ดีแล้วที่ทุบทิ้งสถานทูตอังกฤษ

รูปภาพของ pornchokchai

          มีคน “ดรามา” ออกมาเต้นเร่าๆ เรื่องการทุบทิ้งสถานทูตอังกฤษ บอกควรอนุรักษ์ไว้ ไม่สมควรเอาไปทำศูนย์การค้า  ถ้าอยากอนุรักษ์ ทำไม่ไม่ซื้อไปเก็บไว้เองล่ะ

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ให้ความเห็นถึงกรณี “ดรามา” ที่มีคนทำเป็นอยากอนุรักษ์อาคารสถานทูตอังกฤษเอาไว้ว่า เป็นการคิดที่ไร้ราก ฝืนความเป็นจริง ไร้แก่นสาร เอาแต่ได้ เห็นแก่ตัว หวังเพื่อสนอง “ตัณหา” ของตนเอง เป็นสำคัญ

            สถานทูตอังกฤษก็คงรู้ว่า ถ้าขายที่ดินให้เอกชน แล้วให้เอกชนทุบตึกเอง ก็คงไม่ได้ เพราะพวก “นักอนุรักษ์” คงจะฮือกันมาขอให้ขึ้นทะเบียนเป็น “โบราณสถาน” ห้ามทุบทิ้ง  แต่โชคดีที่กฎหมาย “สับปะรังเค” นี้ ไม่อาจครอบคลุมไปถึงทรัพย์ของชาวต่างชาติ  ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดก่อนการขายหรือการโอนกรรมสิทธิ์ก็คือการให้สถานทูตทุบให้เรียบร้อยก่อนนั่นเอง

            การเอาที่ดินผืนนี้ไปสร้างศูนย์การค้า บางท่านบอกว่าเป็นเชิงพาณิชย์ แล้วไง บาปหรือ การพัฒนาเป็นศูนย์ธุรกิจค้าปลีกแบบนี้ เป็นไปตามกระแส  แม้แถวนี้จะมีศูนย์การค้ามากมายอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องไปกลัวล้นตลาดแทนเขา ในความเป็นจริง การสร้างเพิ่มก็จะทำให้เกิดเป็นศูนย์รวม คล้ายย่านถนนออร์ชาร์ดของสิงคโปร์ที่ศูนย์การค้าเรียงรายอยู่มากมาย  ถ้าเรามีระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ดีกว่านี้ เราก็จะได้ภาษีเข้ามาบำรุงท้องที่ได้อีกมหาศาลในแต่ละปี

            การที่กฎหมายคร่ำครึของไทย (พรบ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504) ไปเที่ยวประกาศขึ้นทะเบียนอาคารโน่นนี่ ถือเป็นการละเมิดสิทธิของคนอื่น  แทนที่เจ้าของที่ดินจะขายทรัพย์เพื่อนำไปใช้หนี้ หรือพัฒนาในทางอื่น กลับต้องถูกจำกัดสิทธิ  นี่เท่ากับเป็นการทำให้ “คนตายขายคนเป็น” สร้างภาระแก่คนรุ่นหลังโดยแท้

            ทางออกสำหรับการอนุรักษ์ก็ยังมี เช่น

            1. กรมศิลปากรหรือพวกที่อยากอนุรักษ์ (ใจจะขาด) ก็รวบรวมเงินไปซื้อ “โบราณสถาน” พร้อมที่ดิน เอามา (จุดธูป) บูชาเสียเลย จะได้ไม่สร้างปัญหาแก่คนอื่น

            2. กรมศิลปากรควรขออนุญาตเจ้าของอาคารรื้อย้ายตึกไปสร้างยังที่ใหม่  แต่กรณีสถานทูตอังกฤษ เหล่านักอนุรักษ์ กลับปล่อยให้มีการทุบตึกซะเฉยๆ  แทนที่จะขอไปสร้างในที่ใหม่ที่อย่างน้อยก็สามารถเก็บรักษาอาคารไว้ได้ ถ้าอยากได้จริงๆ

            3. ในหลายประเทศ หลายมหานคร เช่น โตเกียว โตรอนโต ฯลฯ เขาก็เก็บรักษาอาคารเดิมไว้บนที่เดิมก็มี แต่อนุญาตให้สร้างอาคารสมัยใหม่คร่อมลงไปเลย จะได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน  แต่กฎหมายคร่ำครึของไทย  จะให้อนุรักษ์ไว้อย่างเดียว

            ที่น่าอนาถสำหรับการอนุรักษ์แบบไทยๆ ก็คือ พอได้อาคารโบราณสถานมาแล้ว ก็ทิ้งๆ  ขว้างๆ ดูแลได้ไม่ดีเท่าที่ควร สุดท้าย ก็ปรักหักพัง หรือถูกรื้อค้นทำลาย  อย่างวัดที่มีสมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน ถ้าไม่ย้ายไปเก็บในพิพิธภัณฑ์ กรมศิลปากรก็ควรจัดเวรยามเฝ้า ไม่ใช่ปล่อยให้มีขโมยข้าวของไป  แต่กรมฯ ก็อาจอ้างว่าไม่มีงบประมาณ  มีแต่เสียงโวยวายแบบไฟไหม้ฟาง!

ที่มา : https://bit.ly/2KQy0MW

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 714 คน กำลังออนไลน์