การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น

ชื่อเรื่อง         การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้วิจัย           นายเจษฎา สินมาก

ปีที่ศึกษา       2561

 

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

2) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2.2) ศึกษาทักษะการจัดการความรู้หลังเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนทีมีต่อรูรูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เพื่อถอดบทเรียนการจัดการความรู้ หลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน  คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) การวิเคราะห์ข้อมูล พื้นฐาน

(Analysis: A) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) การออกแบบและการพัฒนา (Design and Development: D&D) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research: R2) การนำไปใช้ (Implementation: I) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D) การประเมินผล (Evaluation: E)

 

ผลการวิจัยพบว่า

           1. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยยึดหลักการเรียนรู้ ทีเน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติทั้งในระดับบุคคลและระดับกลุ่มมุ่งเน้นให้นักเรียนสร้างความรู้ จากการปฏิบัติร่วมกันและมีการจัดเก็บความรู้ ที่มีอยู่ในตัวตนของนักเรียนเปลี่ยนเป็นความรู้ ที่ชัดแจ้งด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้ ส่วนรูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรียกว่า PHUKET Model มีองค์ประกอบสำคัญ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการความรู้ 4) การวัดและประเมินผล และ 5) ปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการความรู้

             2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามแนวคิดการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .01 ส่วนทักษะการจัดการความรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการความรู้กับ ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. ผลการถอดบทเรียน จากการบันทึกความรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการสัมภาษณ์นักเรียน และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนจะให้ประสบผลสําเร็จนั้นต้องเริ่มต้นที่ตัวครู ก่อนโดยครูผู้สอน

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 382 คน กำลังออนไลน์