อารยธรรมกรีก

อารยธรรมกรีกโบราณ ( Civillization of Ancient Greece )

อารยธรรมกรีกโบราณได้แก่อารยธรรมของนครรัฐกรีกซึ่งเจริญขึ้นบนผืนแผ่นดินกรีซในทวีปยุโรปและบริเวณชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้านเอเชียไมเนอร์ซึ่งในสมัยโบราณเรียกว่าไอโอเนีย(Ionia)อารยธรรมที่เจริญขึ้นในนครรัฐกรีกมีศูนย์กลางสำคัญอยู่ที่นครรัฐเอเธนส์และนครรัฐสปาร์ตานครรัฐเอเธนส์เป็นแหล่งความเจริญในด้านต่างๆ ทั้งทางด้านการปกครองเศรษฐกิจสังคมศิลปะวิทยาการรวมทั้งปรัชญาส่วนนครรัฐสปาร์ตาเจริญในลักษณะที่เป็นรัฐทหารในรูปเผด็จการมีความแข็งแกร่งเกรียงไกรเป็นผู้นำของนครรัฐอื่นๆกล้าหาญและเด็ดเดี่ยวในด้านการรบการศึกษาเกี่ยวกับอารยธรรมกรีกโบราณส่วนใหญ่จึงเป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับนครรัฐเอเธนส์และนครรัฐสปาร์ตาชาวกรีกโบราณเป็นชาวอินโด-ยูโรเปียนเรียกตัวเองว่าเฮลีนส์เรียกบ้านเมืองของตนเองว่าเฮลัสและเรียกอารยธรรมของตนเองว่าเฮเลนิคชาวกรีกตั้งบ้านเรือนของตนอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ตรงปลายสุดของทวีปยุโรปตรงตำแหน่งที่มาบรรจบกันของทวีปยุโรปเอเชียและแอฟริกาเป็นต้นเหตุให้กรีซโบราณได้รับอิทธิพลความเจริญโดยตรงจากทั้งอียิปต์และ เอเชียกรีซได้อาศัยอิทธิพลดังกล่าวพัฒนาอารยธรรมของตนขึ้นโดยคงไว้ซึ่งลักษณะที่เป็นของตัวเอง

 

พื้นฐานอารยธรรมกรีก

1.กรีกเป็นพวกอินโด-ยูโรเปียนกลุ่มหนึ่งอพยพเข้าสู่ดินแดนกรีกแล้วรับความเจริญจากวัฒนธรรมไมนวน(Minoan Culture)บนเกาะครีตรวมทั้งวัฒนธรรมของเอเชียไมเนอร์และวัฒนธรรมอียิปต์มา
ผสมผสานจนเป็นอารยธรรมของตนเอง
      

2.ชาวกรีกเรียกตัวเองว่าเฮลลีน(Hellene)เรียกบ้านเมืองตัวเองว่าเฮลลัส(Hellas)และเรียกอารยธรรมของตนเองว่าเฮเลนิก(Hellenic Civilzation)

3.อุปนิสัย โดยทั่วไปของคนกรีกคืออยากรู้อยากเห็นเชื่อมั่นในเหตุผลชอบเสรีภาพและความ
เป็นปัจเจกชนนอกจากนี้กรีกยังเป็นพวกนิยมความเป็นธรรมชาติ

4.กรีกมีภูมิประเทศเป็นภูเขาทำให้ต้องแบ่งการปกครองออกเป็นนครรัฐแต่ละนครรัฐอิสระจากกันศูนย์กลางนครรัฐอยู่ที่อะโครโปลิส

