• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:85c4c59cf8e2b3b7c5e0cf77dce3f60d' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><div style=\"text-align: center\">\n<img height=\"150\" width=\"600\" src=\"/files/u40061/27.jpg\" border=\"0\" />\n</div>\n<div style=\"text-align: center\">\n<img height=\"300\" width=\"300\" src=\"/files/u40061/12575176153835en2.jpg\" border=\"0\" />\n</div>\n<p>\nในสมัยอดีต การเขียนเรื่องต่างๆไม่ว่าจะเป็นแบบแผนทางวัฒนธรรม ตำรา หรือการวาดรูป มนุษย์ในสมัยก่อนใช้อุปกรณ์ที่เป็นแปรงหรือกิ่งไม้เล็กๆ และเหล็กที่มีปลายแหลม นำไปเผาไฟจุ่มลงในน้ำหมึกเพื่อใช้ในการขีดเขียน ( ภาษาโรมันเรียกแปรงหรือเหล็กแหลมนี้ว่า &quot; Pencillus &quot; หรือ &quot; Little tail &quot; ซึ่งต่อมากลายเป็นคำว่า &quot; Pencil &quot; มีความหมายว่า &quot; หางน้อย &quot; ) ส่วน &quot; ปากไก่ หรือ ปากกาขนห่าน &quot; เริ่มมีการประดิษฐ์ขึ้นใช้ในทวีปยุโรป<br />\nเมื่อศตวรรษที่ 6ดินสอ สิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้แท่งเล็กๆ ยาวประมาณ 7 นิ้ว บรรจุภายในด้วยแกรไฟต์ นับว่าเป็นเครื่องมือของการขีดเขียนที่มีราคาถูกที่สุด ในการทำงานด้านการเขียนต่างๆ ที่ยังไม่แน่ใจในความถูกต้อง และอาจจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงผลงานต่างๆ อาทิเช่น งานวาดรูป งานออกแบบเสื้อผ้า ฯลฯ ไปจนถึงสูตรทำระเบิดนิวเคลียร์ ต่างก็เกิดขึ้นจากดินสอทั้งนั้น<br />\nกำเนิดและประวัติของดินสอ<br />\nเมื่อประมาณ 400 กว่าปีก่อน บาทหลวงชาวสวิสเซอร์แลนด์ได้เป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องเขียนที่ทำจากขนนกขึ้นเป็นครั้งแรก แต่ใช้ต้นทุนค่อนข้างสูงและไส้ดินสอมีความเปราะเกินกว่าจะใช้ในงานเขียนปกติได้ ทำให้งานเขียนช้ามาก ต่อมาในปี ค.ศ. 1564 ได้มีการค้นพบวัสดุที่ใช้ทำไส้ดินสอได้ดีโดยบังเอิญ เนื่องจากเกิดพายุใหญ่ในทุ่งเลี้ยงแกะ ใกล้กับหมู่บ้านบอร์โรว์เดล ตำบลคัมเบอร์แลนด์ ประเทศอังกฤษ ต้นไม้ใหญ่ถูกพายุพัดถอนรากถอนโคนเป็นจำนวนมาก หลังจากพายุสงบชาวบ้านได้พบหินสีดำอยู่ใต้ดิน ณ บริเวณรากของต้นไม้ที่โค่นล้ม เมื่อทดลองนำมาขีดเขียน ปรากฏว่ามีความคมชัดดีมาก คนเลี้ยงแกะจึงนำมาเขียนสัญลักษณ์ลงบนตัวแกะของตนเอง หินสีดำที่ค้นพบในครั้งนั้นคือ แกรไฟต์ ( Graphite เป็นคาร์บอนชนิดหนึ่ง ) หลังจากนั้นไม่นานมีผู้นำหินนี้มาทำเป็นแท่งและนำไปขายโดยโฆษณาว่าเป็น &quot; หินสี &quot; สามารถนำไปเขียนบนสิ่งใดก็ติดทั้งนั้น พ่อค้านิยมซื้อไปเขียนตราสัญลักษณ์และทำเครื่องหมายบนสินค้า