• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:7e772fbcbfeeb1626f8fdf39073c5978' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p><strong>ปิดสนามบินสุวรรณภูมิ \" ฮาราคีรี \" เศรษฐกิจไทยพินาศ [1 ธ.ค. 51 - 14:51]</strong><br /> &nbsp;<br /> <strong><img src=\"http://www.thairath.co.th/2551/economic02/Dec/library/01/s_eco1.jpg\" alt=\"\" width=\"150\" height=\"250\" align=\"right\" border=\"0\" />แล้วเหตุการณ์ที่ประชาชนคนไทยไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น ในประวัติศาสตร์ของการก่อตั้งประเทศก็บังเกิดขึ้นจนได้ เมื่อกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ได้ลุกฮือเข้าปิดและยึดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง ท่าอากาศยานนานาชาติที่ถือเป็นประตูเข้าออก และเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค</strong></p>\n<p>ท่ามกลางความตกตะลึงของผู้เกี่ยวข้องทั้งนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการสายการบิน ผู้ปฏิบัติการบิน ต่างชาติรวมทั้งประชาชนคนไทยทั้งประเทศที่ไม่เคยคาดคิดว่าสนามบิน นานาชาติที่ได้ชื่อว่าใหญ่และทันสมัยที่สุดในภูมิภาคจะถูกยึดครองไปอย่างง่ายดาย</p>\n<p>ทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบิน การขนส่งสินค้าทางอากาศและการท่องเที่ยวกลาย เป็นอัมพาต เที่ยวบินนับร้อยเที่ยวบินไม่สามารถทำการบินขึ้น-ลงได้ นักท่องเที่ยว นักลงทุนทั้งที่ติดอยู่ในสนามบินและที่กำลังจะเดินทางเข้า-ออกประเทศไทยถูกบล็อกไปหมด</p>\n<p>เพียงแค่สัปดาห์เดียวที่ท่าอากาศยานทั้งสองแห่งถูกปิดตายนับตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 25 พฤศจิกายน ก็ฉุดรั้งให้เศรษฐกิจของประเทศพินาศยับจนไม่อาจจะประเมินความเสียหายที่แท้จริงได้ เฉพาะความเสียหายเบื้องหน้าที่เกิดขึ้นและความเสียหายในอนาคตอันใกล้เท่าที่ ทุกฝ่ายประเมินได้นั้นก็ตกวันละนับแสนล้านบาทแล้ว</p>\n<p><strong>“ทีมเศรษฐกิจ” ขอเปิดพื้นที่นี้ถ่ายทอดความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ประเทศได้รับ เพื่อกระตุ้นให้ทุกฝ่ายเร่งยุติการเอาประเทศชาติเป็นตัวประกัน ก่อนที่เศรษฐกิจไทย จะไม่หลงเหลือซากใดๆ ให้เยียวยากันได้อีก!</strong></p>\n<p><span style=\"color: #ff0000;\"><strong>เที่ยวบิน-ผู้โดยสารถูกปิดตาย</strong></span></p>\n<p><img src=\"http://www.thairath.co.th/2551/economic02/Dec/library/01/s_eco2.jpg\" alt=\"\" width=\"220\" height=\"168\" align=\"left\" border=\"0\" />ตามข้อมูลของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. นั้น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้นมีปริมาณเที่ยวบินขึ้น-ลงวันละกว่า 770 เที่ยวบินต่อวัน แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 620 เที่ยวบิน ที่เหลือเป็นเที่ยวบินภายในประเทศและมีปริมาณผู้โดยสาร นักท่องเที่ยว ที่ผ่านเข้า-ออกท่าอากาศยานแห่งนี้วันละกว่า 120,000 คน และอาจมากถึง 150,000 คนในช่วงเทศกาล ในจำนวนนี้กว่า 100,000-120,000 คนนั้นเป็นผู้โดยสารต่างประเทศ</p>\n<p>แน่นอนความเสียหายที่เกิดขึ้นในทันทีที่สนามบินสุวรรณภูมิถูกปิดลง เที่ยวบินขึ้นลงทั้งมวลต้องหยุดการให้บริการจนกลายเป็นอัมพาตไปทั้งประเทศนั้น ไม่ใช่เพียงแต่ผู้โดย สารเข้า-ออกวันละกว่า 120,000 คนจะได้รับ ความเดือดร้อนอย่างหนักที่ไม่สามารถไปสู่จุดหมาย ไม่สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวหรือเดินทางกลับไปทำงาน ติดต่อธุรกิจได้เท่านั้น</p>\n<p>ผู้ประกอบการบินและสายการบินต่างๆที่ให้บริการอยู่ในสนามบินสุวรรณภูมิ และดอนเมืองต่างได้รับความเสียหายกันถ้วนหน้า เฉพาะการบินไทยนั้นต้องสูญเสียรายได้จากการประกอบการหลักถึงวันละกว่า 500-600 ล้านบาท จากการทำการบินขึ้นลงที่มากกว่าวันละ 140 เที่ยวบิน และให้บริการผู้โดยสารกว่าวันละ 30,000 คน ยังไม่รวมไปถึงรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอย่างครัวการบินที่ต้องสูญไปวันละกว่า 10 ล้านบาท</p>\n<p>นอกจากนี้ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในสนามบินไม่ว่าจะร้านค้าปลอดภาษี ร้านอาหาร เครื่องดื่ม นวดสปา ร้านขายของที่ระลึกตลอดจนกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการบิน