user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('บัญชีผู้ใช้', 'user/login', '', '18.190.156.212', 0, '43d4cbbbb64334fb2392deb8d64b405a', 136, 1716035970) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

โครงการพระพุทธศาสนาในอาเซียน สำรวจศาสนสถาน ในบริเวณเขต พระนคร และ รวมกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนสถาน

โครงการ การสำรวจศาสนสถานศาสนาในอาเซียน บริเวณ เขตพระนคร จังหวัด กรุงเทพมหานคร และ รวบรวมกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนสถานทุก ศาสนาในอาเซียน

เนื่องด้วยทางกลุ่มผู้จัดทำโครงการนี้ ได้เล็งเห็นความสำคัญของศาสนา ที่มีอยู่ในประเทศต่างๆของอาเซียน เนื่องจากประเทศไทย จะเข้าสู่ AEC ในปี พ.ศ. 2558 การมีความเข้าใจในกฎระเบียบปฏิบัติและ ลักษณะของศาสนสถานแต่ละศาสนาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น หลังการเปิดประชาคมเสรีอาเซียน

 

โบสถ์พราหมณ์ ศาสนา พราหมณ์-ฮินดู

          ลักษณะของศาสนสถาน ของศาสนา พราหมณ์-ฮินดู นั้นจะมีความใกล้เคียงกับของศาสนาพุทธ เพียงแต่สิ่งสักการะบูชาภายใน จะมีรูปปั้นของเทพเจ้ามากมายหลายองค์ตามความเชื่อทางศาสนา และมีการแกะสลัก ไว้บนหน้าจั่วของหลังคา เป็นรูปที่เกี่ยวกับเทพเจ้าที่เคารพนับถือ

 

คริสตจักรนิรมิตใหม่ ศาสนา คริสต์

ศาสนสถานของศาสนาคริสต์ ในประเทศไทยนั้น การจะสร้างโบสถ์ขนาดใหญ่เป็นเร่องยากในตัวเมือง จึงมีลักษณะเป็นคริสตจักร เป็นแห่งๆไป โดยภายในจะเน้นความเรียบง่ายเน้นการใช้งาน โดยมีเครื่องหมายกางเขน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์อยู่อย่างชัดเจน และจะมีอุปกรณ์สำหรับการใช้งาน โดยมีการจัดระเบียบรูปแบบเดียวกับ โบสถ์คริสต์ แต่ไม่กว้างขวางเท่า สถาปัตยกรรมเป็นสไตล์ยุโรปเรียบๆ ไม่หรูหราโอ่อ่า เนื่องจากพื้นที่ใช้สอยมีอย่างจำกัด เน้นการจัดระเบียบสิ่งของเพื่อการใช้งาน ภายใน จะมีเครื่องดนตรีเพื่อบรรเลงเพลง บทสวดของศาสนาคริสต์

 

วัดราชบูรณราชวรวิหาร ศาสนาพุทธ

เนื่องด้วย ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติไทย จึงไม่แปลกที่พื้นที่ของวัดจะกินอาณาบริเวณกว้างพอสมควรในแต่ละแห่ง มีการสร้างกุฏิสำหรับพระ มีอุโบสถขนาดใหญ่ และมีการตกแต่งสถาปัตยกรรมแตกต่างตาม พื้นที่ ซึ่งวัดบางแห่งอาจมีสถาปัตยกรรมหลายแขนงรวมกันอยู่ภายในวัดเดียว ตัวอย่างสถาปัตยกรรมที่มีในวัดเช่น สถาปัตยกรรมแบบขอม แบบละโว้ โดยมีลักษณะการสร้างหลายรูปทรงเช่น ทรงระฆังคว่ำ ทรงเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นต้น

 