หรือหีบห่อที่บรรจุสินค้าของตน เพื่อเป็นการบอกชนิด จำนวน และราคาของสินค้านั้นๆ<br />\nต่อมาพระเจ้าจอร์ช ที่ 2 ได้ยึดเหมืองแร่แกรไฟต์แห่งบอร์โรว์เดลให้เป็นของรัฐ โดยเข้าไปดำเนินการแบบผูกขาด (แกรไฟต์ เป็นวัตถุสำหรับทำกระสุนปืนใหญ่) ไม่ต้องการให้ประชาชนเข้าไปเกี่ยวข้อง เกรงจะถูกแย่งชิง โดยเปิดดำเนินการปีละ 2 - 3 เดือน เท่านั้น เพื่อเป็นการสงวนทรัพยากรธรรมชาติและลดต้นทุนในการผลิต ขณะหยุดดำเนินการจะห้ามไม่ให้ผู้ใดเข้ามาภายในเหมืองแร่อย่างเด็ดขาด<br />\nครั้งแรกที่ผลิตแท่งแกรไฟต์ออกจำหน่ายได้พบว่ามีข้อบกพร่องอยู่ 2 ประการ คือ เวลาเขียนจะมีสีดำสกปรกติดมือ และเปราะแตกหักง่าย จึงทำการแก้ไขด้วยการนำเชือกเส้นเล็กๆพันไว้รอบจนแน่นตลอดแท่ง แล้วคลายออกทีละน้อยเวลาใช้ขีดเขียนเพื่อไม่ให้สีดำติดมือ ส่วนการเปราะและแตกหักง่ายได้รับการแก้ไขให้ใช้งานได้ดีขึ้นในปี ค.ศ. 1761 คาสปาร์ เปเปอร์ (ช่างงานฝีมือชาวบาวาเรีย) ซึ่งอดีตเป็นนักเคมี ได้นำแท่งแกรไฟต์ไปบดให้ละเอียดแล้วผสมด้วย กำมะถัน พลวง และยางสน จากนั้นจึงนำไปใส่ในพิมพ์ทำเป็นแท่ง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน<br />\nปี ค.ศ. 1795 พระเจ้านโปเลียนที่ 1 มีรับสั่งให้ นิโคลาส แจ๊ค ดังเต้ ซึ่งเป็นหัวหน้านักเคมีและนักประดิษฐ์ชั้นแนวหน้าของประเทศฝรั่งเศส นำแกรไฟต์ที่สามารถหาได้ทั้งหมดในฝรั่งเศสมาทำเป็นดินสอ แต่เมื่อนานเข้าทำให้เกิดการขาดแคลนแกรไฟต์ นิโคลาสจึงได้นำเอาแกรไฟต์มาบดเป็นผงแล้วผสมเข้ากับดินเหนียวชนิดหนึ่ง (Clay) ในสัดส่วนที่แตกต่างกันเพื่อหาส่วนผสมที่ดีที่สุด แล้วจึงนำไปเข้าเตาเผา จนกลายเป็นต้นตำรับของการทำดินสอ คือ เนื้อเหนียวขึ้น ไม่หักเปราะง่าย และด้วยการเพิ่มดินเหนียวเข้าไปตามอัตราส่วนนี้เองทำให้สามารถผลิตไส้ดินสอออกมาได้หลายขนาด คือ แข็ง ( Hard ) หรือ H ลงมาจนอ่อนสามารถเขียนได้ติดดำสนิท ( Black ) หรือ B ซึ่งในปัจจุบันมีตั้งแต่ 5 H และ 6 B เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน<br />\nต่อมาชาวอเมริกัน ชื่อ วิลเลียม มอนโร ซึ่งเป็นช่างทำเฟอร์นิเจอร์ ได้ประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับผลิตดินสอขนาดมาตรฐานได้สำเร็จ สามารถตัดไม้ออกเป็นแผ่นบางๆ ยาวประมาณ 6-7 นิ้ว เซาะเป็นร่องเล็กๆตลอดความยาวของแผ่นไม้ เพื่อบรรจุแท่งแกรไฟต์ และใช้ไม้อีกแผ่นหนึ่งเซาะร่องไว้อย่างชิ้นแรก นำมาทากาวแล้วประกบลงไป ซึ่งเป็นดินสอที่มีไม้หุ้มและเป็นดินสอที่ทันสมัยแท่งแรกของโลก เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการขีด - เขียน ที่มีราคาถูกและ สะดวก รูปร่างกระทัดรัดและสวยงาม