ลักษณะ

 

 

            ลักษณะของเพลงพื้นบ้าน

                               

                           ส่วนมากเป็นการเกี้ยวพาราสี หรือการซักถามโต้ตอบกัน ความเด่นของเพลงพื้นบ้านอยู่ที่ความไพเราะ คารมหรือถ้อยคำง่ายๆ
แต่มีความหมาย กินใจ ใช้ไหวพริบปฏิภาณในการร้องโต้ตอบกัน เพลงพื้นบ้านส่วนใหญ่จะมีเนื้อร้อง และทำนองง่ายๆ
ร้องเล่นได้ไม่ยาก ฟังไม่นานก็สามารถร้องเล่นตามได้ การเล่นเพลงชาวบ้าน จะเล่นกัน ตามลานบ้าน ลานวัด ท้องนา ตามลำน้ำ
แล้วแต่โอกาสในการเล่นเพลง เครื่องดนตรี ที่ใช้เป็นเพียงเครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง กรับ กลอง หรือเครื่องดนตรี
ที่ประดิษฐ์ขึ้นเองบางทีก็ไม่มีเลยใช้การปรบมือประกอบจังหวะสิ่งสำคัญในการร้องเพลงชาวบ้านอีกอย่างก็คือ ลูกคู่ที่ร้องรับ ร้องกระทุ้ง
หรือร้องสอดเพลง ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดความสนุกสนานครึกครื้นยิ่งขึ้น

                            โดยทั่วไปแล้วเพลงพื้นบ้านจะมีลักษณะเด่นๆ เป็นที่สังเกตได้ คือ
        1. สำนวนภาษาใช้คำธรรมดาพื้นๆ ไม่มีบาลีสันสกฤตปนฟังเข้าใจง่ายแต่ถ้อยคำคมคายอยู่ในตัวทำให้เกิดความสนุกสนาน 
   บางครั้งแฝงไว้ด้วยการใช้สัญลักษณ์แทนคำหยาบต่างๆ เป็นต้นว่า ยาเส้น ใบพลู ที่นา หัวหมู (อุปกรณ์ไถนา) เป็นต้น
   และเรียบง่ายทางด้านโอกาสและสถานที่เล่นไม่ต้องยกพื้นเวที
         2. มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน มีความคมคายในการใช้ภาษากระทบกระเทียบเปรียบเปรยชวนให้คิดจากประสบการณ์ที่พบเห็นอยู่ในวิถีชีวิตท้องถิ่น
         3. มีภาษาถิ่นปะปนอยู่ ทำให้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีการดำเนินชีวิต ประเพณีความเชื่อ ตลอดจนค่านิยมต่างๆที่แฝงอยู่
         4. ลักษณะภาษาคล้องจองกัน ที่เป็นกลอนหัวเดียว คือ กลอนที่ลงท้ายด้วยสระชนิดเดียวกัน เช่น กลอนไล (ลงเสียงข้างท้ายด้วยสระไอตลอด) 
   กลอนลี (ลงเสียงข้างท้ายด้วยสระอีตลอด) เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ในเพลงไซเอ๋ยไซ  ลามะลิลา ซึ่งง่ายต่อการเล่น มุ่งให้ทุกคนมีส่วนร้องได้สนุกสนานร่วมกัน
         5. มักจะมีการร้องซ้ำ บางทีซ้ำที่ต้นเพลง หรือบางทีซ้ำที่ท่อนท้ายของเพลง เช่น เพลงพิษฐาน เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย เป็นต้น
       
 ผลดีของการร้องซ้ำๆกัน ก็คือเพิ่มความสนุกสนานให้ผู้อยู่รอบข้างได้มีส่วนร่วมในเพลง ทำให้บรรยากาศครึกครื้นและเนื่องจากเป็นการประคารมกันสดๆ
       ซึ่งช่วงการร้องซ้ำนี้จะช่วยให้ได้มีโอกาสคิดคำ และพ่อเพลง แม่เพลงจะได้พักเหนื่อย และสามารถใช้ปฏิภาณพลิกแพลง ยั่วล้อกันอีกด้วย
 นอกจากนี้เพลงพื้นบ้านยังมีลักษณะพิเศษอีก คือ เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะที่เล่าสืบต่อกันมาปากต่อปาก ไม่สามารถจะสืบค้นหาตัวผู้แต่งที่แน่นอนได้และมีลักษณะของความเป็นพื้นบ้านพื้นเมือง

                                         

สร้างโดย: 
เบญจพร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 317 คน กำลังออนไลน์