• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:e6c4a2e78ae75e372f46b80c181ea5a4' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\n<span style=\"color: #333300\"><span style=\"color: #993366\"><u>นิกายออร์ธอด็อกซ์ (Orthodox)</u></span><br />\n</span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #ff99cc\">ความเป็นมาสืบย้อนได้ถึงศตวรรษแรกในคริสตศาสนา อันเป็นช่วงระยะเวลาที่จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งแยกออกเป็นสองอาณาจักร คือ โรมันตะวันตกมีศูนย์กลางที่กรุงโรม (Rome)ใช้ภาษาละตินเป็นภาษากลาง ส่วนโรมันตะวันออกซึ่งนิยมเรียกกันว่า ไบแซนทีน (Byzantine) มีศูนย์กลางที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) มีสหมิตรที่เป็นแนวร่วมเดียวกัน คือ เมืองอาเล็กซานเดรีย (Alexandria) อันติอ็อค (Antioch) และเยรูซาเล็ม (Jerusalem) ใช้ภาษากรีกเป็นภาษากลางสื่อสาร </span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #ff99cc\">แม้นว่ากรุงคอนสแตนติโนเปิล โดยทั่วไปเป็นของพวกเตอร์ก แต่ผู้นับถือนิกายออร์ธอด็อกซ์ยังคงมีอยู่บ้าง ส่วนมากแพร่หลายในแถบยุโรปตะวันออกและรัสเซีย ทำให้เกิดนิกายออร์ธอด็อกซ์แบบสลาฟ (Slavic Orthodox) และนิกายออร์ธอด็อกซ์แบบรัสเซีย (Russia Orthodox) ซึ่งแต่เดิมมาทั้งหมดนี้เคยเป็นแบบนิกายกรีก ออร์ธอด็อกซ์ (Greek Orthodox) โดยเฉพาะที่รัสเซียนั้น ศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากอาจเรียกได้ว่าเป็นอาณาจักรโรมันแห่งที่สาม มีศูนย์กลางที่มอสโคว์ (Moscow) อย่างไรก็ตาม พอสิ้นสุดระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช เข้าสู่ยุคการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ความรุ่งเรืองของศาสนาได้ลดลงไปแต่ยังไม่ถึงกับศูนย์สลาย </span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #ff99cc\">ปัจจุบันนี้ นิกายออร์ธอด็อกซ์มีอิสระภาพในด้านความเชื่อและการปกครองของตนเอง โดยไม่ต้องขึ้นต่อสำนักวาติกันของโรม มีปาตริอาร์ค เป็นประมุข แต่ก็มีออร์ธอด็อกซ์บางกลุ่มที่ยังขึ้นต่อสำนักวาติกันเรียกว่า ออร์ธอด็อกซ์คาธอลิค พวกนี้มีพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นแบบตะวันออกแต่ระบบการปกครองอยู่ภายใต้การชี้นำของสำนักวาติกัน ประเทศที่นับถือนิกาย ออร์ธอด็อกซ์ส่วนมากเป็นพวกยุโรปตะวันออก เช่น โรมาเนีย ฮังการี โปแลนด์ ยูโกสลาเวีย รัสเซีย ฯลฯ </span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #ccffff\"><span style=\"color: #9400d3\"><u>พิธีกรรมและแนวความเชื่อของนิกายออร์ธอด็อกซ์</u></span><br />\n</span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #ccffff\"><span style=\"color: #dc143c\">นิกายออร์ธอด็อกซ์ มีแนวความเชื่อที่ต่างจากนิกายโรมันคาทอลิคบางประการ ตามที่ฮอพฟ์ (Hopfe. 1983 : 398 - 399) ได้จำแนกไว้มีดังนี้ คือ </span></span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #dc143c\">1. การรับศีลล้างบาปของนิกายออร์ธอด็อกซ์ยังคงกระทำกับทารก และใช้วิธีการดำน้ำ ส่วนนิกายคาทอลิคนั้นใช้วิธีการปะพรมน้ำและอาจจะกระทำต่อเด็กซึ่งโตพอรู้หลักธรรม ไม่จำเป็นที่จะต้องกระทำต่อทารกเท่านั้น (เด็กที่โตพอรู้ความนั้นอาจจะมีอายุประมาณ 12-14 ปี) </span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #dc143c\">2. การรับศีลมหาสนิทของนิกายออร์ธอด็อกซ์ใช้ขนมปังและเหล้าไวน์ ส่วนนิกายคาทอลิคให้แต่ขนมปังอย่างเดียว ส่วนเหล้าไวน์นั้นบาทหลวงผู้ทำพิธีเท่านั้นที่ได้ดื่ม และระยะเวลาของการทำพิธีศีลมหาสนิทของนิกายออร์ธอด็อกซ์ก็ใช้เวลาที่ยาวนานกว่ากัน </span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #dc143c\">3. นิกายออร์ธอด็อกซ์ยอมให้นักบวชของตนสามารถแต่งงานได้ก่อนบวช ส่วนนิกายคาทอลิคผู้ที่บวชได้จะต้องเป็นโสด ไม่มีพันธะทางครอบครัวมาก่อน </span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #dc143c\">4. นักปรัชญาและนักคิดของทางตะวันออก มีอิทธิพลต่อนิกายออร์ธอด็อกซ์ เน้นในความศักดิ์สิทธิ์ของพระคริสต์ทำให้ห่างจากความเป็นมนุษย์ </span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #dc143c\">5. นิกายออร์ธอด็อกซ์ปฏิเสธการสลักรูปเคารพของพระเจ้าและพระแม่มารี แต่ยินดีกราบไหว้รูปเคารพที่เป็นไม้กางเขนและรูปเคารพที่เป็นศิลปีประเภทจิตรกรรม ดังนั้น เราจะพบว่าโบสถ์ของนิกายออร์ธอด็อกซ์มีภาพเขียนฝาฝนังรูปพระเจ้า แม่พระและนักบุญ แต่ไม่มีการสลักรูปสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้เลย </span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #dc143c\">6. นิกายออร์ธอด็อกซ์ส่งเสริมชีวิตประชาชนให้ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย โดยเฉพาะนักบวชนั้นต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ มีความอดทน กล้าหาญ ไม่อาลัยในความสุข ละความรักแบบโลก ๆ แต่เคร่งครัดศรัทธษในศาสนาอย่างจริงจับ นักบวชออร์ธอด็อกซ์หลายคนสละชีวิตทางโลกไปเป็น นักพรตถือศีลภาวนาตามถ้ำ และทะเลทรายไม่น้อย </span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #dc143c\">7. นิกายออร์ธอด็อกซ์ใช้ภาษากรีกและถือว่าเป็นภาษาที่ต้องให้ความเคารพคล้ายกับพระพุทธศาสนาที่ให้ความสำคัญกับภาษาบาลี </span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #dc143c\">สรุปได้ว่า นิกายออร์ธอด็อกซ์เป็นนิกายแรก ที่แยกตัวออกมาเป็นอิสระจากสำนัก วาติกันในกรุงโรม โดยมีสาเหตุใหญ่ที่สุดคือ การปฏิเสธในอำนาจของพระสันตะปาปา ประกอบกับ มีพื้นภูมิประเทศที่ห่างไกลจากอำนาจของโรมันตะวันตก จึงเป็นการง่ายที่จะตั้งตนเป็นอิสระ และปฏิบัติพิธีกรรมความเชื่อไปตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนผสมผสมผสานกับความเชื่อในคริสตศาสนา ดังนั้นนิกายออร์ธอด็อกซ์จึงมีลักษณะที่ค่อนข้างแปลกแยกจากพวกคาทอลิคและพวกโปรเตสแตนด์ </span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #dc143c\">อย่างไรก็ตาม ผู้นับถือนิกายออร์ธอด็อกซ์นี้มีศรัทธาที่เหนียวแน่นในศาสนามาก เราจะเห็นได้ว่า แม้นประเทศทางแถบยุโรปตะวันออกหลายประเทศ ได้เปลี่ยนการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์และประชาชนประเทศตุรกีเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม ผู้นับถือนิกายออร์ธอด็อกซ์หลายคนยังคงมีศรัทธาที่เหนียวแน่นและปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด ไม่ถูกหลอมเหลาได้ง่ายจาก สภาพแวดล้อมจวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ยังคงมีผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ธอด็อกซ์ในบริเวณ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นจำนวนไม่น้อย ทั้ง ๆ ที่น่าจะถูกทำลายจนหมดสิ้นโดยผู้รุกราน </span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #dc143c\"></span>\n</p>\n<p><span style=\"color: #dc143c\"></span></p>\n<div style=\"text-align: center\">\n<img height=\"40\" width=\"520\" src=\"/files/u30555/11_20_178_.gif\" border=\"0\" />\n</div>\n<div style=\"text-align: center\">\n</div>\n<div align=\"left\" style=\"text-align: center\">\n</div>\n<p><span></span></p>\n', created = 1719728413, expire = 1719814813, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:e6c4a2e78ae75e372f46b80c181ea5a4' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