การให้บริการภาคพื้นทั้งมวลต้องพลอยได้รับผลกระทบอย่างหนัก</p>\n<p>เฉพาะค่าธรรมเนียมให้บริการขึ้นลง ค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน ลานจอดอากาศยาน และการให้บริการขนถ่ายในลานจอดนั้นที่หดหายไปก็ตกวันละกว่า 100 ล้านบาทแล้วสำหรับ 2 สนามบินที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่รวมความเสียหายของร้านค้า ปลอดภาษีที่ปกติจะมีรายได้จากการขายสินค้าในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิวันละไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท ขณะที่ร้านรวงต่างๆในสนามบินที่พลอยได้รับผลกระทบต้อง หยุดประกอบกิจการไปนับสัปดาห์นั้นก็มีความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน</p>\n<p><span style=\"color: #ff0000;\"><strong>ท่องเที่ยว 6 แสนล้านพินาศยับ</strong></span></p>\n<p><img src=\"http://www.thairath.co.th/2551/economic02/Dec/library/01/s_eco3.jpg\" alt=\"\" width=\"220\" height=\"168\" align=\"right\" border=\"0\" />ในส่วนผลกระทบด้านท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องนั้น ผลของการปิดตาย สนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองที่ทำให้เที่ยวบินเข้า-ออกประเทศไทยกว่า 700 เที่ยวบินกลายเป็นอัมพาต นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้า-ออกและเปลี่ยนผ่านเครื่องที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิซึ่งถือเป็นศูนย์กลาง การเปลี่ยนผ่านเครื่องในภูมิภาคนี้ต้องตกอยู่ในสภาพอกสั่นขวัญแขวนจาก การเผชิญหน้ากับพันธมิตรฯที่บุกเข้ายึดสนามบิน</p>\n<p>สภาพความโกลาหลภายในอาคารผู้โดยสารและสนามบินที่ถูกปิดตาย กับความเดือดร้อนของนักท่องเที่ยวที่อยากเดินทางกลับบ้านที่ถูกตีแผ่ข่าวสารประโคมข่าวออกไปทั่วโลกนั้น</p>\n<p><strong>วันนี้ได้ทำให้เมืองไทยกลายเป็นดินแดนมิคสัญญีไปแล้ว!</strong></p>\n<p>สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานผลกระทบจากการปิดสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองว่าเพียงแค่ 2 วันที่กิจกรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องในสนามบินต้องกลายเป็นอัมพาตได้ส่งผล ต่อผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) มากถึง 0.5-0.7% ทำให้ สศช.ต้องปรับลดประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจในปี 2551 ลงเหลือเพียง 4% เท่านั้น ทั้งที่เพิ่งปรับลดตัวเลขดังกล่าวลดลงก่อนหน้านี้ไม่ถึงสัปดาห์</p>\n<p>ทั้งนี้ สศช.ยังประเมินด้วยว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวจากการปิดสองสนามบินวันนี้ หาได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะช่วงของการปิดสนามบินในห้วงสัปดาห์นี้เท่านั้น แต่จะส่งผลกระทบต่อเนื่องทอดยาวไปอย่างน้อย 3-6 เดือนข้างหน้า</p>\n<p>ทำให้คาดว่าปริมาณนักท่องเที่ยวในปี 2552 จะหดหายไปอย่างน้อย 5-6 ล้านคน และเฉพาะฤดูกาลท่องเที่ยวหรือ “ไฮซีซั่น” ของไทยที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้น พ.ย.-มี.ค.ของปีนั้น ซึ่งปกติประเทศไทยจะมีรายได้จากนักท่องเที่ยวในช่วงนี้มีสัดส่วนสูงถึง ครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งปีที่มีมากกว่า 570,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 300,000 ล้านบาท</p>\n<p>ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เพียงจะทำให้ปริมาณนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยววูบหายไป ยังจะส่งผลถึงการเลิกจ้างงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวเนื่องทั้งบริษัททัวร์ไปจนถึงร้านอาหาร ภัตตาคาร และโรงแรมที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบถ้วนหน้า ทำให้แรงงานในภาคนี้ต้องตกงานอีกไม่ต่ำกว่า 1-1.2 ล้านคน ไม่รวมแรงงานที่ต้องตกงานจากวิกฤติเศรษฐกิจเดิมที่คาดว่าจะมีอีกไม่น้อยกว่า 900,000 คน</p>\n<p><strong>ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจจะรุนแรงกว่านี้อีกหลายเท่าหากสถานการณ์ยังคง ยืดเยื้อออกไปอันจะยิ่งทำให้การขยายตัวเศรษฐกิจในปี 2552 ไม่ถึง 3% อย่างแน่นอน</strong></p>\n<p><strong><span style=\"color: #ff0000;\">คาร์โก้ 6 