วัดทิพยวารีวิหาร – ศาสนาพุทธ นิกาย มหายาน

สำหรับวัดจีน เนื่องด้วยมีคนไทยเชื้อสายจีน อาศัยอยู่ในประเทศไทยจำนวนมาก จึงทำให้มีศาสนาพุทธนิกาย มหายานผสมอยู่ในศาสนาพุทธของประเทศไทย โดยองค์ประกอบแล้ว ลักษณะของวัดจีนนั้น มีพื้นที่จำกัดเช่นเดียวกับศาสนาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ศาสนาพุทธ แต่การจัดองค์ประกอบภายในนั้น จะต่างกับศาสนาอื่นโดยสิ้นเชิงคือ มีการจัด รูปปั้นบูชา จำนวนมากติดกัน และจัดสิ่งของภายในจำนวนมาก ไว้ในสถานที่เล็กๆ ทำให้ใครบางคนที่มาเข้าวัดจีนมองแล้วอาจดูยัดเยียดเกินไปสำหรับพื้นที่เล็กๆ โดยวัดจีนเน้นการประกอบพิธีมากกว่าเป็นที่ฟังเทศน์ ฟังธรรม พักผ่อนหย่อนใจ ทำให้สิ่งของอัดแน่นอยู่ในสถานที่ที่ไม่กว้างขวางนัก ด้านสถาปัตยกรรม ก็จะมีรูปปั้นเทพเจ้าที่คนจีนส่วนใหญ่นับถือ โดยจะมีพระพุทธรูปอยู่ด้วย เน้นการตกแต่งด้วยสีแดง และทอง ซึ่งเป็นสีมงคลของจีน และใส่ลวดลายจีน และลายมังกรไว้ ซึ่งถือเป็นสัตว์ที่แสดงบารมีต่อผู้ที่พบเห็น

 

มัสยิดบ้านตึกดิน – ศาสนาอิสลาม

เช่นเดียวกับศาสนาอื่นๆที่ไม่ใช่ศาสนาประจำชาติ พื้นที่ของมัสยิดก็ไม่กว้างขวางนัก สำหรับมัสยิดบ้านตึกดิน ตั้งอยู่กลางเขตชุมชน และมีกำแพงติดกับบ้านของผู้คนละแวกนั้นเลยทีเดียว สำหรับลักษณะภายในของมัสยิด จะเน้นภายในที่      โล่งโปร่ง สะอาดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการทำละหมาด และการใช้สอย โดยมัสยิดนี้ เป็นศาสนสถานแห่งเดียวที่มีการ เปิดสอนอย่างเป็นรูปธรรม ต่างจากศาสนาอื่น สถาปัตยกรรม เน้นการใช้สีขาวและรูปทรงโค้งนูน แสดงถึงความสะอาด บริสุทธิ์ ของจิตใจที่มีต่อเทพที่ตัวเองนับถือ

_________________________________________________________________________________________________

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนสถาน

กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนสถานมิได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์         ในที่ศาสนสถานไว้โดยเฉพาะ เนื่องจากการบริหารจัดการทรัพย์สินของศาสนจักรแยกออกจากการบริหารจัดการทรัพย์สินของฝ่ายอาณาจักร (รัฐบาล) อย่างเด็ดขาด โดยศาสนจักรจะเป็นผู้บริหารจัดการเอง กฎหมายจึงกำหนดเพียงว่าผู้ใดมีหน้าที่ดูแลรักษาศาสนสถานของแต่ละศาสนาเท่านั้น ดังนั้น การดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ที่ดินของศาสนสถานต่างๆ จึงเป็นไปตามนโยบายของผู้ดูแลศาสนสถานแต่ละแห่ง ตัวอย่าง เช่น
          ๑.พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๓๕

หมวด ๕

วัด

                  


 มาตรา ๓๑  วัดมีสองอย่าง
 (๑) วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
 (๒) สำนักสงฆ์
 ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
 เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป
มาตรา ๓๒ การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย การยุบเลิกวัด และการขอรับ

พระราชทานวิสุงคามสีมา ให้เป็นไปตามวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง

ในกรณียุบเลิกวัด ทรัพย์สินของวัดที่ถูกยุบเลิกให้ตกเป็นศาสนสมบัติกลาง


มาตรา ๓๒ทวิ วัดใดเป็นวัดร้างที่ไม่มีพระภิกษุอยู่อาศัย ในระหว่างที่ยังไม่มีการยุบเลิกวัด ให้กรมการศาสนามีหน้าที่ปกครองดูแลรักษาวัดนั้น รวมทั้งที่วัด ที่ธรณีสงฆ์และทรัพย์สินของวัดนั้น ด้วย
 การยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๓ ที่วัดและที่ซึ่งขึ้นต่อวัด มีดังนี้

(๑) ที่วัด คือที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น

(๒) ที่ธรณีสงฆ์ คือที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด

(๓) ที่กัลปนา คือที่ซึ่งมีผู้อุทิศแต่ผลประโยชน์ให้วัดหรือพระศาสนา

 

