ดิน

รูปภาพของ lek23

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


ปัญหาทรัพยากรดิน
ในทางปฐพีวิทยา ดิน ( Soil ) เป็นเทหวัตถุธรรมชาติที่เกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ธาตุต่างๆ ผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุ ปกคลุมผิวโลกอยู่เป็นชั้นบางๆ เป็นวัตถุที่ค้ำจุนการเจริญเติบโตและการทรงตัวของพืช

ปัญหาที่เกี่ยวกับทรัพยากรดิน
ปัญหาเกี่ยวกับดินที่พบในแต่ละพื้นที่ มีหลายประการ เช่น (ราตรี ภารา, 2538)

1. ดินขาดความอุดมสมบูรณ์
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เช่น การเพาะปลูกพืชแบบซ้ำซาก การเพาะปลูกและเตรียมดินอย่างไม่ถูกวิธี ดินเกิดกษัยการ หรือการพังทลายของดิน ( Soil Erosion )

2. ดินมีสภาพเป็นกรด ด่าง หรือเกลือ
ดินกรดหรือดินที่มีสภาพเป็นกรด ( Acid Soil ) หมายถึงดินที่มีปฏิกิริยาทางเคมีเป็นกรดทั่ว ๆ ไป หรือมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
( pH ) ต่ำกว่า 7ดินด่าง หรือดินที่มีสภาพเป็นด่าง ( Alkaline Soils ) หมายถึงดินที่มีปฏิกิริยาทางเคมีเป็นด่าง มีความเป็นกรดเป็นด่างมากกว่า 7

3. ดินอินทรีย์หรือดินพรุ ดินอินทรีย์ ( Organic Soils )     หมายถึงดินที่เกิดจากการสลายตัวเน่าเปื่อยผุพังของพืชพรรณไม้ตามธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ในแอ่งที่ลุ่มน้ำแช่ขัง ล้มตายทับถมกันเป็นเวลานานนับพันปีจน เป็นชั้นหนา ซากพืชที่เกิดจากการทับถมกันนี้ จะมีสีน้ำตาลแดงเข้ม หรือสีน้ำตาลคล้ำจนถึงดำ มีอินทรียวัตถุเป็นองค์ประกอบอยู่มากกว่า 20 % ดินชั้นล่าง เป็นดินเหนียวมีสภาพเป็นกรดจัด
สำหรับคำว่า ” พรุ ” จะหมายถึงบริเวณที่ลุ่มมีน้ำขังอยู่ตลอดปีมีพืชพรรณขึ้นอยู่และตายทับถมกันเป็นเวลานานหลายพันปี เกิดเป็นชั้นดินที่มีอินทรียวัตถุ ุุล้วนๆ ความหนาของชั้นดินไม่แน่นอน แต่ใจกลางพรุจะหนามากที่สุด 

4. ดินทรายจัด ( Sandy Soils )
หมายถึงดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วนเกิดเป็นชั้นหนามากกว่า 50 เซ็นติเมตร เนื้อดินประกอบด้วยเม็ดทรายล้วน ๆ มีขนาดค่อนข้างหยาบ มีความโปร่งตัว
น้ำไหลซึมผ่านลงไปในดินล่างได้สะดวก ไม่สามารถอุ้มน้ำหรือเก็บความชื้นไว้ในดินได้ ธาตุอาหารพืชถูกชะล้างไปได้ง่ายจึงทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ปลูกพืชไม่ค่อยจะได้ผล

5. ดินตื้น
ดินตื้น ( Shallow Soils ) หมายถึงดินที่มีลูกรัง ศิลาแลงก้อนกรวดหรือเศษหินเป็นจำนวนมากอยู่ในดินตื้นกว่า 50 เซนติเมตร
หรือเป็นชั้นของหิน ที่กีดขวางการชอนไชของรากพืช ทำให้ปริมาณของเนื้อดินน้อยลง จนขาดแหล่งเก็บความชื้นและธาตุอาหารสำหรับพืช
เป็นอุปสรรคไม่เหมาะสมกับการ ปลูกพืชเศรษฐกิจต่าง ๆ

