[[ การจัดทัพของสมเด็จพระนเรศวร ]]

 

         

                     

 -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ความรู้เสริม ตอนพิเศษ: การจัดทัพของสมเด็จพระนเรศวร

 

          ทหารทุกนายไม่ว่าจะมียศสูงหรือต่ำ หากได้ละเมิดกฎโทษที่ได้รับจะเท่ากัน ไม่มีการลดหย่อนโทษ ทำให้กลายเป็นยุคของการสนับสนุนคนดี เก่ง และกล้า ซึ่งในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรนั้นพระองค์ทรงมีประปรีชาสามารถมาก โดยทรงปกครองกองทัพได้เฉกเช่นเดียวกันกับทหารฝั่งตะวันตก โดยที่วิทยาการต่างๆนั้นยังมาไม่ถึงในสมัยนั้น เหล่าทหารต่างๆที่ได้มาร่วม รบกับพระองค์จึงเขียนบันทึกเพื่อส่งไปที่ประเทศของตัวเอง มีใจความหลักๆดังที่จะกล่าวต่อไปนี้        

1.หน่วยทหารรบพิเศษ--เป็น ทหารมือดีที่มีหน้าที่ในการ ทำลายเส้นทางที่ใช้เดินทัพ ฆ่าทหารสอดแนมและม้าเร็วส่งข่าว ซึ่งทหารกลุ่มนี้ต้องมีฝีมือมากเพราะต้องบุกเข้าไปในเขตกองทัพของข้าศึก มีจำนวน 10-20 คน

2.หน่วยจู่โจม--ใช้ในการ ปล้นค่ายทหารข้าศึกที่มีขนาดเล็ก เข่น กองลำเลียง ใช้โจมตีเพื่อให้ทัพข้าศึกยกพลออกจากฐานที่ตั้งแล้วถูกลวงให้เข้าไปอยู่ บริเวณคิลลิงฟิลด์ แล้วจึงถอนตัวออกจากบริเวณนั้น สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นหัวหน้าหน่วยเอง มีจำนวนทหาร 30-50 คน 

3.หน่วยแซบเปอร์หรือหน่วยก่อวินาศกรรม--เป็น หน่วยที่แฝงตัวเป็นเชลยหรือทหารหนีทัพ มีหน้าที่หลักในการลอบเผาทำลายค่ายและเสบียง รวมถึงเป็นไส้ศึกส่งข่าวเกี่ยวกับความเคลื่อนไหว หากหน่วยนี้ถูกข้าศึกจับได้จะต้องโดนตัวหัวเสียบประจานหน้าค่าย โดยหน่วยนี้ มีกองกำลังเล็กที่สุดคือมีจำนวน 1-5 คน 

4.หน่วยคอมมานโด--มี หน้าที่ในการสนับสนุนหน่วยจู่โจม มักไปตั้งทัพตามป่า และทหารกลุ่มนี้จะเป็นทหารหน้าช้างต้นที่คอยปกป้องพระองค์เวลาที่ทำศึก ยุทธหัตถี มีขนาด 100-500 คน

5.พลซุ่มยิง--เป็นหน่วย ทหารที่อยู่บนเชิงเทินค่ายที่มีหน้าที่ในการยิงปืนใหญ่ตีเมืองข้าศึก เป็นหน่วยทหารปืนคาบศิลา ซึ่งทหารกองธนูหน้าไม้มีไว้สำหรับการรักษาพระนครไม่ได้มีหน้าที่ในการเป็นพล ซุ่มยิงในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

6.ปืนใหญ่อัตตาจร--เป็น หน่วยสนับสนุนทหารราบ โดยมักจะเดินทัพเลียบๆบริเวณแม่น้ำ โดยมีการขนปืนใหญ่ลงในเรือสำเภาขนาดเล็ก ในบางครั้งพระองค์จะให้ทัพหน้าถอยร่นเพื่อให้ข้าศึกเข้ามาอยู่ในระยะยิง จนทัพข้าศึกแตกพ่ายไป 

7.หน่วยลาดตระเวนระยะไกล--มี หน้าที่ในการหาข่าวจากกองสอดแนมต่างๆ ทำลายกองทหารพม่าที่ออกมาหาเสบียง โดยมักจะแยกไปใน 4 ทิศของพระนคร แต่เมื่อมีศึกใหญ่ๆ หน่วยนี้จะเข้าร่วมรบกับทัพใหญ่ มีกำลังพล 200-500 คนซึ่งเป็นกองทหารม้า

8.ผู้ตรวจการหน้า--เป็น ผู้ที่ส่งคำบัญชาของสมเด็จพระนเรศวรไปยังผู้บัญชาทัพต่างๆ และมีหน้าที่ในการรายงานสถานการณ์ของกองทัพในขณะที่ออกรบ ถวายคำแนะนำเกี่ยวกับการรบและผลของการรบ  สามารถที่จะประหารคนได้ทุกระดับ หากมีการขัดคำสั่ง

9.กองสื่อสาร--เป็นหน่วย ที่คอยส่งข่าวและคำสั่งต่างๆตามที่พระองค์ได้ทรงบัญชาไปถึงแม่ทัพ ทำให้ข้าศึกไม่รู้การเคลื่อนทัพและการสั่งการของพระองค์ ซึ่งหน่วยนี้ทำให้แบบแผนการศึกเป็นไปอย่างทันการและได้เปรียบข้าศึกที่ใช้ การสื่อสารด้วยสัญญาณกลองหรือธง

หมายเหตุ: หากต้องการกลับไปที่หน้าที่แล้ว ให้กดที่ปุ่มความรู้เสริมสีเขียว ที่อยู่ด้านบนค่ะ

                                                                             มีต่อหน้าถัดไป!!!!                                                                             

สร้างโดย: 
นางสาวศรีสวาสดิ์ บุนนาค และ นางสาวณัฐณิชา อนันต์วุฒิสมบัติ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 322 คน กำลังออนไลน์