แสนล้านยืนบนชะง่อนผา</span></strong></p>\n<p><img src=\"http://www.thairath.co.th/2551/economic02/Dec/library/01/s_eco4.jpg\" alt=\"\" width=\"220\" height=\"168\" align=\"left\" border=\"0\" />ผลกระทบของการปิดสนามบินสุวรรณภูมิยังได้ลุกลามไปถึงสินค้าส่งออกและ นำเข้าที่ต้องใช้บริการขนส่งทางอากาศหรือคาร์โก้ที่ปัจจุบันมีมูลค่ารวมกว่า 600,000 ล้านบาทหรือ ประมาณ 10% ของยอดส่งออกรวมทั้งปีที่ 170,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ</p>\n<p>โดยปัจจุบันมียอดนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศวันประมาณ 900-1,000 ตัน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวได้ใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าไปยังประเทศที่ 3 จำนวน 600-700 ตัน และมีสินค้าส่งออกวันละ 1,500 ตัน โดยเฉพาะสินค้าประเภทผัก ผลไม้ ที่มีจำนวนวันละ 500-600 ตัน</p>\n<p>เพียงสัปดาห์เดียวของการปิดสนามบินสุวรรณภูมิมีการประเมินกันว่าได้ทำให้ สินค้าเกษตรที่ต้องส่งออกไปยังต่างประเทศเสียหายไปแล้วกว่าวันละ 30,000 ล้านบาท หรือไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาท แล้วในปัจจุบัน ยังไม่นับรวมถึงความเดือดร้อนของผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกจากการที่ต้องหาทางแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการจัดส่งสินค้าไปยังคู่ค้าต่างประเทศในทุกวิถีทาง ทั้งการลำเลียงสินค้าด้วยรถบรรทุกไปโหลดขึ้นเครื่องที่สนามบินปีนัง กัวลาลัมเปอร์ ของมาเลเซีย รวมไปถึงสนามบินชางฮีของสิงคโปร์ ส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นอีก 50% ขณะที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และบริษัทลูกค้าหลายรายที่นำเข้าชิ้นส่วนจากไทยต้องชะลอการผลิต บางรายถูกผู้สั่งซื้อปรับเป็นเงินถึง 100,000 เหรียญสหรัฐฯต่อชั่วโมง</p>\n<p>ทั้งนี้ หากสถานการณ์ยังคงยืดเยื้ออยู่ต่อไปความเสียหายที่มีต่อคำสั่งซื้อ ในอนาคตอาจส่งผลกระทบไปถึงการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ซึ่งนั่นจะยิ่งส่งผลกระทบต่อภาคแรงงานที่อาจต้องตกงานสูงถึง 200,000 คน เนื่องจากไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบมาผลิตได้และบริษัทที่นำเข้าสินค้าจากไทยอาจ เปลี่ยนไปว่าจ้างและสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในประเทศอื่นๆแทน ทำให้ผู้ประกอบการไทย สูญเสียโอกาสทางธุรกิจไปอีก 2-3 ปีจากนี้ แม้สถานการณ์จะยุติลงก็ตาม</p>\n<p><strong>หวั่นคู่ค้าเบนเข็มหาตลาดใหม่</strong></p>\n<p>พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองเลขาธิการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากเหตุการณ์ยังคงยืดเยื้อเกิน 1 สัปดาห์ ประเทศคู่ค้าของไทยอาจหันไปหาตลาดใหม่แทนซึ่งจะยิ่งทำให้ความเสียหายทวีความรุนแรงมากขึ้น “ผมกลัวต่างชาติที่สั่งซื้อสินค้าจากประเทศไทยจะฉวยโอกาสการปิดสนามบินหรือปัญหาการส่งออกที่ล่าช้านี้ เป็นข้ออ้างยกเลิกคำสั่งซื้อสินค้าไทยไป ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อการส่งออกในระยะยาวอย่างแน่นอน”</p>\n<p>ขณะที่ ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์ เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ได้วิเคราะห์ ถึงผลกระทบของวิกฤติการเมืองที่กำลังขึงพืดอยู่ในเวลา</p>\n<p>นี้ว่า หากสถานการณ์ไม่คลี่คลายภายในเดือน ธ.ค.นี้ จะสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจถึง 134,000-215,000 ล้านบาท แบ่งเป็นผลกระทบต่อการท่องเที่ยว 76,120 ล้านบาท การส่งออก 25,000-40,000 ล้านบาท การลงทุน 12,000-40,000 ล้านบาท และการบริโภค 21,000-30,000 ล้านบาท ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวเพียง 4.1-4.4%</p>\n<p>แต่หากเหตุการณ์ทางการเมืองคลี่คลายภายในสิ้นเดือน พ.ย.