อาหารไทย

 เครื่องเทศนานาชนิด

 พริก ( Capsicum spp.) ชื่อเรียกทั่วไปได้แก่ chilli, chilli peppers, cayenne, cayenne pepper เป็นต้น พริกชนิดต่างๆ ได้แก่ พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกเหลือง พริกหยวก พริกฝรั่ง เป็นต้น สารสำคัญในพริก ซึ่งทำให้พริกมีรสเผ็ดร้อนคือ แคปไซซิน(capsaicin)เมื่อสักประมาณ 30 ปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ของชนผิวขาว ยังกล่าวว่าพริกเป็นพืชพิษ รับประทานแล้วก่อให้เกิดมะเร็งได้ แต่ปัจจุบันนี้ มีรายงานการวิจัยว่า พริกป้องกันการเกิดเป็นมะเร็งได้ และชนผิวขาวรู้จัก และนิยมรับประทานพริกมากขึ้น

พริกไท ( Piper nigrum ) ชื่อเรียกทั่วไปว่า pepper ซึ่งมีทั้งพริกไทสด เช่น เมล็ดพริกไทอ่อน พริกไทแห้ง ซึ่งถ้าทำแห้งทั้งเปลือกจักได้พริกไทดำ ซึ่งเมื่อป่นแล้วเห็นมีผงของเปลือกเป็นสีดำปนอยู่ ส่วนพริกไทขาว ได้ลอกส่วนของเปลือกออก คุณประโยชน์ทางยาของพริกไท ได้แก่ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น ระงับอาเจียน ผ่อนคลายอาการไม่สบายในกรณีที่ อาหารเป็นพิษจากอาหารทะเลและเนื้อสัตว์

ตะไคร้ ( Cymbopogon citratus ) ชื่อเรียกทั่วไปว่า lemon grass นอกจากตะไคร้ทำแกงที่กล่าวมาแล้ว ในประเทศไทยเรายังมีตะไคร้หอม ( Cymbopogon nardus ) ชื่อเรียกทั่วไปว่า Citronella grass นำมากลั่นให้น้ำมันตะไคร้หอม มีสรรพคุณไล่ยุง โดยปกติคนไทย ไม่ได้ใช้รับประทาน ดังนั้น ต้องไม่สับสนกับตะไคร้ธรรมดาที่เราท่านใช้ทำแกง

ตะไคร้แกง ( Citronella grass ) มีคุณสมบัติทำลาย เชื้อแบคทีเรียและเชื้อราได้ และยังลดอาการปวดมวนท้อง จากกล้ามเนื้อเกร็ง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น และช่วยขับเหงื่อ

ข่า ( Alpinia galanga ) ใช้ได้ทั้งสดและแห้ง นอกจากเป็นส่วนผสมในเครื่องแกงแล้ว ยังมีชื่อเสียงในตำรับอาหารอื่นๆ ด้วย เช่น ไก่ต้มข่า นอกจากข่าช่วยให้อาหารมีกลิ่นและรสอร่อยเฉพาะตัวแล้ว ยังมีสรรพคุณช่วยย่อยและช่วยขับลม ทำให้รู้สึกสบายท้อง ท้องไม่อืดเฟ้อหลังรับประทานอาหาร นอกจากใช้ข่ารับประทานแล้ว ยังใช้ฝนขับเหล้าโรง หรือ เอททิล แอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) ทารักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนังได้ดีอีกด้วย นอกจากนี้ น้ำมันสกัดจากข่า ยังใช้แต่งกลิ่นรสของเครื่องดื่มผสมและไม่ผสมสุราได้ด้วย

มะกรูด ( Citrus hystrix )  ใช้ทั้งใบและผล รวมทั้งส่วนของผิวและน้ำคั้นจากเนื้อในผล ส่วนของใบ ทั่วไปเรียกว่า Citrus leaf ส่วนของผลเรียกว่า Leech lime นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ลูกมะกรูดลนไฟ คั้นน้ำสระผม ช่วยให้ผมดกดำสวยงาม

