• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:f092f75a6fd0289fe5491ecdb4c79eef' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\n<span style=\"font-size: small\"><span style=\"font-size: small\"><span style=\"font-size: small\"><span style=\"color: #003366\"><span style=\"font-size: x-small\"><span style=\"font-size: small\">                                         <b> <span style=\"font-size: medium\"> <span style=\"color: #ff00ff\">ลักษณะสำนวนไทย</span></span></b></span></span></span></span></span></span><span style=\"font-size: medium\"> </span>\n</p>\n<p><span style=\"font-size: small\"><span style=\"font-size: small\"><span style=\"font-size: small\"><span style=\"color: #003366\"><span style=\"font-size: x-small\"><span style=\"font-size: small\"></span></span></span></span></span></span></p>\n<p>\n<br />\nข้อความที่เป็นสำนวนไทยมีลักษณะดังนี้ คือ\n</p>\n<p>\n<br />\n<b><span style=\"color: #333300\">1. มีความหมายโดยนัย</span></b> คือความหมายไม่ตรงตัวตามความหมายโดยอรรถ พูดอย่างหนึ่งมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง เช่น<br />\nกินปูนร้อนท้อง - รู้สึกเดือดร้อนเพราะมีความผิดอยู่<br />\nขนทรายเข้าวัด - ร่วมมือร่วมใจกันทำบุญ<br />\nฤษีเลี้ยงลิง - เลี้ยงเด็กซุกซน เป็นต้น</p>\n<p><span style=\"color: #333300\"><b> 2. ใช้ถ้อยคำกินความมาก</b></span> การใช้ถ้อยคำในสำนวนส่วนใหญ่เข้าลักษณะใช้คำน้อยกินความมาก เนื้อความมีความหมายเด่น เช่น ก่อหวอด ขึ้นคาน คว่ำบาตร ขมิ้นกับปูน คมในฝัก กิ้งก่าได้ทอง ใกล้เกลือกินด่าง เด็ดบัวไว้ใย ซึ่งล้วนมีความหมายอธิบายได้ยืดยาว ส่วนที่ใช้ถ้อยคำหลายคำ แต่ละคำก็ล้วนมีความหมายและช่วยให้ได้ความกระจ่างชัดเจน\n</p>\n<p>\n<br />\n<span style=\"color: #333300\"><b>3. ถ้อยคำมีความไพเราะ</b></span> การใช้ถ้อยคำในสำนวนไทยมักใช้ถ้อยคำสละสลวยมีสัมผัสคล้องจอง เน้นการเล่นเสียงสัมผัสสระ สัมผัสอักษร ให้เสียงกระทบกระทั่งกัน เกิดความไพระน่าฟังทั้ง สัมผัสภายในวรรคและระหว่างวรรค มีการจัดจังหวะคำหลายรูปแบบ เช่น เป็นกลุ่มคำซ้อน 4 คำ อย่าง ก่อกรรมทำเข็ญ ก่อร่างสร้างตัว คู่ผัวตัวเมีย คู่เรียงเคียงหมอน คำซ้อน 6 คำ เช่น ขิงก็ราข่าก็แรง ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น ยุให้รำตำให้รั่ว ลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง คำซ้อน 8 คำ หรือมากกว่าบ้าง เช่น ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง กำแพงมีหูประตูมีตา เป็นต้น<br />\nลักษณะสัมผัสคล้องจองเป็นร้อยกรองง่ายๆ หลายรูปแบบ มีทั้งคล้องจองกันในข้อความตอน เดียว เช่น ตื่นก่อนนอนหลัง ต้อนรับขับสู้ ผูกรักสมัครใคร่ โอภาปราศรัย และคล้องจองในข้อ ความที่เป็น 2 ตอน ซึ่งมีอยู่จำนวนมากและในข้อความมากกว่า 2 ตอน เช่น น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง เป็นต้น\n</p>\n<p>\n<br />\n<span style=\"color: #333300\"><b>4. สำนวนไทยมักมีการเปรียบเปรย</b></span> หรือมีประวัติที่มา ส่วนใหญ่มาจากการเปรียบเทียบกับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ประเพณี ศาสนา นิยาย นิทานต่างๆ กิริยาอาการ และส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตัวอย่างเช่น กลับหน้ามือเป็นหลังมือ นอนตาไม่หลับ ใจดีสู้เสือ กินไข่ขวัญ ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง เป็นต้น\n</p>\n<p></p>\n<p>\n<span style=\"font-size: small\"><span style=\"font-size: small\"><span style=\"font-size: small\"><span style=\"color: #003366\"><span style=\"font-size: x-small\"><span style=\"font-size: small\"><br />\n</span></span></span></span></span></span> \n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #003366\"><span style=\"font-size: x-small\"><span style=\"font-size: small\"><span style=\"font-size: small\"><span style=\"font-size: small\"></span></span></span></span></span>\n</p>\n', created = 1715242004, expire = 1715328404, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:f092f75a6fd0289fe5491ecdb4c79eef' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

