user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง', 'node/60036', '', '18.118.119.229', 0, '7fa55c2d2cd8c3813a3f56d04a5eacac', 133, 1715922542) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโรงเรียนบ้านจืองาอำเภอเมืองจังหวัดนราธิวาสสังกัดสำนักงานเขตพื

ชื่อผลงาน             :  การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโรงเรียนบ้านจืองาอำเภอเมืองจังหวัดนราธิวาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส  เขต 1

ผู้ประเมิน              :  นางพัชรี   สุวรรณภักดี  ผู้อำนวยการชำนาญการโรงเรียนบ้านจืองา

ปีการศึกษา           :  2554

                               

บทคัดย่อ

 

การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านจืองาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการโรงเรียนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสภาพแวดล้อมของโครงการ  ปัจจัยนำเข้าของโครงการ  กระบวนการของโครงการ และผลผลิตของการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านจืองาอำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส  เขต
1 ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ 
(CIPP Model)  มาเป็นรูปแบบในการประเมินโครงการ  กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง มีจำนวนทั้งสิ้น
  
114  คน   ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน 5 
คน  ครูโรงเรียนบ้านจืองา จำนวน
9  คน 
คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโรงเรียนบ้านจืองา
จำนวน
6  คน  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านจืองา  จำนวน 7  คน  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
46 จำนวน 45
คน และผู้ปกครองจำนวน
42 
คน  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า
(
Rating  Scale)  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย  และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS

สรุปผลการประเมินโครงการ

             1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการโรงเรียนส่งเสริมการจัดกาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านจืองา
โดยการสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ 
ด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ
ความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ  ความเหมาะสม
ของกิจกรรม
และความสอดคล้องกับหลักการของโรงเรียนส่งเสริมการจัดกาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ก่อนดำเนินโครงการโดยระดับความเหมาะสมในความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิประเด็นสภาวะแวดล้อมของโครงการโรงเรียนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโรงเรียนบ้านจืองาในภาพรวมมีความเหมาะสม
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  (
 = 4.34, S.D = 0.068)

                2.
ผลการประเมินด้านปัจจัยของโครงการโรงเรียนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านจืองา
ด้านความพร้อมของบุคลากร ความเหมาะสมของงบประมาณ 
  ความเหมาะสมของวัสดุอุปกรณ์ สื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น  และหน่วยงานที่สนับสนุนก่อนดำเนินโครงการโดยระดับความเหมาะสมในความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านจืองาประเด็นด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการโรงเรียนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโรงเรียนบ้านจืองาในภาพรวมมีความเหมาะสม
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  (
 = 4.33, S.D = 0.154)

3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมในการการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

      3.1 
ระดับความเหมาะสมและการปฏิบัติของครูและคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านจืองาประเด็นด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโรงเรียนบ้านจืองาในภาพรวมมีความเหมาะสมและการปฏิบัติ
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด  (
 = 4.93, S.D = 0.058) 

                     3.2 
ระดับการปฏิบัติของครูและคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านจืองา  ผู้ปกครอง 
และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเด็นด้านกระบวนการการมีส่วนร่วมของโครงการโรงเรียนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโรงเรียนบ้านจืองาในภาพรวมมีการปฏิบัติ
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  (
 = 3.98, S.D = 0.302)

                4.  ผลการประเมินผลที่เกิดกับคุณภาพของผู้เรียน และความพึงพอใจที่เกิดกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

                         4.1  ระดับความคิดเห็นของนักเรียน ประเด็นด้านผลผลิตที่เกิดกับคุณภาพผู้เรียนของโครงการโรงเรียนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโรงเรียนบ้านจืองาในภาพรวมมีความคิดเห็น
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  (
 = 4.35, S.D = 0.216)

                          4.2  ระดับความพึงพอใจของครู 
คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของโรงเรียน   คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้ปกครองและนักเรียน ประเด็นด้านผลผลิตต่อความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องของโครงการโรงเรียนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นโรงเรียนบ้านจืองาในภาพรวมมีความคิดเห็น
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด  (
 = 4.50, S.D = 0.160)

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 321 คน กำลังออนไลน์