เป็นที่ยอมรับในทุกวงการ ทำให้ปากกาขนห่านจุ่มน้ำหมึกในสมัยนั้นเสื่อมความนิยมไป<br />\nวัสดุที่ใช้ทำดินสอ<br />\nในปัจจุบันดินสอทำด้วยวัตถุดิบที่แตกต่างกันออกไปกว่า 40 ชนิด แต่ดินสอที่ดีที่สุด คือดินสอที่ใช้อุปกรณ์ในการทำดังนี้ <br />\nGraphite จากประเทศศรีลังกา มาดากัสการ์ และเม็กซิโก <br />\nClay จากประเทศเยอรมัน <br />\nยาง (ใช้ทำยางลบ) จากประเทศมาเลเซีย <br />\nแร่พลวง (ใช้เป็นตัวเชื่อมของ Graphite กับ Clay) จากประเทศเบลเยี่ยม และตามบริเวณชายฝั่งของประเทศเดนมาร์กเท่านั้น      <br />\nไม้ที่นำมาห่อหุ้มแท่งดินสอส่วนใหญ่จะทำจาก &quot;ไม้ซีดา&quot; ที่มีอายุ 200 ปีขึ้นไป เป็นไม้ที่มีกลิ่นหอม โดยนำมาจากรัฐแคลิฟอร์เนีย จะพบบนเขาสูงๆเท่านั้น ( ไม้ซีดาเป็นไม้ที่มีเนื้ออ่อนและเหลาง่าย ) <br />\nกระบวนการในการทำดินสอ<br />\nนำไม้ที่ตัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมเล็กๆ ( ขนาด 3 X 3 นิ้ว ) ไปตากแดดหรืออบจนแห้งสนิทจากนั้นจึงนำมาตัดให้เป็นแผ่นบางๆ หนา 5 ม.ม. ( ครึ่งหนึ่งของความกว้างของดินสอ) แล้วจึงนำไปเข้าเครื่องเซาะร่องสำหรับบรรจุไส้ดินสอ หลังจากนั้นใช้ไม้อีกชิ้นหนึ่งมาประกบด้วยการติดกาว เข้าเครื่องตัดเป็นแท่ง พ่นสี ติดตรา และติดยางลบ ก่อนที่จะนำออกจำหน่ายต่อไป ซึ่งบริษัทผู้ผลิตสามารถผลิตดินสอให้แตกต่างในการใช้งานได้กว่า 300 ชนิด รวมทั้งดินสอที่สำหรับใช้ในทางศัลยกรรมของแพทย์ เนื่องจากดินสอชนิดนี้สามารถนำมาขีดเขียนบนผิวหนังของคนไข้ได้<br />\nรูปร่างและขนาดของดินสอ<br />\nดินสอมาตรฐานมีความยาว 7 นิ้ว แท่งหนึ่งๆสามารถลากเส้นได้ยาวถึง 35 ไมล์ เขียนได้อย่างน้อย 45,000 คำ เหลาดินสอ 17 ครั้ง จะเหลือเศษความยาวเพียง 2 นิ้ว บางชนิดจะติดยางลบ ไว้ด้วยเพื่อให้สะดวกในการใช้งาน สีที่นิยมใช้มากที่สุด คือ สีเหลือง บริษัทผู้ผลิตได้พยายามทำออกจำหน่ายหลายสีด้วยกัน เช่น สีเขียว สีแดง สีน้ำเงิน แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่ากับสีเหลือง<br />\nชนิดของดินสอ<br />\nปัจจุบันดินสอแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ<br />\nดินสอดำ ( Lead Pencil ) คือดินสอที่นิยมใช้กันทั่วๆไป ไส้ดินสอทำจากถ่านแกรไฟต์ผสมกับดินเหนียว ( Clay ) ใช้ตัวอักษร B ( Black ) และ H ( Hard ) กำหนดความแข็งและความเข้มของไส้ดินสอ ขนาด 6 B จะมี Clay ผสมน้อย ส่วนขนาด 6 H จะมี Clay ผสมมากที่สุด ดินสอที่มีความเข้มน้อยจะใช้ในการร่างภาพ ส่วนดินสอที่มีความเข้มมากจะใช้ในการแรเงา ดินสอคาร์บอน ( Carbon Pencil ) หรือดินสอถ่าน ทำจากส่วนผสมของถ่านไม้ (Charcoal) ไส้ดินสอดำคล้ายถ่านไม้ มีชนิดแข็งและอ่อน ลำดับจาก HH (แข็งมาก),HB(ปานกลาง ), B(ไส้อ่อนแต่ดำ),BB (ดำมาก),BBB (ดำที่สุด) บางบริษัทใช้ตัวอักษร E แทนตัวอักษร B\n</p>\n', created = 1715815725, expire = 1715902125, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:85c4c59cf8e2b3b7c5e0cf77dce3f60d' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

ดินสอ

ในสมัยอดีต การเขียนเรื่องต่างๆไม่ว่าจะเป็นแบบแผนทางวัฒนธรรม ตำรา หรือการวาดรูป มนุษย์ในสมัยก่อนใช้อุปกรณ์ที่เป็นแปรงหรือกิ่งไม้เล็กๆ และเหล็กที่มีปลายแหลม นำไปเผาไฟจุ่มลงในน้ำหมึกเพื่อใช้ในการขีดเขียน ( ภาษาโรมันเรียกแปรงหรือเหล็กแหลมนี้ว่า " Pencillus " หรือ " Little tail " ซึ่งต่อมากลายเป็นคำว่า " Pencil " มีความหมายว่า " หางน้อย " ) ส่วน " ปากไก่ หรือ ปากกาขนห่าน " เริ่มมีการประดิษฐ์ขึ้นใช้ในทวีปยุโรป
เมื่อศตวรรษที่ 6ดินสอ สิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้แท่งเล็กๆ ยาวประมาณ 7 นิ้ว บรรจุภายในด้วยแกรไฟต์ นับว่าเป็นเครื่องมือของการขีดเขียนที่มีราคาถูกที่สุด ในการทำงานด้านการเขียนต่างๆ ที่ยังไม่แน่ใจในความถูกต้อง และอาจจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงผลงานต่างๆ อาทิเช่น งานวาดรูป งานออกแบบเสื้อผ้า ฯลฯ ไปจนถึงสูตรทำระเบิดนิวเคลียร์ ต่างก็เกิดขึ้นจากดินสอทั้งนั้น
กำเนิดและประวัติของดินสอ
เมื่อประมาณ 400 กว่าปีก่อน บาทหลวงชาวสวิสเซอร์แลนด์ได้เป็นผู้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องเขียนที่ทำจากขนนกขึ้นเป็นครั้งแรก แต่ใช้ต้นทุนค่อนข้างสูงและไส้ดินสอมีความเปราะเกินกว่าจะใช้ในงานเขียนปกติได้ ทำให้งานเขียนช้ามาก ต่อมาในปี ค.ศ. 1564 ได้มีการค้นพบวัสดุที่ใช้ทำไส้ดินสอได้ดีโดยบังเอิญ เนื่องจากเกิดพายุใหญ่ในทุ่งเลี้ยงแกะ ใกล้กับหมู่บ้านบอร์โรว์เดล ตำบลคัมเบอร์แลนด์ ประเทศอังกฤษ ต้นไม้ใหญ่ถูกพายุพัดถอนรากถอนโคนเป็นจำนวนมาก หลังจากพายุสงบชาวบ้านได้พบหินสีดำอยู่ใต้ดิน ณ บริเวณรากของต้นไม้ที่โค่นล้ม เมื่อทดลองนำมาขีดเขียน ปรากฏว่ามีความคมชัดดีมาก คนเลี้ยงแกะจึงนำมาเขียนสัญลักษณ์ลงบนตัวแกะของตนเอง หินสีดำที่ค้นพบในครั้งนั้นคือ แกรไฟต์ ( Graphite เป็นคาร์บอนชนิดหนึ่ง ) หลังจากนั้นไม่นานมีผู้นำหินนี้มาทำเป็นแท่งและนำไปขายโดยโฆษณาว่าเป็น " หินสี " สามารถนำไปเขียนบนสิ่งใดก็ติดทั้งนั้น พ่อค้านิยมซื้อไปเขียนตราสัญลักษณ์และทำเครื่องหมายบนสินค้า หรือหีบห่อที่บรรจุสินค้าของตน เพื่อเป็นการบอกชนิด จำนวน และราคาของสินค้านั้นๆ