ยุคของอารยธรรมกรีก

ยุคโบราณ

ในยุคสำริด3,000-2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชเป็นยุคที่อารยธรรมชนเผ่าไซแคลดิกและไมซีแนเอียนกำลังมีอิทธิพลรุ่งเรืองอยู่ในกรีซแต่พอถึงศตวรรษที่11ก่อนคริสตกาลอิทธิพลของวัฒนธรรมไซแคลดิกและไมซีแนเอียนก็ถึงกาลเสื่อมสลายลงเพราะถูกรุกรานโดยนักรบเผ่าดอเรียนที่รุกมาจากทางเหนืออารยธรรมต่างๆในกรีซจึงเริ่มเข้าสู่ยุคมืดช่วงเวลา800ปีก่อนคริสตกาลเป็นช่วงเวลาที่อารยธรรมกรีซเฟื่องฟูขึ้นมาอีกครั้งวัฒนธรรมและกิจการทหารของกรีซเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดเมืองเอเธนส์ลัสปาต้าเป็นศูนย์กลางของอำนาจมหาอาณาจักรกรีซประกอบด้วยอิตาลีทางตอนใต้อันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของอาณาจักรอันยิ่งใหญ่กรีซย่างก้าวเข้าสู่ยุคคลาสสิกหรือยุคทองในยุคนี้เองนักปราชญ์ชื่อเพเรอคลิสผู้ทำให้วิหารพาร์เธนอนเป็นที่รู้จักของชาวโลก
โซโฟคลิสได้เขียนมหากาพย์อีดิปุสขึ้นและโสคราติสหรือซาเครอทิสได้เริ่มการสอนลูกศิษย์ชาวเอเธนส์ให้รู้จักวิชาตรรกวิทยาและหลักการของประชาธิปไตยต่อมาไม่นานนักยุคทองของกรีซก็ถึงจุดเสื่อมแล้วกรีซก็เข้าสู่ยุคสงครามเปลโอปอนนีเซียนซึ่งกองทหารอันเกรียงไกรของสปาร์ตาได้ยกกำลังเข้าบดขยี้ชาวเอเธนส์เสียจนย่อยยับ

ในขณะที่สปาร์ตากำลังรุกรานกรีซอย่างย่ามใจทางตอนเหนือพระเจ้าฟิลิปแห่งอาณาจักรมาซิโดเนียกำลังไล่ตีเมืองเล็กเมืองน้อยรุกคืบเข้ามาใกล้กรีซทุกทีแต่ทว่าความทะเยอทะยานที่จะเป็นผู้พิชิตในภูมิภาคนี้ของพระเจ้าฟิลิปก็ถูกบดบังรัศมีโดยโอรสของพระองค์เองคือพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชผู้สามารถยาตราทัพไปถึงเอเชียไมเนอร์และอียิปต์ซึ่งที่อียิปต์นี้เองพระองค์ได้รับการยกย่องให้เป็นฟาโรห์ผู้สร้างเมืองอเล็กซานเดรียพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยกทัพไปถึงเปอร์เซียและดินแดนส่วนที่เป็นอินเดียและอัฟกานิสถานในปัจจุบันในรัชสมัยของอาณาจักรมาซิโดเนียเรียกกันว่ายุคเฮลเลนิสติก(Hellenistic Period)เพราะยุคนี้มีการผสมผสานปรัชญาและวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองของชนชั้นปกครองจนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบใหม่ที่ศิวิไลซ์ยิ่งขึ้นหลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ33ปีแล้วมีกษัตริย์ปกครองกรีซสืบต่อมาอีก3รัชกาล

ครั้นถึงปีที่205ก่อนคริสต์ศักราชอิทธิพลของโรมันแผ่ขยายเข้ารุกรานกรีซและเมื่อถึงปี146 ก่อนคริสตกาลกรีซกับมาซิโดเนียตกอยู่ใต้การปกครองของโรมันหลังจากที่มีการแบ่งอาณาจักรโรมันเป็นอาณาจักรตะวันออกและตะวันตกกรีซได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไบแซนไทน์
และเมื่อเกิดสงครามครูเสดขึ้นอิทธิพลของอาณาจักรไบแซนไทน์ก็เสื่อมถอยเพราะถูกรุกรานโดยชาวเวนิส คาตาลัน เจนัว
แฟรงก์ และนอร์มัน

