โซเครติส อริสโตเติล และเพลโต

รูปภาพของ Thepthida_15700

โสเครตีส ( Socrates )

ประวัติ

       โสเครตีส (470-399 ปีก่อนคริสตศักราช) เป็นนักปรัชญาสำคัญคนหนึ่งของกรีกเป็นผู้แสวงหาความจริงของสิ่งต่าง ๆ อย่างบริสุทธิ์ใจและจริงจัง ไม่มุ่งหวัง

ประโยชน์หรือ ลาภยศผู้ทำให้นักคิดนักปรัชญาเจ้าสำนักต่าง ๆที่ไม่มีความรู้อย่างแท้จริงต้องยอมจำนนต่อเหตุผลและความจริงแม้กระทั่งผู้มีอำนาจของ

บ้านเมืองที่เป็นทรราชย์ยังถูกเขาท้าทายอำนาจจนกระทั่งตนเองต้องถูกกลั่นแกล้งด้วยความเกลียดชังและถูกตัดสินให้ดื่มยาพิษเพื่ออุดมการณ์ของตนเอง

 

       โสเครตีสเกิดที่เอเธนส์ ประเทศกรีซ บิดาเป็นช่างเจียระไนอัญมณีเมื่อวัยเด็กได้รับการศึกษาด้านศาสนาและความรู้ทั่วไปตามแบบอย่างชาวกรีกสมัยนั้นเมื่อเป็นหนุ่ม ชาวเผ่าสปาร์ตายกกองทัพมารุกราน เครตีสสมัครเป็นทหารไปรบและได้สร้างวีรกรรมในสงครามอย่างกล้าหาญและอดทนโดยสามารถ

ช่วยเหลือเพื่อนคนหนึ่งให้รอดชีวิตกลับมาได้ถึงแม้กองทัพเอเธนส์จะพ่ายแพ้ต้องล่าถอยกลับมา โสเครตีสก็ไม่มีความตื่นตกใจกลับสงบนิ่ง จนศัตรูยัง

เกรงขาม แม่ทัพของเขายังกล่าวชมเชยว่าถ้าหากทหารทุกคนมีความกล้าหาญและเข้มแข็งอดทนเหมือนอย่างโสเครตีสเอเธนส์จะไม่พ่ายแพ้อย่างแน่นอน เมื่อสงครามผ่านพ้นไปแล้วโสเครตีสแต่งงานกับผู้หญิงคนหนึ่งมีบุตรด้วยกัน 4 คนภรรยาของเขาเป็นหญิงอารมณ์ร้าย ชอบดุด่าและพร่ำบ่น แต่โสเครตีส

บังคับตัวเองให้อดทนอดกลั้นอยู่กับเธอได้

 

       โสเครตีสมีนิสัยชอบสนทนากับนักปรัชญาสำคัญ ๆ ของกรีกเพราะว่าขณะนั้นเขาเริ่มสนใจวิชาปรัชญาแล้ว ซึ่งคำว่าปรัชญาในสมัยนั้น หมายถึงการคิดค้นหาคำตอบในเรื่องที่ยังไม่มีใครคิดมาก่อนรวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับโลกและชีวิต

 

       โสเครตีสเป็นคนรูปร่างเตี้ยล่ำ หน้าตาค่อนข้างอัปลักษณ์ และชอบสวมเสื้อผ้าเก่ายับย่นแต่ว่ามีลูกศิษย์และผู้ติดตามมากมายเพื่อคอยฟังคำสอนหรือถ้อยคำสนทนาของเขากับนักปรัชญาคนอื่นวิธีการสนทนาของโสเครตีสเป็นการซักถามหรือไต่ถามด้วยการใช้หลักของเหตุและผลที่เรียกว่า

 

        ตรรกวิทยา เขาอาจจะเริ่มต้นการสนทนาด้วยเรื่องธรรมดาหรือเกี่ยวข้องกับสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่สำคัญจากนั้นจะป้อนคำถามที่แฝงซ่อนความหมาย

