหาที่กล่าวมาจึงส่งผลกระทบให้นักเรียนขาดเรียนบ่อยและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ สำหรับแนวทางแก้ไขควรได้รับการส่งเสริมและแก้ปัญหาร่วมกันจากทุกภาคส่วนทั้งจากโรงเรียน ชุมชนองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การส่งเสริมด้านอาชีพของผู้ปกครอง ส่งเสริมการพึ่งพาตนเองโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการสร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษา การส่งเสริมให้นักเรียนมีการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น เน้นให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่ม การใช้สื่อการเรียนการสอน การออกเยี่ยมบ้านนักเรียน เป็นต้น

2. รูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของพลเมืองดี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีชื่อว่า “3PLFE Model” (3พีแอลเอฟอี โมเดล) องค์ประกอบของรูปแบบมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ โดยขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตอนที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจเรียนรู้ (Provide Motivational Anticipatory : P) 2) ขั้นตอนที่ 2 ขั้นนำเสนอบทเรียนและทักษะ (Providing Knowledge and Skills : P) 3) ขั้นตอนที่ 3 ขั้นกิจกรรมร่วมมือกันเรียนรู้ (Learning Together Activity : L) 4) ขั้นตอนที่ 4 ขั้นนำเสนอและอภิปรายผล (Presentation and Discussion : P) 5) ขั้นตอนที่ 5 ขั้นบูรณาการความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (Functional Integration : F) และ 6) ขั้นตอนที่ 6 ขั้นประเมินผลและนำไปใช้ (Evaluation and Extension : E) และผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบ พบว่า รูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ แบบ “3PLFE Model” มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.30/83.46 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ แบบ “3PLFE Model” ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงขึ้นกว่าก่อนเรียน ร้อยละ 20.87

4. ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ แบบ “3PLFE Model” พบว่า

4.1 ผลการประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการใช้รูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ แบบ “3PLFE Model” พบว่า ในภาพรวม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แสดงพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แสดงพฤติกรรมการทำงานกลุ่มมากที่สุด คือ ด้านการสร้างความคุ้นเคย ไว้วางใจ ยอมรับซึ่งกันและกัน รองลงมา คือ ด้านการช่วยเหลือสนับสนุน ยกย่องให้กำลังใจซึ่งกันและ ด้านการสื่อสาร สื่อ และด้านการขจัดข้อขัดแย้ง ตามลำดับ

4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมร่วมกับการร่วมมือกันเรียนรู้ แบบ “3PLFE Model” พบว่า ในภาพรวม นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะนักเรียนชอบที่ได้ค้นหาความรู้และเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มกับเพื่อน และเนื้อหาที่เรียนเป็นเรื่องใกล้ตัว นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 519 คน กำลังออนไลน์