การกำเนิดนิกาย

นิกายออร์ธอด็อกซ์ (Orthodox)

ความเป็นมาสืบย้อนได้ถึงศตวรรษแรกในคริสตศาสนา อันเป็นช่วงระยะเวลาที่จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งแยกออกเป็นสองอาณาจักร คือ โรมันตะวันตกมีศูนย์กลางที่กรุงโรม (Rome)ใช้ภาษาละตินเป็นภาษากลาง ส่วนโรมันตะวันออกซึ่งนิยมเรียกกันว่า ไบแซนทีน (Byzantine) มีศูนย์กลางที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) มีสหมิตรที่เป็นแนวร่วมเดียวกัน คือ เมืองอาเล็กซานเดรีย (Alexandria) อันติอ็อค (Antioch) และเยรูซาเล็ม (Jerusalem) ใช้ภาษากรีกเป็นภาษากลางสื่อสาร

แม้นว่ากรุงคอนสแตนติโนเปิล โดยทั่วไปเป็นของพวกเตอร์ก แต่ผู้นับถือนิกายออร์ธอด็อกซ์ยังคงมีอยู่บ้าง ส่วนมากแพร่หลายในแถบยุโรปตะวันออกและรัสเซีย ทำให้เกิดนิกายออร์ธอด็อกซ์แบบสลาฟ (Slavic Orthodox) และนิกายออร์ธอด็อกซ์แบบรัสเซีย (Russia Orthodox) ซึ่งแต่เดิมมาทั้งหมดนี้เคยเป็นแบบนิกายกรีก ออร์ธอด็อกซ์ (Greek Orthodox) โดยเฉพาะที่รัสเซียนั้น ศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากอาจเรียกได้ว่าเป็นอาณาจักรโรมันแห่งที่สาม มีศูนย์กลางที่มอสโคว์ (Moscow) อย่างไรก็ตาม พอสิ้นสุดระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช เข้าสู่ยุคการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ความรุ่งเรืองของศาสนาได้ลดลงไปแต่ยังไม่ถึงกับศูนย์สลาย

ปัจจุบันนี้ นิกายออร์ธอด็อกซ์มีอิสระภาพในด้านความเชื่อและการปกครองของตนเอง โดยไม่ต้องขึ้นต่อสำนักวาติกันของโรม มีปาตริอาร์ค เป็นประมุข แต่ก็มีออร์ธอด็อกซ์บางกลุ่มที่ยังขึ้นต่อสำนักวาติกันเรียกว่า ออร์ธอด็อกซ์คาธอลิค พวกนี้มีพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นแบบตะวันออกแต่ระบบการปกครองอยู่ภายใต้การชี้นำของสำนักวาติกัน ประเทศที่นับถือนิกาย ออร์ธอด็อกซ์ส่วนมากเป็นพวกยุโรปตะวันออก เช่น โรมาเนีย ฮังการี โปแลนด์ ยูโกสลาเวีย รัสเซีย ฯลฯ

พิธีกรรมและแนวความเชื่อของนิกายออร์ธอด็อกซ์

นิกายออร์ธอด็อกซ์ มีแนวความเชื่อที่ต่างจากนิกายโรมันคาทอลิคบางประการ ตามที่ฮอพฟ์ (Hopfe. 1983 : 398 - 399) ได้จำแนกไว้มีดังนี้ คือ

1. การรับศีลล้างบาปของนิกายออร์ธอด็อกซ์ยังคงกระทำกับทารก และใช้วิธีการดำน้ำ ส่วนนิกายคาทอลิคนั้นใช้วิธีการปะพรมน้ำและอาจจะกระทำต่อเด็กซึ่งโตพอรู้หลักธรรม ไม่จำเป็นที่จะต้องกระทำต่อทารกเท่านั้น (เด็กที่โตพอรู้ความนั้นอาจจะมีอายุประมาณ 12-14 ปี)