ลึกซึ้งแก่คู่สนทนาอันจะนำไปสู่จุดหมายของการสนทนาว่า ทำอย่างไรจึงจะได้ผลดี ถูกต้องและน่าเชื่อถือเขาใช้วิธีการนี้แสวงหาความจริงของสิ่งต่าง ๆ เช่นเมื่อเกิดสงสัยใคร่รู้ในสิ่งใดเขาก็จะไปหาผู้รู้หรือนักปรัชญาที่เชี่ยวชาญในด้านนั้นแล้วขอคำอธิบายโดยการซักถามจนกระทั่งได้คำตอบสุดท้ายที่เขา

พอใจหรือไม่บางทีก็ทำให้ผู้รู้นั้นจนมุมไม่สามารถตอบได้จึงพาลโกรธเกลียดโสเครตีสถึงกับเป็นศัตรูไปหลายราย

 

       ลักษณะวิธีการซักถามเพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงในท้ายที่สุดของโสเครตีสก่อให้เกิดผลร้ายแก่เขาเสมอ มิหนำซ้ำลูกศิษย์หนุ่ม ๆ ของเขายังนำวิธีการ

ของอาจารย์ไปใช้กับผู้อาวุโสทั้งหลายและซักไซ้ไล่เลียงจนผู้อาวุโสจนมุมก็ยิ่งทำให้โสเครตีสถูกเกลียดชังจากคนทั่วไปมากขึ้น ถึงกับถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ชักนำบรรดาคนหนุ่มสาวของเอเธนส์ไปในทางเสื่อมเสียและกระด้างกระเดื่อง

 

       มิใช่ว่าโสเครตีสจะเป็นคนไม่นับถือศาสนา แต่เขาถูกกลั่นแกล้งกล่าวหาว่าเป็นคนไม่มีศาสนาและไม่เคารพเชื่อฟังผู้ปกครองบ้านเมืองในเวลานั้น เขาจึงถูก

คณะลูกขุนในศาลตัดสินให้ประหารชีวิตด้วยการดื่มยาพิษแต่ได้รับผ่อนผันให้คุมขังไว้ก่อนเป็นเวลา 1 เดือนในช่วงเวลานั้นเพื่อนสนิทและลูกศิษย์ของเขา

พยายามหาทางพาเขาหนีออกจากที่คุมขังแต่โสเครตีสปฏิเสธ เพราะเห็นว่าจะเป็นการทำลายความถูกต้องของกฎหมายและประชาชนทุกคนต้องเคารพ

กฎหมาย

 

       โสเครตีสใช้เวลาช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตสนทนากับมิตรสหายซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยมได้อย่างเสรี เกี่ยวกับปรัชญา ชีวิตและจิตวิญญาณจนกระทั่งใน

วันสุดท้ายโสเครตีสกล่าวคำอำลาแก่ทุกคนแล้วรับเอายาพิษที่สกัดจากต้นเฮ็มล็อคจากผู้คุมมาดื่มจนหมดถ้วยด้วยอาการสงบเยือกเย็นแล้วเดินไปมา

จนกระทั่งหมดแรงจึงล้มตัวลงนอนจนกระทั่งสิ้นใจไปอย่างสงบเมื่ออายุ 70 ปี

 

 

อริสโตเติล (กรีก: Αριστοτέλης, Aristotelēs ; อังกฤษ: Aristotle) (พ.ศ. 160 (384ก่อนค.ศ.) - 7 มีนาคม พ.ศ. 222 (322 ก่อนค.ศ.)) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณเป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราชท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่งในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมืองการปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา

 

 

นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออริสโตเติล, เพลโต (อาจารย์ของอริสโตเติล) และโสกราติส(ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีกสมัยก่อนโสกราติส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบันโสกราติสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลยทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัสเราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่น ๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ

อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขาในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา   ในด้านปรัชญาอริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์,จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา  เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น,วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้วสามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก

