การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนที่ความคิด เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด สำหรับนั

ชื่อเรื่อง           การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนที่ความคิด เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ผู้วิจัย             นางเกศสรินทร์   เทพบุรี

ปีการศึกษา      2561

 

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอน และความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนที่ความคิด เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนที่ความคิดเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนที่ความคิดเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - Depth Interview) เกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครหาดใหญ่ จำนวน 12 คน  ซึ่งได้มาจากการเลือกตัวแทนครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   และ กลุ่มที่ 2  คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดคลองเรียน)  สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครหาดใหญ่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม  (Cluster Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 2) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนที่ความคิด เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนที่ความคิด เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด เรื่อง ดวงจันทร์ของโลกและระบบสุริยะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนที่ความคิด เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติค่าที แบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา

           

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอน และความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ พบว่า ผู้เรียนขาดการคิดวิเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอดไม่ได้และครูผู้สอนต้องการให้มีการจัดการเรียนการสอนโดยยึดหลักการแนวคิดทฤษฎีมาพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน ที่สามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดรวบยอดของนักเรียนได้ 

2. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ชื่อว่า  “ERDSA  Modal” โดยมีองค์ประกอบดังนี้  หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนการสอน  การวัดผลและการประเมินผล  ระบบสังคม และเงื่อนไขในการนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนไปใช้  รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการจัดการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน  1) ขั้นสร้างความสนใจ  (Engagement : E)  2) ขั้นศึกษาค้นคว้าและระดมพลังสมอง (Research  and  Brainstorming : R) 3) ขั้นร่วมอภิปรายผล (Discuse  the  results : D)  4) ขั้นสรุปความคิดรวบยอด (Summary of concepts : S)  และ 5) ขั้นประเมินผล (Assessing : A)  ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 81.71/82.90 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แผนที่ความคิด เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการสรุปความคิดรวบยอด มีค่าเฉลี่ยที่ 4.96 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 328 คน กำลังออนไลน์