6. มลพิษในดิน
หมายถึงภาวะที่ดินได้รับสารปนเปื้อนในปริมาณที่มากกว่าอัตราการสลายตัวหรือการเสื่อมฤทธิ์ของสารนั้นจนทำให้เกิดการสะสมของสารพิษหรือเชื้อโรคต่าง ๆซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อการ เจริญเติบโตและการเจริญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนี้ 

เมื่อพูดถึง “ดิน” ทุกคนทราบดีว่ามันคือ ส่วนประกอบของแผ่นดินที่เราเหยียบย่ำ เป็นวัตถุที่เราใช้ปลูกพืช หรือเป็นพื้นฐานของอาคารที่อยู่อาศัย แต่ความหมายในเชิงวิทยาศาสตร์ทางดิน (soil science) นั้น

“ดิน” (soils) หมายถึง เทหวัตถุทางธรรมชาติ (natural body) ที่เกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ธาตุต่างๆ ผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุซึ่งปกคลุมผิวโลกอยู่เป็นชั้นบางๆ เป็นวัตถุที่ค้ำจุนการเจริญเติบโตและการทรงตัวของพืช มีการแบ่งชั้น (horizon) ที่สามารถสังเกตเห็นได้จากตอนบนลงไปตอนล่าง มีอาณาเขตและลักษณะประจำตัวของมันเอง ซึ่งมนุษย์สามารถแบ่งแยกดินออกเป็นชนิดต่างๆ ได้

ดินประกอบด้วยแร่ธาตุที่เป็นของแข็ง อินทรียวัตถุ น้ำ และอากาศที่มีสัดส่วนแตกต่างกันออกไป การเกิดขึ้นของดินเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกระทำร่วมกันของปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ พืช และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ต่อวัตถุต้นกำเนิดของดิน ในสภาพพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้น “ดิน” ในที่แห่งหนึ่งจึงอาจเหมือนหรือต่างไปจากดินในที่อีกแห่งหนึ่งได้ ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของปัจจัยเหล่านี้ ซึ่งมีความมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละบริเวณส่งผลให้ดินมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว และเมื่อปัจจัยเปลี่ยนไป ดินจะมีลักษณะหรือสมบัติต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปด้วย

ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ เหล่านี้สามารถเขียนแทน

เมื่อ S = ดินชนิดหนึ่งๆ
cl = สภาพภูมิอากาศ
p = วัตถุนต้นกำเนิดของดิน
o = ปัจจัยทางชีวภาพ
r = ปัจจัยทางสภาพภูมิประเทศ
t = ช่วงเวลาต่อเนื่องโดยไม่มีการขัด
สภาพภูมิอากาศ (climate)
สภาพภูมิอากาศที่มีอิทธิพลต่อการเกิดของดินหรือทำให้ดินมีลักษณะแตกต่างกัน ได้แก่ อุณหภูมิ และ ปริมาณน้ำฝน ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีอิทธิพลต่ออัตราการสลายตัวของหิน แร่ ทั้งในด้าน กายภาพ และเคมี (physical and chemical weathering) ทั้งยังมีอิทธิพลต่ออัตราความเร็วของการเคลื่อนย้ายและการสะสมใหม่ของหินและแร่ที่ถูกแปรสภาพโดยตัวการสำคัญๆ มาเป็นวัตถุต้นกำเนิดของดิน ในเขตร้อน หิน แร่ จะสลายตัวมาเป็นดินได้เร็วกว่าในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว เนื่องจาก  ในเขตร้อนมีอุณหภูมิสูง และมีปริมาณฝนตกมากว่าเขตหนาว การผุพังสลายตัวต่างๆ จึงดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เกิดการชะล้างธาตุอาหารพืชออกไปได้มาก จึงมักทำให้ดินมีความอุดมอุดมสมบูรณ์ต่ำ

สร้างโดย: 
นางศิริกาญจน์ นิ่มอนงค์ โรงเรียนปิยะบุตร์ ต.โพนทอง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี 15110

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 435 คน กำลังออนไลน์