 

ประวัติ

อริสโตเติลเกิดเมื่อประมาณ 384 หรือ 383ปีก่อนคริสตกาลที่เมืองสตากีรา (Stagira) ในแคว้นมาเซโดเนีย(Macedonia) ซึ่งเป็นแคว้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือสุดชองทะเลเอเจียน(Aegaeen Sea) ของประเทศกรีก เป็นบุตรชายของนายนิโคมาคัส(Nicomachus) ซึ่งมีอาชีพทางการแพทย์ประจำอยู่ที่เมืองสตาราเกียและยังเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าอมินตัสที่ 2 (King Amyntas II) แห่งมาเซโดเนีย

ในวัยเด็กนั้นผู้ที่ให้การศึกษาแก่อริสโตเติลคือบิดาของเขานั้นเองซึ่งเน้นหนักไปในด้านธรรมชาติวิทยาเมื่อเขาอายุได้ 18ปีก็ได้เดินทางไปศึกษาต่อกับปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุดนั้นคือ เพลโตในกรุงเอเธนส์ (Athens) ในระหว่างการศึกษาอยู่กับเพลโต 20ปีนั้นทำให้อริสโตเติลเป็นนักปราชญ์ที่ลือนามต่อมาจากเพลโตต่อมาเมื่อเพลโตถึงแก่กรรมในปี 347 ปีก่อนคริสต์ศักราชอริสโตเติลจึงเดินทางไปรับตำแหน่งเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ในปี 343- 342 ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาในปี 336 ก่อนคริสต์ศักราชพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระเจ้าฟิลิปพระองค์จึงได้พระราชทานทุนให้แก่อริสโตเติลเพื่อจัดตั้งโรงเรียนที่สตากิราชื่อไลเซียม(Lyceum)

ในการทำการศึกษาและค้นคว้าของอริสโตเติลทำให้เขาเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชาและได้เขียนหนังสือไว้มากมายประมาณ 400 - 1000 เล่ม ซึ่งงานต่าง ๆที่ได้เขียนขึ้นมานั้น ได้มีอิทธิพลต่อความเชื่อในศาสนาคริสต์จวบจนกระทั่งยุคกลางหรือยุคมืดซึ่งมีเวลาประมาณ 1,500 ปีเป็นอย่างน้อย

 

คำสอน

คำสอนที่น่าสนใจของอริสโตเติลได้แก่ความเชื่อที่ว่าโลกเรานี้ประกอบด้วยธาตุต่างๆ 4 ธาตุ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟ

ในเรื่องเกี่ยวกับจักรวาลนั้นอริสโตเติลเข้าใจว่าโลกเราเป็นศูนย์กลางของจักรวาลโดยมีดวงดาวต่าง ๆ รวมทั้งดวงอาทิตย์โคจรรอบ ๆสวรรค์นั้นอยู่นอกอวกาศ โลกอยู่ด้านล่างลงมา น้ำอยู่บนพื้นโลก ลมอยู่เหนือน้ำและไฟอยู่เหนือลมอีกทีหนึ่ง ธาตุต่าง ๆ ของโลกจะเปลี่ยนแปลงเสมอแต่ทว่าธาตุที่ประกอบเป็นสวรรค์นั้นจะไม่เปลี่ยนแปลงจะมีรูปร่างเช่นนั้นตลอดไปซึ่งคำสอนต่อมาในปี ค.ศ. 1609 โจฮันน์ เคปเลอร์(Johann Kepler) ได้ตั้งกฏของเคปเลอร์ซึ่งเป็นการประกาศว่า โลกเราโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีเป็นการลบล้างความเชื่อเกี่ยวกับจักรวาลของอริสโตเติล

