รายงานการพัฒนากิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อเสริมประสบการณ์ด้านการทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่

ชื่อเรื่อง        รายงานการพัฒนากิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อเสริมประสบการณ์

                    ด้านการทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่ สำหรับเด็กปฐมวัย

                  ชั้นอนุบาลปีที่ 2

ผู้รายงาน     วิภา  ทองแก้ว

ปีที่ศึกษา     2562

บทคัดย่อ 

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อเสริมประสบการณ์ด้านการทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการด้านการทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และ 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลการจัดประสบการณ์โดยใช้ของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อเสริมประสบการณ์ด้านการทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2562 ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลทุ่งต่อ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อ จำนวน 2 ห้องเรียน ได้แก่ ชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 จำนวน 15 คน และชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 จำนวน 14 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 29 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลทุ่งต่อ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อ จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ จำนวน 7 ชุด แผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 35 แผน และแบบประเมินพัฒนาการด้านการทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่ จำนวน 4 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการศึกษา พบว่า

1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อเสริมประสบการณ์ด้านการทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.98/83.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

2. พัฒนาการด้านการทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 3. ค่าดัชนีประสิทธิผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อเสริมประสบการณ์ด้านการทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.6009 แสดงว่า จากการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความก้าวหน้าด้านการทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่ เพิ่มขึ้น 0.6009 หรือคิดเป็นร้อยละ 60.09

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 552 คน กำลังออนไลน์