มาตรา ๓๔ การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง ให้กระทำได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ เว้นแต่เป็นกรณีตามวรรคสอง

การโอนกรรมสิทธิ์ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง ให้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เมื่อมหาเถรสมาคมไม่ขัดข้องและได้รับค่าผาติกรรมจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานนั้นแล้ว ให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา

ห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดหรือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ* แล้วแต่กรณี ในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง
มาตรา ๓๕ ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่ศาสนสมบัติกลาง เป็นทรัพย์สินซึ่งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
มาตรา ๓๖ วัดหนึ่งให้มีเจ้าอาวาสรูปหนึ่ง และถ้าเป็นการสมควรจะให้มีรองเจ้าอาวาสหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสด้วยก็ได้

มาตรา ๓๗ เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้

(๑) บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี

(๒) ปกครองและสอดส่องให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยอยู่ในวัดนั้นปฏิบัติ

ตามพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม

(๓) เป็นธุระในการศึกษาอบรมและสั่งสอนพระธรรมวินัยแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์

(๔) ให้ความสะดวกตามสมควรในการบำเพ็ญกุศล

 

มาตรา ๓๘ เจ้าอาวาสมีอำนาจดังนี้

(๑) ห้ามบรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งมิได้รับอนุญาตของเจ้าอาวาสเข้าไปอยู่อาศัยในวัด

(๒) สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสออกไปเสียจากวัด

(๓) สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยในวัด ทำงานภายในวัดหรือให้ทำทัณฑ์บนหรือให้ขอขมาโทษในเมื่อบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ในวัดนั้นประพฤติผิด คำสั่งเจ้าอาวาสซึ่งได้สั่งโดยชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับระเบียบหรือคำสั่งของมหาเถรสมาคม

 

มาตรา ๓๙ ในกรณีที่ไม่มีเจ้าอาวาสหรือเจ้าอาวาสไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้แต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ให้ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับเจ้าอาวาส

การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม

 

หมวด ๖

ศาสนสมบัติ

                  

 

มาตรา ๔๐ ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท

(๑) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ทรัพย์สินของพระศาสนา ซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง

(๒) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง

การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติกลาง ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ* เพื่อการนี้ให้ถือว่าสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ*เป็นเจ้าของศาสนสมบัติกลางนั้นด้วย

การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

มาตรา ๔๑ ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ*จัดทำงบประมาณประจำปีของศาสนสมบัติกลางด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้งบประมาณนั้นได้

 

 

๒.พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้

“มัสยิด” หมายความว่า สถานที่ซึ่งมุสลิมใช้ประกอบศาสนกิจโดยจะต้องมีละหมาดวันศุกร์เป็นปกติ และเป็นสถานที่สอนศาสนาอิสลาม

“สัปปุรุษประจำมัสยิด” หมายความว่า มุสลิมที่คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดมีมติรับเข้าเป็นสัปปุรุษประจำมัสยิด และมีชื่ออยู่ในทะเบียนสัปปุรุษประจำมัสยิด แต่ผู้นั้นจะเป็นสัปปุรุษเกินกว่าหนึ่งมัสยิดในเวลาเดียวกันไม่ได้

“อิหม่าม” หมายความว่า ผู้นำศาสนาอิสลามประจำมัสยิด

“คอเต็บ” หมายความว่า ผู้แสดงธรรมประจำมัสยิด

“บิหลั่น” หมายความว่า ผู้ประกาศเชิญชวนให้มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจตามเวลา

มาตรา ๑๔ มัสยิดที่เป็นนิติบุคคลอาจเลิกได้โดยการจดทะเบียนเลิกมัสยิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

บรรดาทรัพย์สินของมัสยิดที่เลิกตามวรรคหนึ่ง ให้โอนไปยังมัสยิดที่เป็นนิติบุคคลที่อยู่ใกล้ที่สุด ถ้าไม่อาจทำได้ให้โอนไปยังมัสยิดที่เป็นนิติบุคคลที่อยู่ในลำดับถัดไป เว้นแต่เป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยมีผู้อุทิศให้ และผู้อุทิศให้ได้แสดงเจตนาไว้เป็นอย่างอื่น

มาตรา ๑๕ มัสยิดที่ได้จดทะเบียนแล้วให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดตามหมวด ๕ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันจดทะเบียน

มาตรา ๓๕ คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) บำรุงรักษามัสยิดและทรัพย์สินของมัสยิดให้เรียบร้อย

(๒) วางระเบียบปฏิบัติภายในของมัสยิดเพื่อให้การดำเนินงานของมัสยิดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

(๓) ปฏิบัติตามคำแนะนำชี้แจงของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในเมื่อไม่ขัดต่อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามและกฎหมาย

(๔) สนับสนุนสัปปุรุษในการปฏิบัติศาสนกิจ ส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางที่ชอบตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม

(๕) พิจารณามีมติรับมุสลิมเข้าเป็นสัปปุรุษประจำมัสยิด

(๖) อำนวยความสะดวกและอบรมสั่งสอนให้สัปปุรุษประจำมัสยิดปฏิบัติศาสนกิจโดยถูกต้องเคร่งครัด

(๗) ประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างสัปปุรุษประจำมัสยิดเมื่อได้รับการร้องขอ

(๘) จัดให้มีและรักษาสมุดทะเบียนสัปปุรุษประจำมัสยิด และตรวจตราแก้ไขเพิ่มเติมสมุดทะเบียนดังกล่าวให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง

(๙) จำหน่ายชื่อสัปปุรุษประจำมัสยิดออกจากทะเบียน เมื่อได้สอบสวนแล้วปรากฏว่าผู้นั้นกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม

(๑๐) จัดให้มีทะเบียนทรัพย์สิน เอกสาร และบัญชีรายรับรายจ่ายของมัสยิดให้ถูกต้องตรงความเป็นจริง และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน และทรัพย์สินของมัสยิด แล้วรายงานให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทราบภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

(๑๑) ดูดวงจันทร์และแจ้งผลการดูดวงจันทร์ต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด

(๑๒) ส่งเสริมการศึกษาและจัดกิจกรรมที่ไม่ขัดต่อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม

มาตรา ๓๗ อิหม่ามมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม

(๒) ปกครองดูแลและแนะนำเจ้าหน้าที่ของมัสยิดให้ปฏิบัติงานในหน้าที่ให้เรียบร้อย

(๓) แนะนำให้สัปปุรุษประจำมัสยิดปฏิบัติให้ถูกต้องตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามและกฎหมาย

(๔) อำนวยความสะดวกแก่มุสลิมในการปฏิบัติศาสนกิจ

(๕) สั่งสอนและอบรมหลักธรรมทางศาสนาอิสลามแก่บรรดาสัปปุรุษประจำมัสยิด

 

มาตรา ๓๘ คอเต็บมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามในการแสดงธรรมแก่สัปปุรุษประจำมัสยิด

 

มาตรา ๓๙ บิหลั่นมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามในการประกาศเชิญชวนให้มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจตามเวลา

 

 

๓.พ.ร.บ. ว่าด้วยลักษณะ ฐานะ ของวัดบาทหลวง โรมันคาธอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ.๑๒๘

หมวดที่ ๑ว่าด้วย ข้อความทั่วไป
มาตรา๑ คณะโรมันคาธอลิก ในกรุงสยามนี้ไม่เลือกว่ามิซซังและบาทหลวง จะเป็นคนชาติภาษาใด ๆ ได้รับอนุญาตตามกฎหมายฝ่ายสยาม ให้เป็นบริษัทอันหนึ่ง เฉพาะวิการิโอ อาปอสตอลิโกแห่งหนึ่ง เพื่อให้มีอำนาจถือที่ดินสำหรับประโยชน์ มิซซัง ตาม ข้อความที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ 