นี้และยกเลิกปิดสนามบินในสัปดาห์นี้ได้ ความเสียหายจะลดลงเหลือเพียง 73,000-130,000 ล้านบาท แบ่งเป็นผลกระทบต่อการท่องเที่ยว 42,000-75,000 ล้านบาท การส่งออก 10,000-24,000 ล้านบาท การลงทุน 6,000-11,000 ล้านบาทและการบริโภค 15,000-20,000 ล้านบาทส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโต 4.5-4.8% ได้</p>\n<p>ด้านสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ซึ่งได้จัดสัมมนาวิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจล่าสุดระบุว่า เศรษฐกิจไทยหลังเผชิญกับวิกฤติการเมืองมานานจะฉุดรั้งอัตราการขยายตัวเหลืออยู่เพียง 1.9% เท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยแล้ว</p>\n<p><strong>แต่ทั้งหมดนั้นก็ยังไม่รวมถึงผลกระทบที่เกิดจากการปิดสนามบิน สุวรรณภูมิและดอนเมืองล่าสุดที่เกิดขึ้น ซึ่งหากสถานการณ์ยังคงยืดเยื้อต่อไปก ็เป็นเรื่องที่ยังคาดเดาไม่ได้ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2552 จะติดลบไปมากน้อยแค่ไหน</strong></p>\n<p align=\"center\">*****</p>\n<p>ความย่อยยับทางเศรษฐกิจทั้งมวลที่ “ทีมเศรษฐกิจ” ประมวลมาข้างต้นนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ความเสียหายหลักที่ไม่อาจจะเรียกคืนได้อีก แล้วก็คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย ทั้งประเทศและศูนย์กลางการบิน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น</p>\n<p><strong>วันนี้ภาพพจน์ดังกล่าวได้พินาศย่อยยับไปสิ้นเชิงแล้ว!</strong></p>\n<p>ภาพข่าวความรุนแรง ความผิดหวังของนักท่องเที่ยวที่ต้องตกเครื่องบิน ถูกบล็อกให้เผชิญหน้ากับพันธมิตรฯที่บุกยึดสนามบินและต้องใช้ชีวิตอยู่ในสนามบินแห่งนี้ข้ามวัน ข้ามคืน ทั้งยังต้องหนีเอาตัวรอดกันอย่างทุลักทุเลเพื่อขึ้นเครื่อง กลับประเทศซึ่งถูกสื่อต่างประเทศตีแผ่ประโคมออกไปทั่วโลกนั้น</p>\n<p>คงเป็นเรื่องยากที่ประเทศไทยจะกอบกู้ชื่อเสียงและภาพพจน์กลับมาและ ไม่รู้จะต้องใช้เวลาอีกกี่สิบปีกว่าทุกฝ่ายจะลืมเลือนฝันร้ายที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนี้</p>\n<p><strong>โดยที่รัฐบาล “เป็ดง่อย” ของ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ได้แต่นั่งเอามือซุกหีบลอยตัวเหนือปัญหาไปวันๆ จะสั่งสลายการชุมนุมหรือก็กลัวจะถูกย้อนรอยคิดบัญชีในภายหลังไม่กล้า แม้แต่จะเซ็นคำสั่งหาคนรับผิดชอบ</strong></p>\n<p>ปล่อยให้คนกลุ่มหนึ่งยึดเอาเศรษฐกิจของประเทศชาติเป็นตัวประกัน!!!</p>\n<p><strong>ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายจะต้องจบ จะต้องเร่งยุติปัญหาการเอาความวิบัติย่อยยับของ ประเทศเป็นเครื่องต่อรองเพื่อบรรลุเป้าหมายของกลุ่มตน ก่อนที่ประเทศไทยจะวิบัติย่อยยับไปกว่านี้ ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงให้ไว้เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2535 หลังเหตุการณ์นองเลือด “พฤษภาทมิฬ 35”</strong></p>\n<p>“...ประเทศของเราไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคน สองคน เป็นประเทศของทุกคน ต้องหันหน้าเข้าหากัน หลีกเลี่ยงไม่เผชิญหน้ากันแก้ปัญหา เพราะว่าอันตรายมีอยู่ เวลาคนเราเกิดความบ้าเลือดปฏิบัติการรุนแรงต่อกันมันลืมตัว ลงท้ายก็ไม่รู้ว่าตีกันเพราะอะไร แล้วก็จะแก้ปัญหาอะไร แล้วก็ใครชนะ ไม่มี ไม่มีทางชนะ มีแต่แพ้ คือต่างคนต่างแพ้ ผู้ที่แพ้มากที่สุดก็คือประชาชนและเป็นประชาชนทั้งประเทศไม่ใช่ประชาชน เฉพาะในกรุงเทพฯ...ถ้าสมมุติว่ากรุงเทพฯเสียหายไป ประเทศก็เสียหายไปทั้งหมด แล้วจะมีประโยชน์อะไรที่จะทะนงตัวว่าชนะอยู่บนกองสิ่งปรักหักพัง...”</p>\n<p align=\"center\">*****</p>\n<p>ทีมเศรษฐกิจหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ</p>\n<p><a href=\"http://www.thairath.co.th/news.php?section=economic02&amp;content=113396\">http://www.thairath.co.th/news.php?section=economic02&amp;content=113396</a><br /> &nbsp;<br /> &nbsp;--------------------------------------</p>\n<p align=\"center\">\n<script type=\"text/javascript\">// <![CDATA[\ngoogle_ad_client = \"pub-4345580538062578\";\n/* 468x60, ถูกสร้างขึ้นแล้ว 10/1/08 */\ngoogle_ad_slot = \"2401687297\";\ngoogle_ad_width = 468;\ngoogle_ad_height = 60;\n// ]]></![cdata[></script><script type=\"text/javascript\" src=\"http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js\">// <![CDATA[\n\n// ]]></![cdata[></script></p>\n', created = 1715160439, expire = 1715246839, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:7e772fbcbfeeb1626f8fdf39073c5978' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