สำนวนไทย

รูปภาพของ sangthong500

                                           ลักษณะสำนวนไทย


ข้อความที่เป็นสำนวนไทยมีลักษณะดังนี้ คือ


1. มีความหมายโดยนัย คือความหมายไม่ตรงตัวตามความหมายโดยอรรถ พูดอย่างหนึ่งมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง เช่น
กินปูนร้อนท้อง - รู้สึกเดือดร้อนเพราะมีความผิดอยู่
ขนทรายเข้าวัด - ร่วมมือร่วมใจกันทำบุญ
ฤษีเลี้ยงลิง - เลี้ยงเด็กซุกซน เป็นต้น

2. ใช้ถ้อยคำกินความมาก การใช้ถ้อยคำในสำนวนส่วนใหญ่เข้าลักษณะใช้คำน้อยกินความมาก เนื้อความมีความหมายเด่น เช่น ก่อหวอด ขึ้นคาน คว่ำบาตร ขมิ้นกับปูน คมในฝัก กิ้งก่าได้ทอง ใกล้เกลือกินด่าง เด็ดบัวไว้ใย ซึ่งล้วนมีความหมายอธิบายได้ยืดยาว ส่วนที่ใช้ถ้อยคำหลายคำ แต่ละคำก็ล้วนมีความหมายและช่วยให้ได้ความกระจ่างชัดเจน


3. ถ้อยคำมีความไพเราะ การใช้ถ้อยคำในสำนวนไทยมักใช้ถ้อยคำสละสลวยมีสัมผัสคล้องจอง เน้นการเล่นเสียงสัมผัสสระ สัมผัสอักษร ให้เสียงกระทบกระทั่งกัน เกิดความไพระน่าฟังทั้ง สัมผัสภายในวรรคและระหว่างวรรค มีการจัดจังหวะคำหลายรูปแบบ เช่น เป็นกลุ่มคำซ้อน 4 คำ อย่าง ก่อกรรมทำเข็ญ ก่อร่างสร้างตัว คู่ผัวตัวเมีย คู่เรียงเคียงหมอน คำซ้อน 6 คำ เช่น ขิงก็ราข่าก็แรง ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น ยุให้รำตำให้รั่ว ลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง คำซ้อน 8 คำ หรือมากกว่าบ้าง เช่น ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง กำแพงมีหูประตูมีตา เป็นต้น
ลักษณะสัมผัสคล้องจองเป็นร้อยกรองง่ายๆ หลายรูปแบบ มีทั้งคล้องจองกันในข้อความตอน เดียว เช่น ตื่นก่อนนอนหลัง ต้อนรับขับสู้ ผูกรักสมัครใคร่ โอภาปราศรัย และคล้องจองในข้อ ความที่เป็น 2 ตอน ซึ่งมีอยู่จำนวนมากและในข้อความมากกว่า 2 ตอน เช่น น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง เป็นต้น


4. สำนวนไทยมักมีการเปรียบเปรย หรือมีประวัติที่มา ส่วนใหญ่มาจากการเปรียบเทียบกับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ประเพณี ศาสนา นิยาย นิทานต่างๆ กิริยาอาการ และส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตัวอย่างเช่น กลับหน้ามือเป็นหลังมือ นอนตาไม่หลับ ใจดีสู้เสือ กินไข่ขวัญ ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง เป็นต้น


 

สร้างโดย: 
นางแสงทอง สุขเกษม โรงเรียน ปิยะบุตร์ อำเภอ บ้านหมี่ จังหวัด ลพบุรี

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 394 คน กำลังออนไลน์