มาตรา ๒ วิการิอาโต อาปอสตอลิโกนั้น ต่อไปในภายหลังเรียกว่า บิสชอปริก หรือมิซซัง
 วิการิโอ อาปอสตอลิโก ที่โป๊ปได้แต่งตั้งมาให้เป็นผู้ใหญ่ผู้หนึ่งใน บิสชอปริก แห่งหนึ่ง และถ้าไม่มีตัวอยู่ผู้บัญชาการในมิซซังนั้นเป็นผู้แทน บริษัทของบิสชอปริก หรือมิซซังเหมือนอย่างบริษัทที่บุคคลรวมกันทำการ ได้อันหนึ่ง
 ในสถานวัดบาทหลวงนั้น บาทหลวงที่รักษาที่นั้นทำการเป็นผู้แทนของ มิซซังอยู่ในบังคับบัญชาของบิสชอปหรือวิการิโอ อาปอสตอลิโก ซึ่งมีอำนาจ ใหญ่กว่ากัน
 ที่ตั้งสอนศาสนาทั้งหลาย ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่ในสถานวัดบาทหลวงแห่งใด ๆ แล้ว มีโปรกุราตอร์ ของมิซซังเป็นผู้แทนทำการอยู่ในบังคับบัญชาผู้มีอำนาจ ใหญ่กว่าอันเดียวกันนั้น
มาตรา๓ ในภายหน้าห้ามไม่ให้บาทหลวงโรมันคาธอลิกผู้ซึ่งยังอยู่ในมิซซัง ถือที่ดินในชื่อของตนเองได้
มาตรา๔ ที่ดินของมิซซังนั้น อยู่ในกฎหมายฝ่ายสยามและอยู่ในบังคับและ อำนาจศาลฝ่ายสยาม
มาตรา๕ ตั้งแต่นี้สืบไป ให้มิซซังถือที่ดินเป็นของมิซซังเองได้ตามความ ที่กล่าวไว้ในพระราชบัญญัตินี้ แต่จะถือที่ดินแทนผู้อื่นไม่ได้ มิซซังจะร้องว่าเป็น เจ้าของที่ดินหรือว่ามีประโยชน์ในที่ดินได้แต่ในชื่อของมิซซังเอง หรือในชื่อของ สถานวัดบาทหลวง หรือสถานพักสอนศาสนา หรือที่ตั้งการสอนศาสนาโรมันคาธอลิก
มาตรา๖ ที่ดินของมิซซังนั้น ให้แบ่งเป็นสองอย่างตามที่ใช้การในที่ดิน นั้น ๆ อย่างที่ ๑ นั้น คือ ที่ดินที่ใช้เป็นวัดโรงเรือนตึกรามวัดบาทหลวง อย่างที่ ๒ นั้น คือ ที่ดินเพื่อทำประโยชน์ให้แก่มิซซัง 