ปิดสนามบินสุวรรณภูมิ " ฮาราคีรี " เศรษฐกิจไทยพินาศ [1 ธ.ค. 51 - 14:51]

รูปภาพของ ssspoonsak

ปิดสนามบินสุวรรณภูมิ " ฮาราคีรี " เศรษฐกิจไทยพินาศ [1 ธ.ค. 51 - 14:51]
 
แล้วเหตุการณ์ที่ประชาชนคนไทยไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น ในประวัติศาสตร์ของการก่อตั้งประเทศก็บังเกิดขึ้นจนได้ เมื่อกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ได้ลุกฮือเข้าปิดและยึดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง ท่าอากาศยานนานาชาติที่ถือเป็นประตูเข้าออก และเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค

ท่ามกลางความตกตะลึงของผู้เกี่ยวข้องทั้งนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการสายการบิน ผู้ปฏิบัติการบิน ต่างชาติรวมทั้งประชาชนคนไทยทั้งประเทศที่ไม่เคยคาดคิดว่าสนามบิน นานาชาติที่ได้ชื่อว่าใหญ่และทันสมัยที่สุดในภูมิภาคจะถูกยึดครองไปอย่างง่ายดาย

ทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบิน การขนส่งสินค้าทางอากาศและการท่องเที่ยวกลาย เป็นอัมพาต เที่ยวบินนับร้อยเที่ยวบินไม่สามารถทำการบินขึ้น-ลงได้ นักท่องเที่ยว นักลงทุนทั้งที่ติดอยู่ในสนามบินและที่กำลังจะเดินทางเข้า-ออกประเทศไทยถูกบล็อกไปหมด

เพียงแค่สัปดาห์เดียวที่ท่าอากาศยานทั้งสองแห่งถูกปิดตายนับตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 25 พฤศจิกายน ก็ฉุดรั้งให้เศรษฐกิจของประเทศพินาศยับจนไม่อาจจะประเมินความเสียหายที่แท้จริงได้ เฉพาะความเสียหายเบื้องหน้าที่เกิดขึ้นและความเสียหายในอนาคตอันใกล้เท่าที่ ทุกฝ่ายประเมินได้นั้นก็ตกวันละนับแสนล้านบาทแล้ว

“ทีมเศรษฐกิจ” ขอเปิดพื้นที่นี้ถ่ายทอดความเสียหายทางเศรษฐกิจที่ประเทศได้รับ เพื่อกระตุ้นให้ทุกฝ่ายเร่งยุติการเอาประเทศชาติเป็นตัวประกัน ก่อนที่เศรษฐกิจไทย จะไม่หลงเหลือซากใดๆ ให้เยียวยากันได้อีก!

เที่ยวบิน-ผู้โดยสารถูกปิดตาย

ตามข้อมูลของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. นั้น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้นมีปริมาณเที่ยวบินขึ้น-ลงวันละกว่า 770 เที่ยวบินต่อวัน แบ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศ 620 เที่ยวบิน ที่เหลือเป็นเที่ยวบินภายในประเทศและมีปริมาณผู้โดยสาร นักท่องเที่ยว ที่ผ่านเข้า-ออกท่าอากาศยานแห่งนี้วันละกว่า 120,000 คน และอาจมากถึง 150,000 คนในช่วงเทศกาล ในจำนวนนี้กว่า 100,000-120,000 คนนั้นเป็นผู้โดยสารต่างประเทศ

