0404 วิวัฒนาการของวิทยุไทย 3
วิวัฒนาการของวิทยุไทย 3
ที่มาของภาพ : http://i688.photobucket.com/albums/vv242/ajarnice/chart.jpg
จากบทบัญญัติในมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการปฏิรูปสื่อวิทยุกระจายเสียง ให้มีความเป็นอิสระ มีเสรีภาพ มีความเป็นธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งต่อมาก็ได้มี “พระราชบัญญัติองค์การจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2543” เพิ่มขึ้นมาอีก โดยในมาตรา 26 เขียนไว้ว่า “ให้คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (กสช.) เป็นผู้จัดสรรคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ให้กับผู้ประกอบการภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ตามสัดส่วนที่กำหนด โดยจะต้องให้ภาคประชาชนอย่างน้อย 20% เพื่อใช้ในการทำประโยชน์สาธารณะ และไม่แสวงหาผลกำไร และถ้าหากประชาชนยังไม่พร้อม กสช.ต้องทำหน้าที่สนับสนุนให้ภาคประชาชนเกิดความพร้อมด้วย” ซึ่งจากบทบัญญัติที่ว่านี้ ที่ทำให้เกิดความกังวลกับหน่วยงานที่มีสถานีวิทยุกระจายเสียงอยู่ในความครอบครองจำนวนมาก เกรงว่าจะถูกยึดคลื่นหรือสถานีคืนเพื่อนำไปแบ่งให้ภาคประชาชนจึงเกิดกระแสการต่อต้านขึ้น (ซึ่งที่มีปัญหาในขณะนี้เฉพาะคลื่นวิทยุกระจายเสียงเท่านั้น เพราะการตั้งสถานีวิทยุลงทุนไม่มาก ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ซับซ้อน ใครที่มีความรู้เรื่องช่าง ก็สามารถที่จะผลิตเครื่องส่งเองได้) ส่วนสถานีโทรทัศน์ ต้องลงทุนสูง เชื่อว่าภาคเประชาชนยังไม่มีความพร้อม ไม่มีกำลังพอที่จะดำเนินการได้
ส่วนภาคเอกชน หรือ นายทุนที่เคยทำธุรกิจเหมาเวลาของสถานีวิทยุกระจายเสียงทั่วประเทศ มาจัดสรรขายช่วงต่อ ก็เกรงว่าถ้าแบ่งให้ภาคประชาชน และภาครัฐส่วนหนึ่งแล้ว จะเหลือสถานีที่ภาคเอกชนสามารถทำธุรกิจได้ไม่ถึง 50% จากที่เคยได้ประโยชน์ สร้างกำไรมหาศาล ก็ลดลง ย่อมเกิดผลกระทบต่อรายได้และอาชีพ กระทั่งเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มที่มีส่วนได้เสียอย่างชัดเจน
ในการคัดเลือกคณะกรรมการ กสช. ซึ่งจะมีอำนาจคับฟ้าในอนาคตกับการตัดสินใจเด็ดขาดในวงการวิทยุโทรทัศน์ ที่ผ่านมาจึงถูกมองว่าได้มีการที่ผ่านมาจึงถูกมองว่าได้มีการวางแผนอย่างแยบยล จากบุคคลกลุ่มหนึ่ง ที่เสนอชื่อพวกพ้องเข้ามาเพื่อรับการคัดเลือก ทั้งนี้ก็เพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของอีกกลุ่มที่มาจากภาคประชาชน จึงได้มีการยื่นฟ้องคณะกรรมการสรรหา กสช. และสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อศาลปกครอง ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการสรรหา กสช.ที่เสนอชื่อบุคคล จำนวน 14 คน ให้วุฒิสภาพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการ กสช. และขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนการพิพากษา ให้คณะกรรมการสรรหา ระงับการส่งรายชื่อไปยังวุฒิสภา และศาลปกครองก็มีคำสั่งให้เพิกถอนมติของคณะกรรมการสรรหา กสช. เมื่อวันที่ 24 พ.ค.2544 เนื่องจากพบว่ามีคณะกรรมการสรรหาฯ หลายคนมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงและมีผลประโยชน์ในทางธุรกิจ ซึ่งผิดพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 และให้ยกฟ้องสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หลังจากใช้เวลาในการพิจารณา ถึง 8 เดือน
ในกระบวนการเรียกร้องสิทธิของภาคประชาชน ก็ยังคงดำเนินการต่อไป เมื่อวันที่ 2 มี.ค.2545 องค์กรพัฒนาเอกชน และสมาคมวิชาชีพ เปิดแถลงข่าวขอให้คณะกรรมการสรรหาฯ ลาออก และขอให้คณะกรรมการชุดใหม่ดำเนินการสรรหาด้วยความเป็นธรรม มีหลักเกณฑ์ที่โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ส่วนกรณีที่ศาลปกครองได้มีคำสั่งเพิกถอน คำสั่งของคณะกรรมการสรรหา กสช. ที่ว่าด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการ กสช. ที่ผ่านกระบวนการสรรหามาแล้ว โดยศาลปกครองพิจารณาแล้วเห็นว่ากระบวนการสรรหาไม่โปร่งใส และมีการเอื้อประโยชน์ระหว่างคณะกรรมการสรรหากับผู้สมัคร กสช. โดยหนึ่งในคณะกรรมการสรรหา เปิดใจว่าการนำเรื่องสรรหา กสช. เข้าร้องทุกข์ต่อศาลปกครอง เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ชอบธรรม ก่อนที่จะมีการร้องเรียน ได้สอบถามถึงความไม่โปร่งใสในขั้นตอนแล้ว แต่ไม่ได้รับคำตอบ เพียงแต่ระบุว่าไม่ชอบคณะกรรมการที่ถูกสรรหามาแล้ว แต่ไม่มีเหตุผล ทำให้จนถึงวันนี้ การผลักดันตามมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญ ยังคงมีแต่ความเงียบเฉยของรัฐบาลและส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงแนวทางการปฏิรูปสื่อ เพื่อให้สื่อเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
มาถึงจุดนี้ความหวังที่จะได้เห็น กสช.ชุดใหม่ คงต้องรออีกนาน ไม่แน่ว่าภายใน 5 ปีจะเสร็จสิ้นหรือไม่ ดังนั้นจึงอยากจะเสนอให้ประชาชนคนไทย ร่วมกันสร้างพลังขับเคลื่อน เพื่อจะเป็นแรงผลักดัน ให้การร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ ซึ่งขณะนี้อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการ กฤษฏีกา ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อเป็นการกำหนดกรอบการทำงานที่ชัดเจนของ กสช.ที่จะได้มา แต่ไม่ว่าผลจะออกมาในรูปใดก็ตาม บุคคลเหล่านี้ก็ต้องปฏิบัติตามกรอบของกฏหมายที่ได้วางเอาไว้ผลจะเป็นอย่างไรก็ต้องติดตามกันต่อไป ทั้งหมดนี้คือความเป็นมาของวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน
แหล่งที่มาของข้อมูล
- http://pirun.ku.ac.th/~g5086066/report1g2.doc
- http://std.kku.ac.th/4630801725/Technology%20Internet/e-mail.doc
- http://news.sanook.com/scoop/scoop_100982.php
- http://lightning.prohosting.com/~thaiview/tvhistory.htm
- http://202.129.53.76/watcharee/n6.html
- http://dusithost.dusit.ac.th/librarian/it107/C6.htm
- http://surinrelations.org.www.readyplanet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=251289