มาตรา ๗ ตามความใน มาตรา  แห่งหนังสือสัญญาลงวันศุกร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ปีมะโรงอัฐศก จุลศักราช ๑๒๑๘ ตรงกับวันที่ ๑๕ สิงหาคม คริสตศักราช ๑๘๕๖ ในระหว่างกรุงสยามกับฝรั่งเศสนั้น มีความว่าบาทหลวง จะไปเที่ยวสอนศาสนาในประเทศสยามก็ได้ จะสร้างวัดตึกและเรือนโรงอยู่ก็ดี ปลูกโรงสอนหนังสือเด็ก ๆ ก็ดี โรงรักษาคนไข้ก็ดี ในประเทศสยามก็ทำได้ แต่ต้องประพฤติตามกฎหมายไทย
มาตรา๘ สถานวัดบาทหลวงนั้นเป็นที่ตั้งอยู่ประจำแห่งหนึ่ง ซึ่งรัฐบาล อนุญาตแล้ว มีที่เหล่านี้รวมอยู่ด้วยในจังหวัดนั้น คือ ที่วัด ที่ป่าช้า ที่อยู่ของ บาทหลวง และมักมีที่โรงเรียนเด็กผู้ชาย โรงเรียนเด็กผู้หญิง โรงเลี้ยงเด็ก โรงเรียนศาสนา และโรงพยาบาล
 สถานพักสอนศาสนานั้น มีที่เหล่านี้รวมอยู่ด้วย คือ โรงสวด ที่พักของ บาทหลวงเวลาไปตรวจสถานพัก และมักมีโรงเรียนศาสนาหรือโรงทำการกุศล อย่างอื่น ๆ
 แบบบัญชีที่ 1 ซึ่งติดท้ายพระราชบัญญัตินี้ มีรายชื่อสถานวัดบาทหลวง และสถานพักสอนศาสนา ตามที่ได้ตั้งอยู่ในเวลาปัจจุบันนี้ อยู่ในบังคับของ วิการิอาโต อาปอสตอลิโก แห่งกรุงเทพ ฯ
มาตรา๙ ให้มิซซังจัดการตามที่จำเป็นจะต้องจัดให้สถานวัดบาทหลวง หรือสถานพักและที่ตั้งสอนศาสนานั้น มีเขตกำหนดให้ชัดเจนเป็นแผนกหนึ่ง ต่างหากจากที่ดินที่ติดต่อกัน อันเป็นที่กระทำประโยชน์ให้แก่วัด หรือเป็นที่อยู่ ของคนเข้ารีดคริสตัง
 มาตรา ๑๐ มิซซังจะหาที่ดินแห่งใด ๆ เพื่อใช้การตั้งสถานวัดบาทหลวง หรือสถานพักสอนศาสนาขึ้นใหม่ มีขนาดที่ดินตามที่ต้องการใช้เฉพาะเพื่อ ประโยชน์ที่กล่าวนี้ ก็ทำได้ตามปรารถนา
 แต่ว่าเมื่อมิซซังประสงค์จะตั้งสถานวัดบาทหลวงขึ้นใหม่ในเมืองซึ่งยัง ไม่ได้มีอำนาจที่จะถือที่ดิน สำหรับทำประโยชน์ให้แก่มิซซังนั้นแล้ว ก่อนที่จะตั้ง สถานวัดบาทหลวงขึ้นนั้นให้ทำเรื่องราวฉบับ ๑ ร้องขอต่อรัฐบาล ชี้แจง ข้อความตามประสงค์ที่จะตั้งสถานนั้น
 การที่จะอนุญาตให้ตั้งสถานวัดบาทหลวงเช่นนี้ อย่าให้งดไว้โดยไม่มี เหตุอันสมควรที่จะงด และให้เสนาบดีเจ้ากระทรวงในท้องที่นั้นตอบคำร้องของ มิซซังเป็นเด็ดขาดภายในกำหนดสี่เดือน การที่จะตั้งสถานพักสอนศาสนานั้น ไม่จำเป็นต้องขอให้รัฐบาลอนุญาติ ก่อนก็ตั้งได้ แต่ว่าเพียงแต่ตั้งสถานพักสอนศาสนาแล้ว ไม่มีอำนาจที่จะถือที่ดิน สำหรับทำประโยชน์ให้แก่วัดนั้นได้ ภายในเมืองที่ยังไม่มีสถานวัดบาทหลวงอยู่
 มาตรา ๑๑บาทหลวงผู้รักษาสถานวัดบาทหลวง สอนศาสนานั้นเป็นผู้ที่ ได้รับมอบหมายให้ปกป้องครอบครอง ที่ซึ่งอยู่ภายในเขตสถาน ดังได้กำหนดไว้ แล้วใน มาตรา  เพราะเหตุนี้ ถ้ามีคดีเกิดขึ้นในสถานที่เหล่านี้แล้ว เจ้าพนักงาน ทั้งหลายซึ่งมีหน้าที่จะเข้าไปตรวจดูการในสถานที่นั้น ๆ จะต้องบอกแก่บาทหลวง ก่อน หรือถ้าบาทหลวงไม่อยู่ก็ให้บอกแก่ผู้แทนบาทหลวงในที่นั้น 
มาตรา๑๒ นอกจากที่ดินสำหรับใช้การวัด หรือการกุศลดังได้กำหนดไว้ ใน มาตรา  นั้นแล้ว ให้มิซซังมีอำนาจที่จะถือที่ดินเป็นที่สำหรับทำประโยชน์ให้แก่ มิซซังภายในเขตของเมืองใดเมืองหนึ่งซึ่งมีสถานวัดบาทหลวงตั้งอยู่แห่งหนึ่งแล้ว (เมืองที่ว่านั้น คือ เขตแขวงที่แบ่งการปกครองเป็นชั้นรองจากมณฑล) แต่การ ที่จะตั้งสถานวัดบาทหลวงขึ้นใหม่ในภายหน้านั้นจะต้องทำตามความที่กล่าวไว้ ใน มาตรา ๑๐ จึงจะตั้งขึ้นได้
มาตรา๑๓ จำนวนที่ดินซึ่งมิซซังจะมีได้ ในจำพวกที่ดินสำหรับทำประโยชน์ ให้มิซซังนี้ ให้มีกำหนดไม่เกินกว่าเมืองละสามพันไร่ ไม่ว่าสถานวัดบาทหลวง ที่ตั้งอยู่ในเมืองนั้นมีอยู่กี่แห่ง และที่ดินอย่างนี้ไม่ให้คิดจำนวนเนื้อที่ซึ่งตั้งสถาน วัดบาทหลวง หรือสถานพักสอนศาสนานั้นเข้ามารวมด้วย
มาตรา๑๔ แบบบัญชีที่ ๒ ซึ่งติดท้ายพระราชบัญญัตินี้ มีรายชื่อเมือง ทั้งหลาย ซึ่งวิการิอาโตแห่งกรุงเทพฯ มีอำนาจถือที่ดินสำหรับทำประโยชน์ ให้แก่มิซซังได้ในเวลาปัจจุบันนี้
 ด้วยเหตุที่มีพิเศษเฉพาะแก่ท้องที่เหล่านั้น ให้เลื่อนกำหนดจำนวน เนื้อที่ขึ้นไปเป็นหมื่นสี่พันไร่ในเมืองชลบุรี หมื่นสามพันไร่ในเมืองราชบุรี และเก้าพันไร่ในเมืองฉะเชิงเทรา
 แต่ให้เข้าใจว่าจำนวนที่ดิน ซึ่งถือไว้ได้เกินกว่ากำหนดตามอัตรา เมืองละสามพันไร่ ให้เป็นการยกเว้นอยู่ในสามเมืองนั้น จะต้องไปคิดหัก จากจำนวนรวมกันทั้งหมดที่อนุญาตให้ถือได้ในเมืองอื่น ๆ ซึ่งมีชื่ออยู่ใน บัญชีที่กล่าวมาแล้ว เพื่อว่าเมื่อคิดเฉลี่ยถัวกันลงแล้ว คงไม่ให้เกินกว่า เมืองละสามพันไร่

