การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model เรื่อง หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึ

สำคัญ   ชุดกิจกรรมการเรียนรู้

วีระชัย  ชาปู่ : การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model  เรื่อง หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. 315 หน้า

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model เรื่อง หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3    2. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model เรื่อง หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3. เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model  เรื่อง หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  4. เพื่อประเมินและปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model  เรื่อง หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในประเด็นต่อไปนี้ 4.1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์  วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้    4.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model  เรื่อง หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

            ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมหาธาตุวรวิหาร) สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561  2 ห้องเรียน รวม 73 คน 

            กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมหาธาตุวรวิหาร) สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 1 ห้องเรียน  จำนวน 35 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีจับสลาก โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model เรื่อง หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 6 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน

ผลการวิจัยพบว่า   

1. ผลการศึกษาความต้องการและข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model เรื่อง หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมหาธาตุวรวิหาร)  ผู้วิจัยสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model  เรื่อง หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ มีดังนี้ 1) ชื่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้  2) คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) คำชี้แจงการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  4) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ CIPPA Model  5) สื่อประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 6) เครื่องมือวัดประเมินผล 7) แบบทดสอบท้ายชุดกิจกรรมการเรียนรู้  8) แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่าผู้วิจัยได้พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ขึ้นมา 6 ชุด ประกอบด้วย 1. ความหมายและความสำคัญของโครงงานคอมพิวเตอร์ 2. ประเภทของโครงงานคอมพิวเตอร์ 3. ขั้นตอนการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ 4. การจัดทำข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ 5. การเขียนรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ 6. การนำเสนอและการประเมินผลโครงงานคอมพิวเตอร์ จากนั้น ผู้วิจัยหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้พบว่าขั้นทดลองแบบรายบุคคล (One–to–one Try out) มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 68.07/68.33 ขั้นทดลองแบบกลุ่มเล็ก (Small group Try out) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 73.45/73.89 และขั้นทดลองแบบภาคสนาม (Field Try out  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ  80.91/81.00  ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80                

               3. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีประสิทธิภาพ 82.94/83.14 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 และเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1

               4. ผลการประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขชุดกิจกรรมการเรียนรู้  ผู้วิจัยได้นำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 4.1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีผลคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2 4.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจ พบว่านักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง  มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเฉลี่ย () เท่ากับ 4.48 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.02 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก

           

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 506 คน กำลังออนไลน์