user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('สมัยปัจจุบัน', 'node/82695', '', '3.147.47.167', 0, '9c71494f70af3747edadc2e68c97f774', 114, 1722066638) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

0402 วิวัฒนาการของวิทยุไทย 1

วิวัฒนาการของวิทยุไทย 1

ที่มารูปภาพ : http://www.spu.ac.th/commarts/files/2010/09/comart01.jpg

                   “วิทยุกระจายเสียง” เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปี 2470 โดยพระดำริของ "พล.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน” เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ และคมนาคม ในสมัยนั้น ซึ่งได้นำเอาเครื่องส่งวิทยุคลื่นความถี่สูง ที่ใช้ในกิจการวิทยุสื่อสาร หรือที่ฝรั่งเรียกว่า (Short Wave: SW ) กำลังส่ง 200 วัตต์ มาทดลองส่งเสียงพูดและเสียงดนตรี ไปยังผู้รับ ต่อมากองช่าง กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้เปลี่ยนไปทดลองส่งกระจายเสียงด้วยคลื่นความถี่ปานกลาง ( Medium Wave : MW ) เพื่อออกอากาศภายในประเทศ ส่วนการส่งกระจายเสียงไปต่างประเทศก็ยังคงใช้ระบบ SW เช่นเคย

                  จนถึงปี 2473 รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยุโทรเลข ฉบับแรก และมีการแก้ไขเพิ่มเติมในปีเดียวกันเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมีเครื่องรับวิทยุได้ ซึ่งในสมัยนั้นใครจะมีเครื่องรับวิทยุสักเครื่องหนึ่ง ไม่ใช่ว่ามีเงินแล้วจะหาซื้อได้ แต่จะต้องขออนุญาตมีและใช้จากกรมไปรษณีย์โทรเลขก่อนถึงจะซื้อได้
                  ปี 2475 กรมไปรษณีย์โทรเลข ได้โอนกิจการวิทยุกระจายเสียง ไปอยู่ในสังกัด กรมโฆษณาการ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น กรมประชาสัมพันธ์ ในปี 2495 และก็ใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน ความก้าวหน้าที่เห็นได้ชัดเจนในยุคนั้น ก็คือการขยายเครือข่ายสถานีไปในส่วนภูมิภาค จนกระทั่งมีสถานีวิทยุ "แห่งประเทศไทย” อยู่ในทุกจังหวัด จนถึงปัจจุบัน โดยที่ตลอดเวลาจาก 2475-2495 "สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย" จะมีบทบาทในฐานะสื่อของรัฐเท่านั้น ซึ่งก็สุดแต่รัฐบาลต้องการที่จะให้ประชาชนรับรู้เรื่องอะไร ก็จะนำเสนอ ในเรื่องนั้น เรื่องไหนที่ไม่ต้องการให้ประชาชนได้รับรู้ก็ไม่พูด ซึ่งประชาชนจะไม่มีสิทธิที่จะได้รับรู้ความผิดพลาดของรัฐบาลเลย นอกจากความดีเพียงด้านเดียว 

ที่มาของภาพ : http://1.bp.blogspot.com/-u1mYLFx1oSs/TcjobdV_EsI/AAAAAAAAAB0/hNpkgw8DFFA/s1600/1244866449_97.jpg

                  จนถึง 2497 รัฐบาลของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม (2492-2500) ได้ก่อตั้งบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด ขึ้น ด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท เพื่อดำเนินกิจการสถานีโทรทัศน์ ช่อง 4 บางขุนพรหม และ สถานีวิทยุ ท.ท.ท. โดยมีกรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถึง 11 ล้านบาท นอกจากนั้นจะเป็นหน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ถือหุ้นอีกรายละ 1-2 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการ “ปฏิรูปกิจการกระจายเสียง” เป็นครั้งแรก ซึ่งถือครั้งสำคัญ เนื่องจากอนุญาตให้วิทยุ-โทรทัศน์สามารถรับทำโฆษณาด้านข่าวสารการค้าเป็นสื่อเพื่อความบันเทิง ได้นั่นเอง
                  ในระหว่างปี 2510-2520 ถือเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของคนไทย กับบทบาทของกิจการวิทยุกระจายเสียง จากเหตุการณ์สำคัญหลายๆ เหตุการณ์ และที่ยังคงอยู่ในความทรงจำของคนไทย ก็คือเหตุการณ์เมื่อ 6 ตุลาคม 2516 และ 16 ตุลาคม 2519 ซึ่งสถานีวิทยุยานเกราะเป็นแม่ข่ายเชื่อมโยงสถานีวิทยุทหารกว่า 200 สถานีทั่วประเทศ ออกอากาศโจมตีนักศึกษา และประชาชนที่ออกมาต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย โดยกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นภัยต่อสังคม โดยที่อีกฝ่ายไม่มีโอกาสได้ตอบโต้เลย ทั้งอาวุธทั้งข้อกล่าวหาจนถึงขั้นนำไปสู่การฆ่าฟันกันเองของคนไทยด้วยกัน ผู้คนล้มตายไปหลายร้อยหลายพันชีวิตจากหลายๆ เหตุการณ์

  

ที่มาของภาพ : http://accomthailand.files.wordpress.com/2008/02/oct06-08.jpg

ที่มาของภาพ : http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/466/9466/images/14oct01.jpg

ที่มาของภาพ : http://www.matichon.co.th/online/2012/10/13495202591349521110l.jpg

 

แหล่งที่มาของข้อมูล

 

/files/u1197/reply-00000028359_0.gif

สร้างโดย: 
ปราญชลี ศาศวัตเตชะ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 258 คน กำลังออนไลน์