ขมิ้นชัน ( Curcuma longa ) เรียกทั่วไปว่า Turmeric ปกติขมิ้นชัน ใช้ทั้งแต่งกลิ่นและแต่งสีด้วย ทำให้แกงมีสีเหลืองสดใส และกลิ่นหอมน่ารับประทาน ในเหง้าของขมิ้นชันที่เราใช้
รับประทานมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีสรรพคุณช่วยย่อยและขับลมบำรุงธาตุ นอกจากนี้ ยังมีสารสีเหลืองเคอร์คูมิน ( curcumin ) มีสรรพคุณป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งได้ด้วย ดังนั้น นอกจากใช้เป็นอาหารแล้ว ยังใช้ทำยาด้วย ขมิ้นอีกชนิดที่ใช้มาก คือ ขมิ้นอ้อย (Curcuma zedoaria) มีสีเหลืองเข้มน้อยกว่าขมิ้นชัน ปกติไม่ได้ใช้ รับประทาน ใช้เป็นส่วนผสม ในเครื่องสำอางสมุนไพร ใช้ขัดหน้า ขัดผิว แก้สิว ฝ้า ช่วยให้ผิวพรรณผุดผ่องงดงาม

ผักชี ( Coriandrum sativum ) มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ทั้งต้น ตั้งแต่รากถึงใบและส่วนของผลที่เรียกว่าลูกผักชี คนไทยนิยมใช้ใบผักชีโรยหน้าอาหารจานเด็ดจำพวกยำทั้งหลาย รวมทั้งอาหารผัดและทอดบางประเภทด้วย ส่วนลูกผักชีเข้ากันได้ดีกับยี่หร่า กระเทียม พริกไท ตำผสมกันสำหรับใช้ปรุงอาหารประเภทต่างๆ ผักชีมีสรรพคุณขับลม บรรเทาอาการปวดมวนในท้อง เนื่องจากการเกร็งตัวของลำไส้ ทั้งใบและลูกผักชีเมื่อนำไปเคี้ยว มีรสหวานเล็กน้อย ช่วยให้ลมหายใจสดชื่น

ยี่หร่า หมายถึง เครื่องเทศได้หลายชนิด ซึ่งคนไทยล้วนเรียกว่า ยี่หร่า ในอาหารไทยที่มีส่วนประกอบ ของลูกผักชีลูกยี่หร่า ลูกยี่หร่านี้อาจจะใช้ผลของคูมิน cumin (Cuminum cyminum ) หรือผลของเฟนเนล fennel (Foeniculum vulgare) ก็ได้ ส่วนใบยี่หร่า ซึ่งหน้าตาเหมือนใบกะเพรา แต่ว่ามีขนาดของใบ กิ่งก้าน และลำต้นใหญ่กว่า กลิ่นและรสชาติสู้กะเพราขาว และกะเพราะแดงของไทยไม่ได้ แต่ใบยี่หร่านี้คนเวียดนามนิยมรับประทาน บางครั้ง คนไทยก็เรียกใบยี่หร่านี้ว่า โหระพาช้างหรือกะเพราญวน มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Ocimum gratissimum

โหระพา ( Ocimum basilicum ) ในอาหารไทยใช้ใบของโหระพา ทั้งรับประทานสดและใส่ในทั้งแกงเผ็ดและผัดเผ็ด ผัดขี้เมา เป็นต้น ช่วยให้รสชาติอาหารเป็นไทยมากขึ้น เรียกว่าไม่ควรขาดหรือขาดไม่ได้ทีเดียว ใบโหระพามีรสหวานเล็กน้อยและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีชื่อเรียกทั่วไปว่า Common basil หรือ Sweet basil เมื่อรับประทานใบโหระพาเข้าไป มีสรรพคุณดังนี้ คือ ช่วยบรรเทาอาการเป็นไข้ โดยเฉพาะจากไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น ช่วยไม่ให้อาเจียน บรรเทาอาการปวดเกร็งในท้อง รวมทั้งกระเพาะและลำไส้อักเสบ ช่วยให้กระปรี้กระเปร่าสดชื่น พ้นจากสภาพเซื่องซึมหมดพลังงาน ใบโหระพายังใช้ภายนอก สำหรับขยี้ทาแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยได้ด้วย

สร้างโดย: 
ณัฐ รัตนวรรณ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 376 คน กำลังออนไลน์