ประเพณีวันไหล

 

 

ประเพณีสงกรานต์ประเพณีงานแห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนางชีประเพณีถือศีลกินเจประเพณีถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้าประเพณีการแข่งเรือประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายข้าวเปลือกประเพณีวิ่งควายประเพณีตราดรำลึกประเพณีสู่ขวัญข้าวประเพณีแห่ธงสงกรานต์ประเพณีทำบุญโคนไม้ประเพณีกวนข้าวทิพย์ประเพณีแห่ธงตะขาบประเพณีทอดผ้าป่าน้ำเพ็งประเพณีเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธรประเพณีแห่ผ้าห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งประเพณีถวายสลากภัตประเพณีสรงน้ำเจ้าพ่อพระปรงประเพณีพิธีรำโรงประเพณีกำฟ้าประเพณีตักบาตรดอกไม้ประเพณีตักบาตรเทโวประเพณีกองข้าวประเพณีคนตายตีฆ้องประเพณีทำบุญกลางบ้านประเพณีวันไหลประเพณีกวนข้าวทิพย์

 

 

ผู้จัดทำ 
ภาคเหนือ 
ภาคกลาง 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
ภาคใต้ 
ผู้จัดทำ 

 

    วันไหล คือ วันทำบุญขึ้นปีใหม่ของชาวทะเล โดยกำหนดหลังวันมหาสงกรานต์ประมาณ 5-6 วัน เดิมเรียกว่า ประเพณีก่อพระทรายน้ำไหล วัดไดอยู่ใกล้แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึงในบริเวณนั้น ก็จะจัดประเพณีขึ้นโดยชาวบ้านจะช่วยกันชนทรายตามชายหาดใกล้ ๆ เข้าวัด ทำให้วัดนั้น ๆ ได้รับประโยชน์ในการใช้ทรายก่อสร้างเสนาสนะและปูชนียสถานในวัด หรือถมบริเวณวัด วันก่อพระทรายน้ำไหล เป็นวันที่ชาวบ้านขนทรายมาเข้าวัด เพื่อก่อเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ เพื่อให้ครบ 84000 กอง เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ เจดีย์ทรายตกแต่งอย่างวิจติรบรรจงประดับด้วยดอกไม้ และธงต่าง ๆ เพื่อเป็นพุทธบูชา มีการละเล่นพื้นเมืองเพื่อความสามัคคีและสนุกสนานรื่นเริง มีการทอดผ้าป่า ทำบุญเลี้ยงพระเนื่งในเทศกาลตรุษไทย และจัดเลี้ยงผู้คนที่มาร่วมงานด้วย  ปัจจุบันสถาพบ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การขนทรายเข้าวัดดังเช่นในอดีตที่เคยใช้การหาบเข้ามาก็เปลี่ยนเป็นบรรทุกใส่รถยนต์แทน เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็ว วัดหลายวัดจึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะใช้ทรายที่ถูกซัดมารวมที่ คู หนอง คลอง บึง ประกอบกับสถานที่ดังกล่าวเกิดสถาพตื้นเขิน งานก่อพระทรายจึงเปลี่ยนไป และเรียกกันง่าย ๆ ว่า วันไหล หรือ ประเพณีวันไหล จังหวัดชลบุรีได้จัดงานวันไหลและส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณชายหาดบางแสน และชายหาดพัทยา ขึ้นประมาณวันที่ 17-18 เมษายน ของทุกปี ในเทศกาลวันไหลจะมีการจัดกิจกรรมหลายอย่าง อาทิ การทำบุญใส่บาตร การสรงน้ำพระพุทธรูป การเล่นสาดน้ำสงกรานต์ การก่อพระเจดีย์ทราย การแข่งขันกีฬาพื้นเมือง การแข่งขันด้านอาชีพ ฯลฯ นอกจากนี้สุภาพสตรีคนใดที่มาร่วมงานด้วยการแต่งกายแบบไทยก็จะมีแมวมองส่งเข้าประกวดขวัญใจงานวันไหล โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งสามารถสร้างความสนใจในหมู่ชาวไทย และชาวต่างประเทศได้อย่างดียิ่ง ในปี พ.ศ. 2540 การจัดงานประเพณีวันไหลชายหาดบางแสนได้เปลี่ยนชื่องานเป็น งานก่อพระทรายวันไหลบางแสน นับเป็นประเพณีท้องถิ่นที่ทรงคุณค่าและควรแก่การอนุรักษ์ไว้

จัดทำโดย

นางสาววิยะดา แก้วประเสริฐศรี นางสาวกิ่งดาว แก้วนารี นางสาววิมลนุช กิตติดำรงชัย

โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

Copyright(c) 2006 Ms.Wiyada Kaewprasertsri Ms.Kingdao Kaewnaree Ms.Wimonnuch Kittidumrongchai. All rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com