 และตามอย่างที่เคยเป็นมาแต่ก่อนแล้ว ห้ามมิให้มิซซังถือเอาที่ดิน ภายในกำแพงพระนครกรุงเทพ ฯ เว้นไว้แต่รัฐบาลจะมอบอำนาจให้ถือ จึงจะถือได้
 มาตรา ๑๕ ถ้ามิซซังเลิกถอนไม่ตั้งสถานวัดบาทหลวง ในเมืองหนึ่ง เมืองใดแล้ว ให้มีกำหนดเวลาอนุญาตให้มิซซังจำหน่ายที่ดินซึ่งมีอยู่ใน เมืองนั้นได้ปีหนึ่ง
 มาตรา ๑๖ การที่มิซซังได้ที่ดินมา หรือการรักษาที่ดินนั้นผิดต่อ ข้อความ ที่กล่าวไว้ใน ข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๔ และ ข้อ ๑๕ แห่งพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้นับว่าเป็นใช้ไม่ได้ หรือเป็นเหมือนไม่มีอำนาจในที่นั้นเลย ถ้ารัฐบาลขอให้ ศาลที่มีอำนาจบังคับคดีนี้พิพากษาใน ข้อนี้แล้วเมื่อใด ก็ให้ศาลตัดสินได้ตาม ความ ข้อนี้เมื่อนั้น แล้วและให้ศาลจัดการขายทอดตลาดที่ดินนั้นด้วย เมื่อขาย และได้เงินมาหักใช้ค่าธรรมเนียม และค่าใช้สอยในการนั้นเสร็จแล้ว เงินเหลือเท่าใดให้คืนให้แก่มิซซังเท่านั้น 

๔.พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช ๒๔๗๕


ภาค ๑

ภาษีโรงเรือน และสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้

ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ

                  

 

มาตรา ๘ ให้ผู้รับประเมินชำระภาษีปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สิน คือ โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นกับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น นั้น ในอัตราร้อยละสิบสองครึ่งของค่ารายปี

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ “ค่ารายปี” หมายความว่า จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆ

ในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นให้เช่า ให้ถือว่าค่าเช่านั้นคือค่ารายปี แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสมควรที่ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าค่าเช่านั้นมิใช่จำนวนเงินอันสมควรที่จะให้เช่าได้หรือเป็นกรณีที่หาค่าเช่าไม่ได้เนื่องจากเจ้าของทรัพย์สินดำเนินกิจการเองหรือด้วยเหตุประการอื่นให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินค่ารายปีได้ โดยคำนึงถึงลักษณะของทรัพย์สิน ขนาด พื้นที่ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่ทรัพย์สินนั้นได้รับประโยชน์ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

มาตรา ๙ ทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ท่านให้ยกเว้นจากบทบัญญัติแห่งภาคนี้