แน่นอนความเสียหายที่เกิดขึ้นในทันทีที่สนามบินสุวรรณภูมิถูกปิดลง เที่ยวบินขึ้นลงทั้งมวลต้องหยุดการให้บริการจนกลายเป็นอัมพาตไปทั้งประเทศนั้น ไม่ใช่เพียงแต่ผู้โดย สารเข้า-ออกวันละกว่า 120,000 คนจะได้รับ ความเดือดร้อนอย่างหนักที่ไม่สามารถไปสู่จุดหมาย ไม่สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวหรือเดินทางกลับไปทำงาน ติดต่อธุรกิจได้เท่านั้น

ผู้ประกอบการบินและสายการบินต่างๆที่ให้บริการอยู่ในสนามบินสุวรรณภูมิ และดอนเมืองต่างได้รับความเสียหายกันถ้วนหน้า เฉพาะการบินไทยนั้นต้องสูญเสียรายได้จากการประกอบการหลักถึงวันละกว่า 500-600 ล้านบาท จากการทำการบินขึ้นลงที่มากกว่าวันละ 140 เที่ยวบิน และให้บริการผู้โดยสารกว่าวันละ 30,000 คน ยังไม่รวมไปถึงรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอย่างครัวการบินที่ต้องสูญไปวันละกว่า 10 ล้านบาท

นอกจากนี้ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในสนามบินไม่ว่าจะร้านค้าปลอดภาษี ร้านอาหาร เครื่องดื่ม นวดสปา ร้านขายของที่ระลึกตลอดจนกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการบิน การให้บริการภาคพื้นทั้งมวลต้องพลอยได้รับผลกระทบอย่างหนัก

เฉพาะค่าธรรมเนียมให้บริการขึ้นลง ค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน ลานจอดอากาศยาน และการให้บริการขนถ่ายในลานจอดนั้นที่หดหายไปก็ตกวันละกว่า 100 ล้านบาทแล้วสำหรับ 2 สนามบินที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่รวมความเสียหายของร้านค้า ปลอดภาษีที่ปกติจะมีรายได้จากการขายสินค้าในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิวันละไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท ขณะที่ร้านรวงต่างๆในสนามบินที่พลอยได้รับผลกระทบต้อง หยุดประกอบกิจการไปนับสัปดาห์นั้นก็มีความเสียหายไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

ท่องเที่ยว 6 แสนล้านพินาศยับ

ในส่วนผลกระทบด้านท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องนั้น ผลของการปิดตาย สนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองที่ทำให้เที่ยวบินเข้า-ออกประเทศไทยกว่า 700 เที่ยวบินกลายเป็นอัมพาต นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้า-ออกและเปลี่ยนผ่านเครื่องที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิซึ่งถือเป็นศูนย์กลาง การเปลี่ยนผ่านเครื่องในภูมิภาคนี้ต้องตกอยู่ในสภาพอกสั่นขวัญแขวนจาก การเผชิญหน้ากับพันธมิตรฯที่บุกเข้ายึดสนามบิน

สภาพความโกลาหลภายในอาคารผู้โดยสารและสนามบินที่ถูกปิดตาย กับความเดือดร้อนของนักท่องเที่ยวที่อยากเดินทางกลับบ้านที่ถูกตีแผ่ข่าวสารประโคมข่าวออกไปทั่วโลกนั้น

วันนี้ได้ทำให้เมืองไทยกลายเป็นดินแดนมิคสัญญีไปแล้ว!

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานผลกระทบจากการปิดสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองว่าเพียงแค่ 2 วันที่กิจกรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องในสนามบินต้องกลายเป็นอัมพาตได้ส่งผล ต่อผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) มากถึง 0.5-0.7% ทำให้ สศช.ต้องปรับลดประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจในปี 2551 ลงเหลือเพียง 4% เท่านั้น ทั้งที่เพิ่งปรับลดตัวเลขดังกล่าวลดลงก่อนหน้านี้ไม่ถึงสัปดาห์

ทั้งนี้ สศช.ยังประเมินด้วยว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวจากการปิดสองสนามบินวันนี้ หาได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะช่วงของการปิดสนามบินในห้วงสัปดาห์นี้เท่านั้น แต่จะส่งผลกระทบต่อเนื่องทอดยาวไปอย่างน้อย 3-6 เดือนข้างหน้า

ทำให้คาดว่าปริมาณนักท่องเที่ยวในปี 2552 จะหดหายไปอย่างน้อย 5-6 ล้านคน และเฉพาะฤดูกาลท่องเที่ยวหรือ “ไฮซีซั่น” ของไทยที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้น พ.ย.-มี.ค.ของปีนั้น ซึ่งปกติประเทศไทยจะมีรายได้จากนักท่องเที่ยวในช่วงนี้มีสัดส่วนสูงถึง ครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งปีที่มีมากกว่า 570,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 300,000 ล้านบาท

ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เพียงจะทำให้ปริมาณนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยววูบหายไป ยังจะส่งผลถึงการเลิกจ้างงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวเนื่องทั้งบริษัททัวร์ไปจนถึงร้านอาหาร ภัตตาคาร และโรงแรมที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบถ้วนหน้า ทำให้แรงงานในภาคนี้ต้องตกงานอีกไม่ต่ำกว่า 1-1.2 ล้านคน ไม่รวมแรงงานที่ต้องตกงานจากวิกฤติเศรษฐกิจเดิมที่คาดว่าจะมีอีกไม่น้อยกว่า 900,000 คน

ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจจะรุนแรงกว่านี้อีกหลายเท่าหากสถานการณ์ยังคง ยืดเยื้อออกไปอันจะยิ่งทำให้การขยายตัวเศรษฐกิจในปี 2552 ไม่ถึง 3% อย่างแน่นอน

คาร์โก้ 6 แสนล้านยืนบนชะง่อนผา

ผลกระทบของการปิดสนามบินสุวรรณภูมิยังได้ลุกลามไปถึงสินค้าส่งออกและ นำเข้าที่ต้องใช้บริการขนส่งทางอากาศหรือคาร์โก้ที่ปัจจุบันมีมูลค่ารวมกว่า 600,000 ล้านบาทหรือ ประมาณ 10% ของยอดส่งออกรวมทั้งปีที่ 170,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โดยปัจจุบันมียอดนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศวันประมาณ 900-1,000 ตัน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวได้ใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าไปยังประเทศที่ 3 จำนวน 600-700 ตัน และมีสินค้าส่งออกวันละ 1,500 ตัน โดยเฉพาะสินค้าประเภทผัก ผลไม้ ที่มีจำนวนวันละ 500-600 ตัน

เพียงสัปดาห์เดียวของการปิดสนามบินสุวรรณภูมิมีการประเมินกันว่าได้ทำให้ สินค้าเกษตรที่ต้องส่งออกไปยังต่างประเทศเสียหายไปแล้วกว่าวันละ 30,000 ล้านบาท หรือไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาท แล้วในปัจจุบัน ยังไม่นับรวมถึงความเดือดร้อนของผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกจากการที่ต้องหาทางแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการจัดส่งสินค้าไปยังคู่ค้าต่างประเทศในทุกวิถีทาง ทั้งการลำเลียงสินค้าด้วยรถบรรทุกไปโหลดขึ้นเครื่องที่สนามบินปีนัง กัวลาลัมเปอร์ ของมาเลเซีย รวมไปถึงสนามบินชางฮีของสิงคโปร์ ส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นอีก 50% ขณะที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และบริษัทลูกค้าหลายรายที่นำเข้าชิ้นส่วนจากไทยต้องชะลอการผลิต บางรายถูกผู้สั่งซื้อปรับเป็นเงินถึง 100,000 เหรียญสหรัฐฯต่อชั่วโมง

ทั้งนี้ หากสถานการณ์ยังคงยืดเยื้ออยู่ต่อไปความเสียหายที่มีต่อคำสั่งซื้อ ในอนาคตอาจส่งผลกระทบไปถึงการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ซึ่งนั่นจะยิ่งส่งผลกระทบต่อภาคแรงงานที่อาจต้องตกงานสูงถึง 200,000 คน เนื่องจากไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบมาผลิตได้และบริษัทที่นำเข้าสินค้าจากไทยอาจ เปลี่ยนไปว่าจ้างและสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในประเทศอื่นๆแทน ทำให้ผู้ประกอบการไทย สูญเสียโอกาสทางธุรกิจไปอีก 2-3 ปีจากนี้ แม้สถานการณ์จะยุติลงก็ตาม

หวั่นคู่ค้าเบนเข็มหาตลาดใหม่

พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองเลขาธิการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากเหตุการณ์ยังคงยืดเยื้อเกิน 1 สัปดาห์ ประเทศคู่ค้าของไทยอาจหันไปหาตลาดใหม่แทนซึ่งจะยิ่งทำให้ความเสียหายทวีความรุนแรงมากขึ้น “ผมกลัวต่างชาติที่สั่งซื้อสินค้าจากประเทศไทยจะฉวยโอกาสการปิดสนามบินหรือปัญหาการส่งออกที่ล่าช้านี้ เป็นข้ออ้างยกเลิกคำสั่งซื้อสินค้าไทยไป ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อการส่งออกในระยะยาวอย่างแน่นอน”

ขณะที่ ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์ เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ได้วิเคราะห์ ถึงผลกระทบของวิกฤติการเมืองที่กำลังขึงพืดอยู่ในเวลา

นี้ว่า หากสถานการณ์ไม่คลี่คลายภายในเดือน ธ.ค.นี้ จะสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจถึง 134,000-215,000 ล้านบาท แบ่งเป็นผลกระทบต่อการท่องเที่ยว 76,120 ล้านบาท การส่งออก 25,000-40,000 ล้านบาท การลงทุน 12,000-40,000 ล้านบาท และการบริโภค 21,000-30,000 ล้านบาท ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวเพียง 4.1-4.4%

