ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวการสอนแบบ KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง   ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวการสอนแบบ KWL
             Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้วิจัย     นางญาสุมินท์  สิริทัตนนท์

ปีที่วิจัย    2560

หน่วยงาน  โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ ตำบลคลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

                การวิจัยเรื่อง ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวการสอนแบบ KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวการสอนแบบ KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 /80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวการสอนแบบ KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวการสอนแบบ KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวการสอนแบบ KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) แบบ Dependent Samples

                ผลการวิจัยพบว่า

                   1. แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวการสอนแบบ KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.29/82.10 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้คือ 80/80

                   2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวการสอนแบบ KWL-Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                   3. ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวการสอนแบบ KWL-Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.61, S.D. = 0.63)

Title:       The Report of Using the Reading Comprehension Exercises with KWL-Plus
              Technique for Prathomsuksa 5 Students

Author:     Yasumin  Sirithattanon

Year Published:   2017

Abstract

               The purposes of this study were 1) to develop the reading comprehension exercises with KWL-Plus technique for Prathomsuksa 5 students to meet the effective criteria of 80/80 2) to compare students’ reading comprehension proficiency before and after studying through reading comprehension exercises with KWL-Plus technique for Prathomsuksa 5 students and 3) to study students’ satisfaction toward the studying by reading comprehension exercises with KWL-Plus technique for Prathomsuksa 5 students. The sample selected by cluster random sampling was 50 students from Prathomsuksa 5/2 of Watmaheyong Municipality School belonging to the City Municipality of Nakhonsithammarat in the second semester of academic year 2017. The instruments used for gathering the data were 1) the 8 reading comprehension exercises 2) the lesson plans 3) a reading comprehension proficiency test used as pretest and posttest and 4) the questionnaire on satisfaction toward the studying by the reading comprehension exercises with KWL-Plus technique for Prathomsuksa 5 students. The data analyzing used statistic values as mean, percentage, standard deviation and t-test (Dependent Samples).

               The results of the study were:

               1. The reading comprehension exercises with KWL-Plus technique for Prathomsuksa 5 students met the effective criteria of 82.29/82.10.

               2. The students’ reading comprehension proficiency after studying by the reading comprehension exercises with KWL-Plus technique for Prathomsuksa 5 students was significantly higher than before using the reading comprehension exercises with KWL-Plus technique for Prathomsuksa 5 students at the .05 level.

               3. The satisfaction of students towards the studying by the reading comprehension exercises with KWL-Plus technique for Prathomsuksa 5 students as a whole was at the highest level (= 4.61, S.D. = 0.63).

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 330 คน กำลังออนไลน์