ยุคกลาง

ในปีพ.ศ.1996(ค.ศ.1453)กรุงคอนสแตนติโนเปิลเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ถูกพวกเติร์กยึดครองและเมื่อถึงปีพ.ศ.2043(ค.ศ.1500)ดินแดนของกรีซทั้งหมดก็ตกอยู่ใต้อำนาจของเติร์กดินแดนที่เป็นกรีซในปัจจุบันแต่ก่อนเป็นศูนย์กลางการค้าทางเรือของยุโรปตอนกลางและเป็นที่ชุนนุมนักปราชญ์กับศิลปินของโลกเพราะที่นี่เป็นหมู่บ้านกรีกที่มีประเพณีและวัฒนธรรมของกรีกออร์ทอดอกซ์ในการทำสงครามเพื่อกู้เอกราชจากเติร์กกรีซได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากนักคิดนักเขียนและนักปรัชญาเช่นไบรอน แชลเลย์ และเกอเธอย่างไรก็ตามการต่อสู้ที่ขาดเอกภาพของกรีซทำให้ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษตัดสินใจเข้ามาแทรกแซงหลังจากกรีซได้รับเอกราชแล้วกลุ่มอำนาจในยุโรปมีความเห็นว่ากรีซควรมีการปกครองระบบกษัตริย์จึงได้จัดการให้กษัตริย์ออตโตแห่งบาวาเรียเป็นกษัตริย์ปกครองกรีซในปีพ.ศ.2376(ค.ศ.1833) หลังจากนั้นกรีซก็มีกษัตริย์ขึ้นครองราชย์อีกหลายพระองค์ด้วยกันจนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่1จึงได้รับพระราชทานกฎหมายรัฐธรรมนูญให้กรีซในปีพ.ศ.2407(ค.ศ.1864)ทำให้กรีซมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ

ยุคใหม่

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่1กองทัพกรีซอยู่ข้างฝ่ายสัมพันธมิตรและเข้ายึดครองเมืองเทรซ เมื่อสงครามโลกยุติกรีซได้ส่งกองกำลังเข้าไปช่วยปลดปล่อยเมืองสเมอร์นาของตุรกี(ปัจจุบันคืออิซมีร์)ให้ได้รับอิสรภาพเพราะเมืองนี้มีประชาชนชาวกรีกอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากกองกำลังกรีกถูกต่อต้านอย่างแข็งแกร่งจากกองทัพของอตาเติร์กซึ่งได้เข่นฆ่าชาวกรีกในเมืองนั้นเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมากผลของสงครามนี้ทำให้มีการตกลงแลกเปลี่ยนพลเมืองของ2ประเทศกันในปีพ.ศ. 2466(ค.ศ.1923)ประชากรกรีกเพิ่มจำนวนประชากรมากขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะมีผู้อพยพชาวคริสเตียนมาอยู่ในกรีซมากถึง1,300,000คนทำให้กรีซมีปัญหาด้านเศรษฐกิจตามมาคนเหล่านี้กระจายกันไปอยู่นอกเมืองภายหลังมีการก่อตั้งสหภาพแรงงานต่างๆขึ้นในกลุ่มพวกอพยพที่อาศัยอยู่ตามหัวเมืองรอบนอกและในปีพ.ศ.2479(ค.ศ. 1936)พรรคคอมมิวนิสต์ในกรีซก็เติบโตและมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆจากการสนับสนุนของประชาชนทั่วประเทศ

ปีพ.ศ.2479(ค.ศ. 1936)นายพลเมเตอซัสได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีเขาเป็นผู้ปกครองประเทศที่นิยมการปกครองแบบเผด็จการถึงแม้ว่าจะได้เห็นความเป็นไปในชะตากรรมของพวกนาซีแต่ตัวเขาเองกลับกระทำการต่างๆที่ทำให้เขาได้รับฉายาว่าเป็นภาพจำลองของอาณาจักรไรน์ในกรีซนายพลเมเตอซัสทำการต่อต้านไม่ยอมให้เยอรมนีกับอิตาลีเดินทัพผ่านกรีซ
ถึงแม้ว่ากลุ่มสัมพันธมิตรจะเข้าช่วยกรีซแต่กรีซก็ต้องตกเป็นของเยอรมนีในปีพ.ศ.
2484(ค.ศ.1941)เป็นผลให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงขึ้นมีการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลเกิดความวุ่นวายขึ้นในประเทศที่มีทั้งฝ่ายสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์และฝ่ายสนับสนุนสถาบันกษัตริย์เป็นชนวนให้เกิดสงครามกลางเมืองนองเลือดขึ้นในกรีซและยุติลงในพ.ศ.2492(ค.ศ.1949)โดยฝ่ายนิยมกษัตริย์อ้างชัยชนะ