แต่หากเหตุการณ์ทางการเมืองคลี่คลายภายในสิ้นเดือน พ.ย.นี้และยกเลิกปิดสนามบินในสัปดาห์นี้ได้ ความเสียหายจะลดลงเหลือเพียง 73,000-130,000 ล้านบาท แบ่งเป็นผลกระทบต่อการท่องเที่ยว 42,000-75,000 ล้านบาท การส่งออก 10,000-24,000 ล้านบาท การลงทุน 6,000-11,000 ล้านบาทและการบริโภค 15,000-20,000 ล้านบาทส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโต 4.5-4.8% ได้

ด้านสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ซึ่งได้จัดสัมมนาวิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจล่าสุดระบุว่า เศรษฐกิจไทยหลังเผชิญกับวิกฤติการเมืองมานานจะฉุดรั้งอัตราการขยายตัวเหลืออยู่เพียง 1.9% เท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยแล้ว

แต่ทั้งหมดนั้นก็ยังไม่รวมถึงผลกระทบที่เกิดจากการปิดสนามบิน สุวรรณภูมิและดอนเมืองล่าสุดที่เกิดขึ้น ซึ่งหากสถานการณ์ยังคงยืดเยื้อต่อไปก ็เป็นเรื่องที่ยังคาดเดาไม่ได้ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2552 จะติดลบไปมากน้อยแค่ไหน

*****

ความย่อยยับทางเศรษฐกิจทั้งมวลที่ “ทีมเศรษฐกิจ” ประมวลมาข้างต้นนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ความเสียหายหลักที่ไม่อาจจะเรียกคืนได้อีก แล้วก็คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย ทั้งประเทศและศูนย์กลางการบิน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น

วันนี้ภาพพจน์ดังกล่าวได้พินาศย่อยยับไปสิ้นเชิงแล้ว!

ภาพข่าวความรุนแรง ความผิดหวังของนักท่องเที่ยวที่ต้องตกเครื่องบิน ถูกบล็อกให้เผชิญหน้ากับพันธมิตรฯที่บุกยึดสนามบินและต้องใช้ชีวิตอยู่ในสนามบินแห่งนี้ข้ามวัน ข้ามคืน ทั้งยังต้องหนีเอาตัวรอดกันอย่างทุลักทุเลเพื่อขึ้นเครื่อง กลับประเทศซึ่งถูกสื่อต่างประเทศตีแผ่ประโคมออกไปทั่วโลกนั้น

คงเป็นเรื่องยากที่ประเทศไทยจะกอบกู้ชื่อเสียงและภาพพจน์กลับมาและ ไม่รู้จะต้องใช้เวลาอีกกี่สิบปีกว่าทุกฝ่ายจะลืมเลือนฝันร้ายที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนี้

โดยที่รัฐบาล “เป็ดง่อย” ของ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ได้แต่นั่งเอามือซุกหีบลอยตัวเหนือปัญหาไปวันๆ จะสั่งสลายการชุมนุมหรือก็กลัวจะถูกย้อนรอยคิดบัญชีในภายหลังไม่กล้า แม้แต่จะเซ็นคำสั่งหาคนรับผิดชอบ

ปล่อยให้คนกลุ่มหนึ่งยึดเอาเศรษฐกิจของประเทศชาติเป็นตัวประกัน!!!

ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายจะต้องจบ จะต้องเร่งยุติปัญหาการเอาความวิบัติย่อยยับของ ประเทศเป็นเครื่องต่อรองเพื่อบรรลุเป้าหมายของกลุ่มตน ก่อนที่ประเทศไทยจะวิบัติย่อยยับไปกว่านี้ ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงให้ไว้เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2535 หลังเหตุการณ์นองเลือด “พฤษภาทมิฬ 35”

“...ประเทศของเราไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคน สองคน เป็นประเทศของทุกคน ต้องหันหน้าเข้าหากัน หลีกเลี่ยงไม่เผชิญหน้ากันแก้ปัญหา เพราะว่าอันตรายมีอยู่ เวลาคนเราเกิดความบ้าเลือดปฏิบัติการรุนแรงต่อกันมันลืมตัว ลงท้ายก็ไม่รู้ว่าตีกันเพราะอะไร แล้วก็จะแก้ปัญหาอะไร แล้วก็ใครชนะ ไม่มี ไม่มีทางชนะ มีแต่แพ้ คือต่างคนต่างแพ้ ผู้ที่แพ้มากที่สุดก็คือประชาชนและเป็นประชาชนทั้งประเทศไม่ใช่ประชาชน เฉพาะในกรุงเทพฯ...ถ้าสมมุติว่ากรุงเทพฯเสียหายไป ประเทศก็เสียหายไปทั้งหมด แล้วจะมีประโยชน์อะไรที่จะทะนงตัวว่าชนะอยู่บนกองสิ่งปรักหักพัง...”

*****

ทีมเศรษฐกิจหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

http://www.thairath.co.th/news.php?section=economic02&content=113396
 
 --------------------------------------

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 212 คน กำลังออนไลน์