(๑) พระราชวังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน

(๒) ทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจการของรัฐบาลหรือสาธารณะและทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการการรถไฟโดยตรง

(๓) ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะและโรงเรือนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และใช้เฉพาะในการรักษาพยาบาลและในการศึกษา

(๔) ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะในศาสนกิจอย่างเดียว หรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์

(๕) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปีและเจ้าของมิได้อยู่เองหรือให้ผู้อื่นอยู่นอกจากคนเฝ้า ในโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ หรือในที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกัน

(๖) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออาศัยอยู่เองโดยมิได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรมหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้

ภาค ๒

ภาษีที่ดินซึ่งมิได้ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน

หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ

                       

 

มาตรา ๑๖ ค่าภาษีในภาค ๒ นี้ ให้ผู้รับประเมินชำระปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สิน คือ ที่ดิน ซึ่งมิได้ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ โดยอัตราร้อยละเจ็ดแห่งค่ารายปีนั้นๆ

“ค่ารายปี” ตามภาค ๒ นี้ ท่านกำหนดว่าหนึ่งในยี่สิบแห่งราคาตลาดของทรัพย์สิน

 

มาตรา ๑๗ ที่ดินดังต่อไปนี้ ท่านให้ยกเว้นจากบทบัญญัติแห่งภาคนี้

(๑) ที่ดินของรัฐบาลซึ่งใช้ในกิจการของรัฐบาลหรือสาธารณะ

(๒) ที่ดินของโรงพยาบาลสาธารณะและโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และใช้เฉพาะในการรักษาพยาบาลและในการศึกษา

(๓) ที่ดินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะในศาสนกิจอย่างเดียว

(๔) สุสานสาธารณะ

สรุปคือ ที่ดินซึ่งเป็นศาสนสมบัติ(ที่กล่าวถึงในมาตรา ๔๐)รวมถึงส่วนควบ(ศาสนสถานที่ตั้งอยู่บนที่ดินนั้น) ไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดินนั่นเอง    

๕.กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๒๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติยาสูบ

พ.ศ. ๒๕๐๙ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล

ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๔/๑ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๓๔)

ออกตามความในพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๕๐๙

ข้อ ๔/๑ ข้อกําหนดเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตขายยาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรต มีดังต่อไปนี้

(๑) สถานที่ขายยาสูบต้องไม่ตั้งอยู่ในสถานศึกษาและให้รวมตลอดถึงบริเวณที่ซึ่งใช้สําหรับ

สถานศึกษานั้นด้วย ไม่ว่าจะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งบริเวณต่อเนื่องติดกับสถานศึกษา

(๒) สถานที่ขายยาสูบต้องไม่ตั้งอยู่ในศาสนสถานและให้รวมตลอดถึงบริเวณที่ซึ่งใช้

สําหรับศาสนสถานนั้นด้วย ไม่ว่าจะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งบริเวณต่อเนื่องติดกับศาสนสถาน

(๓) สถานที่ขายยาสูบต้องไม่ตั้งอยู่ในสถานที่ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตขายยาสูบในสถานที่นั้น

เคยถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตขายยาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรต เว้นแต่เวลาได้ล่วงพ้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี

สถานศึกษาตาม (๑) ให้หมายถึงสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้น

พื้นฐานหรือการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

ศาสนสถานตาม (๒) ให้หมายถึงวัดตามกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ มัสยิดตามกฎหมายว่าด้วย

การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม วัดบาทหลวงตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวง

โรมันคาธอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย หรือสถานที่ประกอบศาสนกิจในนิกายหรือศาสนาอื่น

 

 

๖.พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑

มาตรา ๒๗ ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้

(๑) วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา

(๒) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา

(๓) สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้าหรือสโมสร

(๔) หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก

(๕) สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

(๖) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง หรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง

(๗) สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป

(๘) สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ

มาตรา ๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณดังต่อไปนี้

(๑) วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา เว้นแต่เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา

(๒) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลและร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล

(๓) สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี

(๔) สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคลหรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี หรือสถานศึกษาที่สอนการผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

(๕) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือร้านค้าในบริเวณสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง

(๖) สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนโดยทั่วไป

(๗) สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ
มาตรา ๓๙ ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ หรือมาตรา ๒๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 273 คน กำลังออนไลน์