และในอีกเรื่องที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือกรณีของวัตถุสองอย่างที่มีน้ำหนักไม่เท่ากันจะตกลงถึงพื้นไม่พร้อมกันตามหลักของอริสโตเติล ซึ่งกาลิเลโอได้ทำการพิสูจน์ต่อหน้าสาธารณชนที่หอเอนแห่งปิซาว่าเป็นคำสอนที่ไม่จริงในปี ค.ศ. 1600

แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีของอริสโตเติลทางด้านชีววิทยานั้นเป็นที่ยกย่องกันมากเพราะเขาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับชีวิตของสัตว์ต่างๆ เช่น ปลาและพวกสัตว์เลื้อยคลานและได้ทำการบันทึกไว้อย่างละเอียดมาก เขาได้แบ่งสัตว์ออกเป็น2 พวกใหญ่ คือ พวกมีกระดูกสันหลัง (Vertebrates)และพวกไม่มีกระดูกสันหลัง (Invertebrates) นับว่าอริสโตเติลเป็นผู้บุกเบิกความรู้ทางด้านนี้จนได้รับการยกย่องว่าเป็นนักธรรมชาติวิทยาคนแรกของโลก

 

 

เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, อังกฤษ: Plato)(427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.)เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตกเขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราติส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียนและเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์

 

 

เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมีแต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมากโลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยมงานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมายผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมดอย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัยหรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้

ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราติสเป็นตัวละครหลักซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราติสและส่วนใดเป็นของเพลโต

ผลงาน

ประเด็นหลัก

ในงานเขียนของเพลโตเราจะพบการโต้เถียงเกี่ยวกับรูปแบบของการปกครองทั้งแบบเจ้าขุนมูลนายและแบบประชาธิปไตย เราจะพบการโต้เถียงเกี่ยวกับผลของสิ่งแวดล้อมกับผลของพันธุกรรมต่อสติปัญญาและอุปนิสัยของมนุษย์ซึ่งการโต้เถียงนี้เกิดขึ้นมานานก่อนการโต้เถียงเรื่อง"ธรรมชาติหรือการเลี้ยงดู" ที่มีขึ้นในช่วงเวลาของฮอบบส์ และล็อกและยังมีผลต่อเนื่องมาถึงงานเขียนที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งเช่นหนังสือ TheMismeasure of Man และ The Bell Curve เรายังจะพบข้อคิดเห็นที่สนับสนุนอัตวิสัยและปรวิสัยของความรู้ของมนุษย์ที่มีผลมาถึงการโต้เถียงสมัยใหม่ระหว่างฮูม และคานท์หรือระหว่างนักหลังสมัยใหม่นิยมและผู้ที่ไม่เห็นด้วยกระทั่งเรื่องราวของเมืองหรือทวีปที่สาปสูญเช่นแอตแลนติสก็ยังถูกยกมาเป็นตัวอย่างในงานของเพลโต เช่น Timaeus หรือ Critias.

รูปแบบ

เพลโตเขียนงานแทบทั้งหมดในรูปของบทสนทนาในงานชิ้นแรกๆ ตัวละครสนทนาโดยการถามคำถามกันไปมา อย่างมีชีวิตชีวาตัวละครที่โดดเด่นคือโสกราติสที่ใช้รูปแบบของวิภาษวิธีที่ยังไม่ถูกจัดเป็นระบบกลุ่มของผลงานนี้รวมเรียกว่าบทสนทนาโสกราติส

