ภาคกลาง

 

 

Homeผู้จัดทำภาคเหนือภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคใต้ผู้จัดทำ

  

 

ประเพณีสงกรานต์ 
ประเพณีงานแห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนางชี 
ประเพณีถือศีลกินเจ 
ประเพณีถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า 
ประเพณีการแข่งเรือ 
ประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายข้าวเปลือก 
ประเพณีวิ่งควาย 
ประเพณีตราดรำลึก 
ประเพณีสู่ขวัญข้าว 
ประเพณีแห่ธงสงกรานต์ 
ประเพณีทำบุญโคนไม้ 
ประเพณีกวนข้าวทิพย์ 
ประเพณีแห่ธงตะขาบ 
ประเพณีทอดผ้าป่าน้ำเพ็ง 
ประเพณีเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธร 
ประเพณีแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ 
ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง 
ประเพณีถวายสลากภัต 
ประเพณีสรงน้ำเจ้าพ่อพระปรง 
ประเพณีพิธีรำโรง 
ประเพณีกำฟ้า 
ประเพณีตักบาตรดอกไม้ 
ประเพณีตักบาตรเทโว 
ประเพณีกองข้าว 
ประเพณีคนตายตีฆ้อง 
ประเพณีทำบุญกลางบ้าน 
ประเพณีวันไหล 
ประเพณีกวนข้าวทิพย์ 

 

 

 

ภาคกลาง  

                   ภูมิภาคนี้มีพื้นที่เป็นรองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ แต่มีจำนวนจังหวัดมากถึง 22 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย นนทบุรี นครนายก พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ กรุงเทพมหานคร นครปฐม สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ อ่างทอง อุทัยธานี ชัยนาท อยุธยา ปทุมธานี สิงห์บุรี ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศ เพราะมีลำน้ำสำคัญไหลผ่านภาคนี้คือแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งพื้นที่เป็นที่ราบ เมื่อมีน้ำจึงทำการเกษตรกรรมได้ดี
                    
นอกจากนั้นพื้นที่ในภาคกลางได้รับการพัฒนาในด้านการชลประทานที่ครอบคลุมพื้นที่กว้าง จึงทำให้เกษตรกรสามารถทำนาและปลูกพืชได้เกือบตลอดปี ประชากรในภูมิภาคนี้มีความคุ้นเคยกับการเกษตรเพื่อการค้า นอกจากปลูกข้าวแล้วมีการปลูกพืชผลไม้ได้หลายอย่าง การเพาะปลูกทำอย่างทันสมัยและได้คุณภาพ นอกจากนั้นยังอยู่ใกล้แหล่งตลาดที่บริโภคคือกรุงเทพมหานคร หรือแม้แต่ส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศก็ทำได้สะดวก จึงทำให้ภาคนี้มีความได้เปรียบในทุก ๆ ด้าน ประชากรพูดภาษาไทยสำเนียงภาคกลาง บางท้องถิ่นอาจเพี้ยนไปจากสำเนียงไทยภาคกลางที่กรุงเทพฯ เล็กน้อย การแต่งกายแต่ดั้งเดิมหญิงนุ่งผ้าโจงกระเบน ภายหลังเปลี่ยนมานุ่งผ้าซิ่นยาวถึงข้อเท้า สวมเสื้อแขนสามส่วนเอวปล่อย ส่วนชายนุ่งกางเกงครึ่งน่อง สวมเสื้อคอกลม อย่างไรก็ตามการแต่งกายในภาคกลางได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามสมัยนิยม ปัจจุบันมีชุดไทยพระราชนิยม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เมื่อมีงานพิธีหรือในโอกาสพิเศษ
                     อาชีพในภาคกลาง ส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูก คือการทำนา แต่จะมีอาชีพอย่างอื่นอีกมาก เช่น การทำไร่ข้าวโพด ข้าวฟ่าง การทำสวนผัก สวนผลไม้ เช่น สวนส้ม ส้มโอ มะขามหวาน มะม่วง การเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงสุกร วัวเนื้อ วัวนม ไก่เนื้อ ไก่ไข่ ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีการอุตสาหกรรมต่าง ๆ การค้า งานบริการ ล้วนแต่เป็นอาชีพสำคัญ กรุงเทพมหานครเป็นนครที่ใหญ่โตมีประชากรมาก รวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกอย่างไว้ และขณะเดียวกันก็รวมเอาปัญหาสารพัดอย่างไว้ด้วย เช่น ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพย์ติด การจราจรติดขัด มลพิษทั้งอากาศและน้ำ ภาคกลางจึงเป็นศูนย์รวมทางเศรษฐกิจทุกด้าน ดังนั้นประชากรในเขตนี้โดยเฉลี่ยจึงมีความเป็นอยู่ดีกว่าประชากรในเขตอื่น ขณะที่ประทศเริ่มมีผลิตผลทางอุตสาหกรรมมากขึ้น การขยายตัวได้เริ่มจากภาคนี้และทำให้ในปัจจุบันมูลค่าการส่งออกของผลิตผลทางอุตสาหกรรมมีมากกว่ามูลค่าการส่งออกของผลิตผลทางด้านเกษตรกรรม ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเราส่งสินค้าทางการเกษตรน้อยลง แต่เป็นผลมาจากการเปรียบเทียบมูลค่าระหว่างสองกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เนื่องจากภาคกลางเป็นแหล่งอาชีพที่สำคัญจึงพบว่าประชากรในภูมิภาคอื่นได้อพยพมาหางานในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียง นอกจากประชากรในประเทศเราแล้วยังมีคนต่างประเทศ เช่น กัมพูชา พม่า ลาว บังกลาเทศ ได้พยายามแอบมาหางานทำในภูมิภาคนี้ จึงนับได้ว่าภาคกลางเป็นภาคที่ก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจกว่าภูมิภาคอื่นๆ  

 

 

จัดทำโดย

นางสาววิยะดา แก้วประเสริฐศรี นางสาวกิ่งดาว แก้วนารี นางสาววิมลนุช กิตติดำรงชัย

โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

Copyright(c) 2006 Ms.Wiyada Kaewprasertsri Ms.Kingdao Kaewnaree Ms.Wimonnuch Kittidumrongchai. All rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com