การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ชื่อเรื่อง :  การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการ

               เรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนราษีไศล

               จังหวัดศรีสะเกษ 

ผู้วิจัย    :  สถิต  ศรีหะจันทร์, โรงเรียนราษีไศล  อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ   ปีการศึกษา

    2561

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ 2) สร้างและหาประสิทธิภาพหลักสูตร  3) ทดลองใช้หลักสูตร และ 4) ประเมินผลการใช้หลักสูตรที่สร้างขึ้น  โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย  ดังนี้

ขั้นตอนที่  1  การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล  แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาคือนักกีฬาฟุตซอล จำนวน  2  คน  โค้ชหรือผู้ควบคุมทีมกีฬาฟุตซอล จำนวน 5 คน และครูผู้สอนพลศึกษาจำนวน  3  คน ดำเนินการในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและแนวทางพัฒนากีฬาฟุตซอล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบอุปนัย (Inductive Analysis)     

ขั้นตอนที่ 2  การสร้างและหาประสิทธิภาพหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาฟุตซอล จำนวน  5 คน สำหรับศึกษารูปแบบการพัฒนาทักษะกีฬาฟุตซอลและคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อนำมาจัดทำเป็นสาระการเรียนรู้ในหลักสูตร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาฟุตซอล (In-depth Interview Form) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบอุปนัย (Inductive Analysis)                   2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษา จำนวน  5  คน พิจารณาความเหมาะสมและความสอดคล้องของโครงร่างหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของโครงร่างหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ  ค่าเฉลี่ย  ()  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)

ขั้นตอนที่  3  การทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2  ที่เลือกเรียนรายวิชาฟุตซอล ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2561 จำนวน  30  คน   เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1)  แบบประเมินทักษะด้านกีฬาฟุตซอลก่อนและหลังเรียน 2)  แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบค่าที (t-test)  แบบไม่เป็นอิสระและค่าเฉลี่ยร้อยละ (%)

ขั้นตอนที่  4  การประเมินผลการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) นักเรียน จำนวน 30 คน และ 2) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนและแบบสอบถามความเหมาะสมของหลักสูตรต่อการนำไปใช้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย  ()  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  () 

ผลการวิจัย พบว่า

1.  สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้กีฬาฟุตซอลที่พบคือครูยังใช้รูปแบบการสอนหรือฝึกซ้อมแบบเดิม ขาดการนำเทคนิคใหม่ๆมาใช้ นักเรียนขาดทักษะการเล่นกีฬาฟุตซอลที่ถูกต้อง    นักเรียนขาดวินัย ความรับผิดชอบในการฝึก  การพัฒนากีฬาฟุตซอลนักเรียนควรได้รับการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายที่ การส่ง การหยุดลูก การเลี้ยงและครอบครองบอล การป้องกันขัดขวางคู่ต่อสู้ การยิงหรือทำประตู  การป้องกันประตูและทักษะการเล่นระบบทีมสำหรับแข่งขัน  คุณลักษณะพึงประสงค์ในการเล่นกีฬาฟุตซอลคือ ความมีระเบียบวินัย  ใฝ่รู้ มุ่งมั่นตั้งใจในการฝึกซ้อม  เคารพกฎ กติกา  มีน้ำใจเป็นนักกีฬาและมีความซื่อสัตย์ต่ออาชีพนักกีฬา ครูผู้สอนควรพัฒนาเทคนิคการสอนและนวัตกรรมเรียนรู้มาใช้ในการพัฒนากีฬาฟุตซอล

2.  หลักสูตรที่สร้างขึ้นมีองค์ประกอบ คือ  วิสัยทัศน์ของหลักสูตร  หลักการของหลักสูตร จุดหมายของหลักสูตร  เกณฑ์การใช้หลักสูตร คำอธิบายรายวิชา  การจัดหน่วยการเรียนรู้    โครงสร้างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้   แนวการวัดผลประเมินผล และ แผนการจัดการเรียนรู้  ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและองค์ประกอบต่าง ๆ มีความสอดคล้องกันทุกข้อ

3.  ผลการทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนราษีไศล   จังหวัดศรีสะเกษ  พบว่า

3.1 นักเรียนมีคะแนนทักษะกีฬาฟุตซอลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3.2  นักเรียนมีคะแนนทักษะกีฬาฟุตซอลผ่านเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดคือมีคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75  จำนวน  30  คน จากนักเรียนทั้งหมด  30  คน  คิดเป็นร้อยละ  100 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80  ที่ตั้งไว้

3.3  นักเรียนมีคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ คิดเป็นร้อยละ 84.35  ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

 

4.  การประเมินผลการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนราษีไศล   จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า

4.1  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนจากหลักสูตรที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

4.2  ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 539 คน กำลังออนไลน์