ต่อมาพระเจ้าจอร์ช ที่ 2 ได้ยึดเหมืองแร่แกรไฟต์แห่งบอร์โรว์เดลให้เป็นของรัฐ โดยเข้าไปดำเนินการแบบผูกขาด (แกรไฟต์ เป็นวัตถุสำหรับทำกระสุนปืนใหญ่) ไม่ต้องการให้ประชาชนเข้าไปเกี่ยวข้อง เกรงจะถูกแย่งชิง โดยเปิดดำเนินการปีละ 2 - 3 เดือน เท่านั้น เพื่อเป็นการสงวนทรัพยากรธรรมชาติและลดต้นทุนในการผลิต ขณะหยุดดำเนินการจะห้ามไม่ให้ผู้ใดเข้ามาภายในเหมืองแร่อย่างเด็ดขาด
ครั้งแรกที่ผลิตแท่งแกรไฟต์ออกจำหน่ายได้พบว่ามีข้อบกพร่องอยู่ 2 ประการ คือ เวลาเขียนจะมีสีดำสกปรกติดมือ และเปราะแตกหักง่าย จึงทำการแก้ไขด้วยการนำเชือกเส้นเล็กๆพันไว้รอบจนแน่นตลอดแท่ง แล้วคลายออกทีละน้อยเวลาใช้ขีดเขียนเพื่อไม่ให้สีดำติดมือ ส่วนการเปราะและแตกหักง่ายได้รับการแก้ไขให้ใช้งานได้ดีขึ้นในปี ค.ศ. 1761 คาสปาร์ เปเปอร์ (ช่างงานฝีมือชาวบาวาเรีย) ซึ่งอดีตเป็นนักเคมี ได้นำแท่งแกรไฟต์ไปบดให้ละเอียดแล้วผสมด้วย กำมะถัน พลวง และยางสน จากนั้นจึงนำไปใส่ในพิมพ์ทำเป็นแท่ง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน
ปี ค.ศ. 1795 พระเจ้านโปเลียนที่ 1 มีรับสั่งให้ นิโคลาส แจ๊ค ดังเต้ ซึ่งเป็นหัวหน้านักเคมีและนักประดิษฐ์ชั้นแนวหน้าของประเทศฝรั่งเศส นำแกรไฟต์ที่สามารถหาได้ทั้งหมดในฝรั่งเศสมาทำเป็นดินสอ แต่เมื่อนานเข้าทำให้เกิดการขาดแคลนแกรไฟต์ นิโคลาสจึงได้นำเอาแกรไฟต์มาบดเป็นผงแล้วผสมเข้ากับดินเหนียวชนิดหนึ่ง (Clay) ในสัดส่วนที่แตกต่างกันเพื่อหาส่วนผสมที่ดีที่สุด แล้วจึงนำไปเข้าเตาเผา จนกลายเป็นต้นตำรับของการทำดินสอ คือ เนื้อเหนียวขึ้น ไม่หักเปราะง่าย และด้วยการเพิ่มดินเหนียวเข้าไปตามอัตราส่วนนี้เองทำให้สามารถผลิตไส้ดินสอออกมาได้หลายขนาด คือ แข็ง ( Hard ) หรือ H ลงมาจนอ่อนสามารถเขียนได้ติดดำสนิท ( Black ) หรือ B ซึ่งในปัจจุบันมีตั้งแต่ 5 H และ 6 B เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ต่อมาชาวอเมริกัน ชื่อ วิลเลียม มอนโร ซึ่งเป็นช่างทำเฟอร์นิเจอร์ ได้ประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับผลิตดินสอขนาดมาตรฐานได้สำเร็จ สามารถตัดไม้ออกเป็นแผ่นบางๆ ยาวประมาณ 6-7 นิ้ว เซาะเป็นร่องเล็กๆตลอดความยาวของแผ่นไม้ เพื่อบรรจุแท่งแกรไฟต์ และใช้ไม้อีกแผ่นหนึ่งเซาะร่องไว้อย่างชิ้นแรก นำมาทากาวแล้วประกบลงไป ซึ่งเป็นดินสอที่มีไม้หุ้มและเป็นดินสอที่ทันสมัยแท่งแรกของโลก เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการขีด - เขียน ที่มีราคาถูกและ สะดวก รูปร่างกระทัดรัดและสวยงาม เป็นที่ยอมรับในทุกวงการ ทำให้ปากกาขนห่านจุ่มน้ำหมึกในสมัยนั้นเสื่อมความนิยมไป
วัสดุที่ใช้ทำดินสอ
ในปัจจุบันดินสอทำด้วยวัตถุดิบที่แตกต่างกันออกไปกว่า 40 ชนิด แต่ดินสอที่ดีที่สุด คือดินสอที่ใช้อุปกรณ์ในการทำดังนี้