แต่คุณภาพของบทสนทนาได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากตลอดช่วงชีวิตของเพลโตเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่างานชิ้นแรกๆ ของเพลโตนั้นวางรากฐานอยู่บนความคิดของโสกราติส ในขณะที่ในงานเขียนชิ้นถัดๆ มา เขาได้ค่อยๆฉีกตัวเองออกจากแนวคิดของอาจารย์ของเขา ในงานชิ้นกลางๆโสกราติสได้กลายเป็นผู้พูดของปรัชญาของเพลโต และรูปแบบของการถาม-ตอบได้เปลี่ยนเป็นแบบ "เหมือนท่องจำ" มากขึ้น:ตัวละครหลักนั้นเป็นตัวแทนของเพลโต ในขณะที่ตัวละครรองๆ ไปแทบไม่มีอะไรจะกล่าวนอกจาก "ใช่" "แน่นอน" และ"จริงอย่างยิ่ง" งานชิ้นหลังๆ แทบจะมีลักษณะเหมือนเรียงความและโสกราติสมักไม่ปรากฏหรือเงียบไป เป็นที่คาดการณ์กันว่างานชิ้นหลังๆนั้นเขียนโดยเพลโตเอง ส่วนงานชิ้นแรกๆ นั้นเป็นบันทึกของบทสนทนาของโสกราติสเองปัญหาว่าบทสนทนาใดเป็นบทสนทนาของโสกราติสอย่างแท้จริง เรียกว่าปัญหาโสกราติส

ลักษณะการสร้างฉากที่มองเห็นได้ของบทสนทนาสร้างระยะห่างระหว่างเพลโตและผู้อ่าน กับปรัชญาที่กำลังถูกถกเถียงในนั้นผู้อ่านสามารถเลือกรูปแบบการรับรู้ได้อย่างน้อยสองแบบ:อาจจะเข้าไปมีส่วนร่วมในบทสนทนาเกี่ยวกับแนวคิดที่กำลังพูดคุยกันอยู่, หรือเลือกที่จะมองเนื้อหาว่าเป็นการแสดงออกถึงอุปนิสัยที่อยู่ในผลงานนั้นๆ

รูปแบบการสนทนาทำให้เพลโตสามารถถ่ายทอดความเห็นที่ไม่เป็นที่นิยมผ่านทางตัวละครที่พูดจาไม่น่าคล้อยตามเช่น Thrasymachus ใน สาธารณรัฐ

อภิปรัชญาของเพลโต: ลัทธิเพลโต หรือสัจนิยม

ผลงานที่เป็นที่จดจำที่สุดหรืออาจเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเพลโต ก็คืออภิปรัชญาแบบทวิภาคที่มักเรียกกันว่า (ในอภิปรัชญา) ลัทธิเพลโต หรือ (ถ้าเรียกให้เกินจริง)สัจนิยม   อภิปรัชญาของเพลโตได้แบ่งโลกออกเป็นสองมุม คือ โลกของรูปแบบ (form) และโลกที่รับรู้ได้ เขามองว่าโลกที่รับรู้ได้ รวมถึงสิ่งของต่าง ๆ ในนั้นคือ สำเนาที่ไม่สมบูรณ์แบบจาก รูปแบบ ที่คิดคำนึงได้ หรือ แนวความคิด   โดยที่รูปแบบเหล่านี้จะไม่เปลี่ยนแปลงและอยู่ในสภาวะสมบูรณ์แบบเสมอ  การทำความเข้าใจกับรูปแบบเหล่านี้จะต้องใช้สติปัญญา หรือความเข้าใจเท่านั้นอย่างไรก็ตามแนวคิดของการแบ่งแยกนี้ได้มีการค้นพบมาก่อนหน้าเพลโนในปรัชญาของโซโรแอสเตอร์โดยเรียกว่าโลกมินู (ปัญญา) และ โลกกีติ (สัมผัส) รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับรัฐอุดมคติที่โซโรแอสเตอร์เรียกว่า ชาห์ริวาร์ (เมืองอุดมคติ)

 

 

 

จัดทำโดย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4

นางสาวหทัยชนก ค้าไม้ เลขที่ 2

นางสาวภัทรพร บุญสืบมา เลขที่ 3

นางสาววีธิกา ยิ้มศรีแพร เลขที่ 4

นางสาวณัฐกานต์ ธัญญชาติพัวพงษ์  เลขที่ 6

นางสาวเทพธิดา คุ้มทรัพย์ เลขที่ 20 

สร้างโดย: 
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 500 คน กำลังออนไลน์