2. การรับศีลมหาสนิทของนิกายออร์ธอด็อกซ์ใช้ขนมปังและเหล้าไวน์ ส่วนนิกายคาทอลิคให้แต่ขนมปังอย่างเดียว ส่วนเหล้าไวน์นั้นบาทหลวงผู้ทำพิธีเท่านั้นที่ได้ดื่ม และระยะเวลาของการทำพิธีศีลมหาสนิทของนิกายออร์ธอด็อกซ์ก็ใช้เวลาที่ยาวนานกว่ากัน

3. นิกายออร์ธอด็อกซ์ยอมให้นักบวชของตนสามารถแต่งงานได้ก่อนบวช ส่วนนิกายคาทอลิคผู้ที่บวชได้จะต้องเป็นโสด ไม่มีพันธะทางครอบครัวมาก่อน

4. นักปรัชญาและนักคิดของทางตะวันออก มีอิทธิพลต่อนิกายออร์ธอด็อกซ์ เน้นในความศักดิ์สิทธิ์ของพระคริสต์ทำให้ห่างจากความเป็นมนุษย์

5. นิกายออร์ธอด็อกซ์ปฏิเสธการสลักรูปเคารพของพระเจ้าและพระแม่มารี แต่ยินดีกราบไหว้รูปเคารพที่เป็นไม้กางเขนและรูปเคารพที่เป็นศิลปีประเภทจิตรกรรม ดังนั้น เราจะพบว่าโบสถ์ของนิกายออร์ธอด็อกซ์มีภาพเขียนฝาฝนังรูปพระเจ้า แม่พระและนักบุญ แต่ไม่มีการสลักรูปสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้เลย

6. นิกายออร์ธอด็อกซ์ส่งเสริมชีวิตประชาชนให้ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย โดยเฉพาะนักบวชนั้นต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ มีความอดทน กล้าหาญ ไม่อาลัยในความสุข ละความรักแบบโลก ๆ แต่เคร่งครัดศรัทธษในศาสนาอย่างจริงจับ นักบวชออร์ธอด็อกซ์หลายคนสละชีวิตทางโลกไปเป็น นักพรตถือศีลภาวนาตามถ้ำ และทะเลทรายไม่น้อย

7. นิกายออร์ธอด็อกซ์ใช้ภาษากรีกและถือว่าเป็นภาษาที่ต้องให้ความเคารพคล้ายกับพระพุทธศาสนาที่ให้ความสำคัญกับภาษาบาลี

สรุปได้ว่า นิกายออร์ธอด็อกซ์เป็นนิกายแรก ที่แยกตัวออกมาเป็นอิสระจากสำนัก วาติกันในกรุงโรม โดยมีสาเหตุใหญ่ที่สุดคือ การปฏิเสธในอำนาจของพระสันตะปาปา ประกอบกับ มีพื้นภูมิประเทศที่ห่างไกลจากอำนาจของโรมันตะวันตก จึงเป็นการง่ายที่จะตั้งตนเป็นอิสระ และปฏิบัติพิธีกรรมความเชื่อไปตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนผสมผสมผสานกับความเชื่อในคริสตศาสนา ดังนั้นนิกายออร์ธอด็อกซ์จึงมีลักษณะที่ค่อนข้างแปลกแยกจากพวกคาทอลิคและพวกโปรเตสแตนด์

อย่างไรก็ตาม ผู้นับถือนิกายออร์ธอด็อกซ์นี้มีศรัทธาที่เหนียวแน่นในศาสนามาก เราจะเห็นได้ว่า แม้นประเทศทางแถบยุโรปตะวันออกหลายประเทศ ได้เปลี่ยนการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์และประชาชนประเทศตุรกีเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม ผู้นับถือนิกายออร์ธอด็อกซ์หลายคนยังคงมีศรัทธาที่เหนียวแน่นและปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด ไม่ถูกหลอมเหลาได้ง่ายจาก สภาพแวดล้อมจวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ยังคงมีผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ธอด็อกซ์ในบริเวณ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นจำนวนไม่น้อย ทั้ง ๆ ที่น่าจะถูกทำลายจนหมดสิ้นโดยผู้รุกราน

สร้างโดย: 
สิริเนตร และอาจาร์ย วีรศักดิ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 414 คน กำลังออนไลน์