Graphite จากประเทศศรีลังกา มาดากัสการ์ และเม็กซิโก
Clay จากประเทศเยอรมัน
ยาง (ใช้ทำยางลบ) จากประเทศมาเลเซีย
แร่พลวง (ใช้เป็นตัวเชื่อมของ Graphite กับ Clay) จากประเทศเบลเยี่ยม และตามบริเวณชายฝั่งของประเทศเดนมาร์กเท่านั้น     
ไม้ที่นำมาห่อหุ้มแท่งดินสอส่วนใหญ่จะทำจาก "ไม้ซีดา" ที่มีอายุ 200 ปีขึ้นไป เป็นไม้ที่มีกลิ่นหอม โดยนำมาจากรัฐแคลิฟอร์เนีย จะพบบนเขาสูงๆเท่านั้น ( ไม้ซีดาเป็นไม้ที่มีเนื้ออ่อนและเหลาง่าย )
กระบวนการในการทำดินสอ
นำไม้ที่ตัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมเล็กๆ ( ขนาด 3 X 3 นิ้ว ) ไปตากแดดหรืออบจนแห้งสนิทจากนั้นจึงนำมาตัดให้เป็นแผ่นบางๆ หนา 5 ม.ม. ( ครึ่งหนึ่งของความกว้างของดินสอ) แล้วจึงนำไปเข้าเครื่องเซาะร่องสำหรับบรรจุไส้ดินสอ หลังจากนั้นใช้ไม้อีกชิ้นหนึ่งมาประกบด้วยการติดกาว เข้าเครื่องตัดเป็นแท่ง พ่นสี ติดตรา และติดยางลบ ก่อนที่จะนำออกจำหน่ายต่อไป ซึ่งบริษัทผู้ผลิตสามารถผลิตดินสอให้แตกต่างในการใช้งานได้กว่า 300 ชนิด รวมทั้งดินสอที่สำหรับใช้ในทางศัลยกรรมของแพทย์ เนื่องจากดินสอชนิดนี้สามารถนำมาขีดเขียนบนผิวหนังของคนไข้ได้
รูปร่างและขนาดของดินสอ
ดินสอมาตรฐานมีความยาว 7 นิ้ว แท่งหนึ่งๆสามารถลากเส้นได้ยาวถึง 35 ไมล์ เขียนได้อย่างน้อย 45,000 คำ เหลาดินสอ 17 ครั้ง จะเหลือเศษความยาวเพียง 2 นิ้ว บางชนิดจะติดยางลบ ไว้ด้วยเพื่อให้สะดวกในการใช้งาน สีที่นิยมใช้มากที่สุด คือ สีเหลือง บริษัทผู้ผลิตได้พยายามทำออกจำหน่ายหลายสีด้วยกัน เช่น สีเขียว สีแดง สีน้ำเงิน แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่ากับสีเหลือง
ชนิดของดินสอ
ปัจจุบันดินสอแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ
ดินสอดำ ( Lead Pencil ) คือดินสอที่นิยมใช้กันทั่วๆไป ไส้ดินสอทำจากถ่านแกรไฟต์ผสมกับดินเหนียว ( Clay ) ใช้ตัวอักษร B ( Black ) และ H ( Hard ) กำหนดความแข็งและความเข้มของไส้ดินสอ ขนาด 6 B จะมี Clay ผสมน้อย ส่วนขนาด 6 H จะมี Clay ผสมมากที่สุด ดินสอที่มีความเข้มน้อยจะใช้ในการร่างภาพ ส่วนดินสอที่มีความเข้มมากจะใช้ในการแรเงา ดินสอคาร์บอน ( Carbon Pencil ) หรือดินสอถ่าน ทำจากส่วนผสมของถ่านไม้ (Charcoal) ไส้ดินสอดำคล้ายถ่านไม้ มีชนิดแข็งและอ่อน ลำดับจาก HH (แข็งมาก),HB(ปานกลาง ), B(ไส้อ่อนแต่ดำ),BB (ดำมาก),BBB (ดำที่สุด) บางบริษัทใช้ตัวอักษร E แทนตัวอักษร B

สร้างโดย: 
นางสาวรัตนา สถิตานนท์ นางสาวสุจิตรา เบญจะมาศ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 186 คน กำลังออนไลน์