ในช่วงเวลานั้นอเมริกากำลังเคร่งครัดในลัทธิทรูแมนรัฐบาลอเมริกาในขณะนั้นมีนโยบายให้เงินก้อนใหญ่สนับสนุนรัฐบาลที่ต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์แต่ความกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์จะครองเมืองทำให้คณะทหารของกรีซทำการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาลเมื่อปีพ.ศ. 2510(ค.ศ.1967)
กล่าวกันว่าการปฏิวัติในกรีซเป็นผลมาจากการแทรกแซงทางการเมืองของหน่วยงานCIAของสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาปฏิบัติการในทวีปยุโรปกลุ่มทหารที่ครองอำนาจในกรัซทำตนมีอำนาจเหนือ
ราษฎรและทำการกดขี่ข่มเหงประชาชนยิ่งกว่านั้นคณะนายพลของทหารกรีซได้ทำการวางแผนลอบสังหารผู้นำของไซปรัสในขณะนั้นเป็นผลให้ตุรกีฉวยโอกาสเข้ารุกเข้ายึดครองตอนเหนือของไซปรัสทำให้เหตุการณ์นี้เป็นข้อบาดหมางระหว่างกรีซกับตุรกีมาจนถึงทุกวันนี้

ในปีพ.ศ.2524(ค.ศ. 1981)กรีซเข้าเป็นสมาชิกสมาคมสหภาพยุโรปพรรคสังคมนิยมPASOKนำโดยนายแอนเดรียส์ปาปันเดรโอชนะการเลือกตั้งได้เป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลให้สัญญาว่าจะจัดการให้อเมริกาย้ายฐานทัพอากาศออกไปจากกรีซและกรีซจะถอนตัวจากการเป็นสมาชิกของนาโตแต่รัฐบาลทำไม่สำเร็จสตรีชาวกรีซเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงประเพณีเรื่องสินสอดและเรียกร้องให้กฎหมายสนับสนุนการทำแท้งเสรีความไม่สงบในประเทศทำให้ปาปันเดรโอกับรัฐบาลของเขาเสียอำนาจการปกครองประเทศให้กับรัฐบาลผสมระหว่างพรรคอนุรักษ์นิยมกับพรรคคอมมิวนิสต์ในปีพ.ศ.2532(ค.ศ. 1989)การเลือกตั้งในกรีซเมื่อพ.ศ.2533(ค.ศ.1990)พรรคอนุรักษ์นิยมได้ที่นั่งมากที่สุดและได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศแต่ไม่สำเร็จการเลือกตั้งใหม่ในพ.ศ.2536(ค.ศ.1993)กรีซได้ปาปันเดรโอผู้นำเฒ่าของพรรคเสรีนิยมกลับมาครองอำนาจกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้งท่านผู้นำถึงแก่อนิจกรรมในพ.ศ.2539(ค.ศ.1996)หลังจากที่ท่านลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองกรีซได้ผู้นำคนใหม่ชื่อคอสทาสสมิทิสต่อมากรีซกับตุรกีขัดแย้งกันอย่างหนักจนใกล้จะระเบิดสงครามเมื่อผู้สื่อข่าวของตุรกีได้นำธงชาติกรีซมาย่ำยีเล่นสมิทิสได้รับการเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีกรีซอีกครั้งรัฐบาลใหม่ให้สัญญากับประชาชนว่าจะเร่งการนำประเทศเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มอียูนายกรัฐมนตรีเป็นเพื่อนร่วมชั้นกับรัฐมนตรีโทนีแบลร์ของอังกฤษตั้งแต่สมิทิสมีอำนาจในการบริหารประเทศเขามีนโยบายเห็นด้วยกับกลุ่มฝ่ายค้านพรรคประชาธิปไตยใหม่แทบทุกเรื่อง

อารยธรรมสำคัญ

1.การนับถือเทพเจ้ามากมาย


-มีเทพเจ้าสูงสุด คือซีอุสแห่งเขาโอลิมปุสซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและสายฝน

-เทพโพไซดอน เป็นเทพแห่งท้องทะเล

-เทพอพอลโล เป็นเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์

**แต่กรีกไม่ได้ให้ศาสนาเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตเหมือนชาวอียิปต์

2.วิหารหินอ่อนพาร์เธนอน


คือวิหารโบราณบนเนินอะโครโพลิสในกรุงเอเธนส์ประเทศกรีซสร้างเพื่อเป็นศาสนสถานบูชาเทพีเอเธนาหรือเทพีแห่งปัญญาความรอบรู้ในศตวรรษที่5ก่อนคริสต์ศักราชเป็นสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมกรีกโบราณที่มีชื่อเสียงที่สุดแสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดของสถาปนิกในสมัยนั้นและถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกมีขนาดกว้าง101.4ฟุตหรือ30.9เมตรและยาว228.0ฟุตหรือ69.5เมตร คำว่าพาร์เธนอนนั้นน่าจะมาจากประติมากรรมที่เคยตั้งอยู่ภายในวิหารคือAthena Parthenosซึ่งมีความหมายว่าเทพีอันบริสุทธิ์

