ประเพณีทำบุญสืบชะตาเมืองเชียงใหม่

 

 

ประเพณีการบูชาเทียนประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้าประเพณีกรวยสลากประเพณีตานเฮือนน้อยประเพณีเดินขึ้นดอยประเพณีบวชลูกแก้วประเพณีชาวไทยลื้อเมืองล้าประเพณีลากปราสาทประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัยประเพณีทำบุญสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ประเพณีเดือนยี่เพง-ยี่เป็งประเพณีลอยกระทงสายประเพณีลอยโคมประเพณีแล้อุ๊ป๊ะตะก่าประเพณีแหล่ส่างลองประเพณีอุ้มพระดำน้ำประเพณีแห่สลุงหลวง

 

 

 

ผู้จัดทำ 
ภาคเหนือ 
ภาคกลาง 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
ภาคใต้ 
ผู้จัดทำ 

 

สืบชะตาเมืองเชียงใหม่

การสืบชะตา

           ความเชื่อแต่โบราณว่า การเกิดเมืองหรือการสร้างเมืองนั้น สร้างตามฤกษ์ยามที่เป็นมหามงคลตบะ เดชะ เหมือนกับการเกิดของประชาชนที่มีความสุข ความเจริญ ความสุขสมหวัง และบางครั้งก็เสื่อมโทรมอับเฉาเศร้าหมอง นานัปการ เมื่อประสบกับปัญหาเหล่านี้ ชาวล้านนาไทยมีความเชื่อว่า หากได้ทำบุญสืบชะตาจะช่วยให้ทุกสิ่งทุกอย่างดีขึ้น เหมือนเดิมปรือยิ่งกว่า จึงปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน สืบชะตา ได้แก่ การสืบชะตาการเกิด, สืบอายุ, สืบชีวิต ให้ยืนยาวออกไปนานเท่านาน ผู้ใดปรารถนาจะมีอายุยืนต้องประกอบพิธีสืบชะตาเสมอ จึงจะมีความสุข
การสืบชะตา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. สืบชะตาคนและสัตว์
2. สืบชะตาบ้าน
3. สืบชะตาเมือง

พิธีกรรม

          การสืบชะตามีพิธีกรรมที่สำคัญ คือ เครื่องพิธีสืบชะตา ประกอบด้วย
- ไม้ค้ำ มีความหมายว่า จะค้ำจุนชีวิตให้มั่นคง
- ขัวไต่ หมายถึง สะพานชีวิตที่จะมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น
ขั้นไดเงิน, ขั้นไดคำ, ขั้นไดนาก หมายถึง บันไดเงินทองและนาก ซึ่งเป็นสิ่งดีงามที่จะก้าวขึ้นไปสู่ความเจริญ มะพร้าวงอก, หน่อกล้วย, หน่ออ้อย เป็นเครื่องหมายแห่งความเจริญงอกงามและก่อประโยชน์มากมายบ้านแต่ละแห่งที่ตั้งขึ้นมาถือว่าเกิดขึ้นเหมือนกัน นานไปจะต้องเสื่อมโทรมและห่างร้าง ต้องทำการสืบชะตาทุกปี ประเพณีนี้นิยมทำกันหลังงานประเพณีสงกรานต์ผ่านไป 4-5 วัน ในระหว่างวันที่ 20 - 25 เมษายน ของทุกปี บางหมู่บ้านอาจทำซ้ำอีก เมื่อมีภัยเกิดขึ้น เช่น คนตายผิดปกติ หรือมีการเจ็บป่วยกันมาก หรือมีสัตว์ร้ายเข้ามาในบ้าน ถือเป็นอุบาทว์ ต้องขจัดปัดเป่าด้วยพิธีกรรมหลายอย่าง และให้มีการสืบชะตาประชาชนทั้งหมู่บ้าน งานนี้มีผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน ฝ่ายชาวบ้าน เจ้าอาวาสวัดในหมู่บ้าน เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ร่วมกันทำพิธี
ประเพณีสืบชะตา 3 ประเภท คือ สืบชะตาคนและสัตว์ สืบชะตาบ้าน และสืบชะตาเมืองนี้ เป็นประเพณีที่ทรงค่าในด้านการให้กำลังใจและบำรุงขวัญ สร้างสำนึกในความเป็นพลเมืองดี รวมทั้งการสมัครสมานสามัคคีระหว่างชนชั้นปกครองและอาณาประชาราษฎร์ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้และศึกษาให้ทราบถึง ค่านิยมสารัตถะ ที่ซ่อนอยู่ในประเพณีเป็นอเนกประการ

จัดทำโดย

นางสาววิยะดา แก้วประเสริฐศรี นางสาวกิ่งดาว แก้วนารี นางสาววิมลนุช กิตติดำรงชัย

โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

Copyright(c) 2006 Ms.Wiyada Kaewprasertsri Ms.Kingdao Kaewnaree Ms.Wimonnuch Kittidumrongchai. All rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com