3.หัวเสา 3 แบบ คือ


-1.ดอริก                  หัวเสาเรียบ

-2.ไอโอนิก             หัวเสาเป็นแบบม้วนย้อยลงมา

-3.โครินเธียน         หัวเสาเป็นรูปใบไม้หรูหรา

4.ประติมากรรม จิตรกรรม
และสถาปัตยกรรมของกรีก

-ประติมากรรมส่วนมากเป็นเรื่องศาสนาซึ่งสร้างถวายเทพเจ้าต่างๆวัสดุที่นิยใช้สร้างงานได้แก่ ทองแดงและดินเผาในสมัยต่อมานิยมสร้างจากสำริดและหินอ่อนเพิ่มขึ้นในสมัยแรกๆรูปทรงยังมีลักษณะคล้ายรูปเรขาคณิตอยู่ต่อมาในสมัยอาร์คาอิก(200 ปีก่อนพ.ศ.)เริ่มมีลักษณะคล้ายกับมนุษย์มากขึ้นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้ารูปนักกีฬารูปวีรบุรุษรูปสัตว์ต่างๆในยุคหลังๆรูปทรงจะมีความเป็นมนุษย์มากขึ้นแสดงท่าทางการเคลื่อนไหวที่สง่างามมีการขัดถูผิวหินให้เรียบดูคล้ายผิวมนุษย์มีลีลาที่เป็นไปตามธรรมชาติมากขึ้นทำให้ประติมากรรมกรีกจัดเป็นยุคคลาสสิคที่ให้ความรู้สึกในความงามที่เป็นความจริงตามธรรมชาตินั่นเอง

-จิตรกรรมรู้จักกันดีก็มีแต่ภาพวาดระบายสีตกแต่งผิวแจกันเท่านั้นที่ชาวกรีกนิยมทำมาจนถึงพุทธศตวรรษที่1เป็นภาพที่มีรูปร่างที่ถูกตัดทอนรูปจนใกล้เคียงกับรูปเรขาคณิตมีความเรียบง่ายและคมชัดสีที่ใช้ได้แก่สีดินคือเอาสีดำอมน้ำตาลผสมบางๆระบายสีเป็นภาพบนพื้นผิวแจกันที่เป็นดินสีน้ำตาลอมแดงแต่บางทีก็มีสีขาวและสีอื่นๆร่วมด้วยเทคนิคการใช้รูปร่างสีดำระบายพื้นหลังเป็นสีแดงนี้เรียกว่า"จิตรกรรมแบบรูปตัวดำ"และทำกันเรื่อยมาจนถึงสมัยพุทธศตวรรษที่1มีรูปแบบใหม่ขึ้นมาคือ"จิตรกรรมแบบรูปดัวแดง"โดยใช้สีดำอมน้ำตาลเป็นพื้นหลังภาพตัวรูปเป็นสีส้มแดงหรือสีน้ำตาลไม้ตามสีดินของพื้นแจกัน

-สถาปัตยกรรมใช้ระบบโครงสร้างแบบเสาและคานเช่นเดียวกับอียิปต์มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจากฐานอาคารซึ่งยกเป็นชั้นๆก็จะเป็นฝาผนังโดยปราศจากหน้าต่างซึ่งจะกั้นเป็นห้องต่างๆ1- 3ห้องปกติสถาปนิกจะสร้างเสารายล้อมรอบอาคารหรือสนามด้วยมีการสลับช่วงเสากันอย่างมีจังหวะระหว่างเสากับช่องว่างระหว่างเสาทำให้พื้นภายนอกรอบๆวิหารมีความสว่างและมีรูปทรงเปิดมากกว่าสถาปัตยกรรมอียิปต์และมีขนาดเหมาะสมไม่ใหญ่โตจนเกินไปมีรูปทรงเรียบง่าย สถาปัตยกรรมกรีกแบบพื้นฐาน2ใน3แบบเกิดในสมัยอาร์คาอิกคือแบบดอริกและแบบไอโอนิกซึ่งแบบหลังพบแพร่หลายทั่วไปในแถบเอเชียไมเนอร์เสาหล่านี้แต่ละต้นจะมีคานพาดหัวเสาถึงกันหมดในสมัยต่อมาเกิดสถาปัตยกรรมอีแบบหนึ่งคือแบบโครินเธียนหัวเสาจะมีลายรูปใบไม้ชาวกรีกนิยมสร้างอาคารโดยใช้สถาปัตยกรรมทั้งสามชนิดนี้ผสมผสานกันโดยมีการตกแต่งประดับประดาด้วยการแกะสลักลวดลายประกอบบางทีก็แกะสลักรูปคนประกอบไปด้วยนอกจากนี้ยังมีการใช้สีระบายตกแต่งโดยสีน้ำเงินได้รับความนิยมใช้ระบายฉากหลังรูปลวดลายที่หน้าจั่วและสีแดงใช้ระบายฉากหลังสำหรับประติมากรรมที่หัวเสาและลายคิ้วคาน

 5.วรรณกรรมสำคัญ

-1.มหากาพย์อีเลียด-โอดิสซี   ของ กวีโฮเมอร์

เป็นหนึ่งในสองบทกวีมหากาพย์กรีกโบราณของโฮเมอร์ซึ่งเล่าเรื่องราวของสงครามเมืองทรอยในช่วงปีที่สิบอันเป็นปีที่สิ้นสุดสงครามเชื่อกันว่าอีเลียดถูกแต่งขึ้นในช่วงศตวรรษที่แปดก่อนคริสตกาลนักวิชาการหลายคนเชื่อว่าบทกวีเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในภาษากรีกโบราณจึงถือได้ว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นแรกของยุโรปแม้จะมีชื่อผู้ประพันธ์ปรากฏเพียงคนเดียวแต่จากลักษณะของบทกวีที่บอกเล่าสืบต่อกันมาแบบปากเปล่ารุ่นต่อรุ่นจึงมีความเป็นไปได้ว่ามีผู้ประพันธ์มากกว่าหนึ่งคน

เรื่องราวในบทกวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในปีที่สิบซึ่งเป็นปีสุดท้ายของเหตุการณ์ที่ชาวกรีกบุกยึดนครอีเลียนหรือเมืองทรอยคำว่า"อีเลียด"หมายถึง"เกี่ยวกับอีเลียน"(ภาษาละตินเรียกอีเลียม(Ilium))อันเป็นชื่อเรียกส่วนนครหลวงซึ่งแตกต่างกับทรอยอันหมายถึงนครรัฐที่อยู่ล้อมรอบอีเลียมแต่คำทั้งสองคำนี้มักใช้รวมๆกันหมายถึงสถานที่แห่งเดียวกัน

โครงเรื่อง-บทกวีเริ่มต้นขึ้นเมื่อชาวกรีกได้จับตัวนางไครเซอีสบุตรีของไครสิสเจ้าพิธีของอพอลโลมาแล้วและมอบนางให้เป็นรางวัลแก่อักกะเมมนอนเทพอพอลโลจึงบันดาลให้เกิดโรคระบาดในกองทัพกรีกเพื่อบีบบังคับให้อักกะเมมนอนคืนตัวนางไครเซอีสให้แก่บิดาอักกะเมมนอนจึงไปบังคับเอาตัวนางไบรเซอีสมาแทนนางไบรเซอีสเป็นทาสชาวเอเคียนที่มอบให้เป็นรางวัลแก่อคิลลีสนักรบผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุคดังนั้นอคิลลีสจึงถอนตัวออกจากการรบ

ฝ่ายเมืองทรอยนั้นมีเจ้าชายเฮกเตอร์โอรสของท้าวเพรียมเป็นแม่ทัพนำศึกป้องกันเมืองและปกป้องครอบครัวของตนเมื่ออคิลลีสไม่ยอมร่วมรบด้วยเฮกเตอร์จึงสามารถมีชัยชนะเหนือกองทัพกรีกนักรบกรีกที่เหลืออยู่รวมถึงโอดิซูสและดิโอมีดีสต่างได้รับบาดเจ็บด้วยเวลานั้นปวงเทพต่างเข้าข้างฝ่ายเมืองทรอย ปโตรกลัสจึงปลอมตัวเป็นอคิลลีสโดยนำเสื้อเกราะของเขามาสวมและนำทัพชาวเมอร์มิดอนกลับเข้าร่วมรบเพื่อช่วยป้องกันเรือของพวกกรีกไม่ให้ถูกเผาทำลายปโตรกลัสถูกเฮกเตอร์สังหารสิ้นชีพอคิลลีสจึงกลับเข้าร่วมรบเพื่อแก้แค้นให้ปโตรกลัสเขาสังหารเฮกเตอร์ได้สำเร็จด้วยการประลองตัวต่อตัวแล้วเอาร่างของเฮกเตอร์กลับไปค่ายด้วย ท้าวเพรียมลอบเข้าค่ายทัพกรีก(ด้วยความช่วยเหลือของเทพเฮอร์มีส)เพื่อไถ่ร่างของบุตรชายคืน
อคิลลีสเกิดความสงสารจึงคืนให้ บทกวีจบลงที่การพิธีศพของเฮกเตอร์

เหตุการณ์หลังจากอีเลียด-ตอนจบของอีเลียดเต็มไปด้วยลางร้ายมากมายอันเนื่องจากการเสียชีวิตของเฮกเตอร์และดูเหมือนว่าชะตาของกรุงทรอยได้มาถึงจุดจบแต่โฮเมอร์มิได้แสดงรายละเอียดของการล่มสลายของกรุงทรอยไว้รายละเอียดของการล่มสลายสามารถดูเพิ่มเติมได้จาก สงครามเมืองทรอยส่วนกวีนิพนธ์ของโฮเมอร์อีกเรื่องหนึ่งคือโอดิสซีย์เล่าถึงเหตุการณ์ระหว่างการเดินทางกลับบ้านของโอดิซูสหลังจากเสร็จศึกกรุงทรอยกวีนิพนธ์ทั้งสองเรื่องนี้มีส่วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันแต่ไม่ได้ต่อเนื่องกัน

-2.ปรัชญานิพนธ์     ของ โสเครตีสเพลโตและอริสโตเติล

 

 

2.1)โสคราติสเกิดที่กรุงเอเธนส์เมื่อ470ปีก่อนคริสตกาลเคยได้เข้าร่วมในการทำสงครามเปลโอปอนนีเซียนหลังจากนั้นเขาอุทิศเป็นผู้สอนวิชาตรรกวิทยา“Know Thyself”ตามสถานที่สาธารณะต่างๆวิธีการสอนของท่านคือการตั้งคำถามและตอบเมื่ออายุ70 ปีโสคราติสต้องโทษตามกฎหมายกรีซให้ดื่มยาพิษ

 

 

2.2)เพลโตเกิดที่กรุมเอเธนส์เมื่อ428ปีก่อนคริสตกาลท่านเป็นลูกศิษย์ของโสคราติสที่เคารพและเทิดทูลโสคราติสมากเพลโตได้ตั้งวิทยาลัยสอนวิชาวิทยาศาสตร์และปรัชญาขึ้นเป็นแห่งแรกในกรุงเอเธนส์เมื่อ387ปีก่อนคริสต์ศักราชผลงานเขียนของเพลโตเป็นคำสอนรูปของบทสนทนาในหนังสือชื่อThe Republicของเพลโตท่านแยกพลเมืองออกเป็น3กลุ่มคือประชาชนทหารและผู้ปกครองประเทศเพลโตเป็นผู้ให้หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับอธิปไตยไว้อย่างชัดเจนว่า หญิงและชายมีฐานะเท่าเทียมกันและจะต้องได้รับการศึกษาเหมือนกันรัฐจะต้องจัดการแต่งงานให้ประชาชนเด็กแรกเกิดจะถูกแยกจากพ่อแม่เพื่อประชาชนจะได้ไม่มีความผูกพันเป็นส่วนตัวเพื่อให้ประชาชนมีความรู้สึกในความเป็นเจ้าของรัฐแต่เพียงอย่างเดียว

2.3)อริสโตเติลเกิดที่เมืองสตากิราแคว้นมาซีโดเนียเมื่อ384ปีก่อนคริสตกาลท่านเดินทางไปเอเธนส์เพื่อศึกษาวิชาปรัชญาที่สำนักของเพลโตเมื่อ367ปีก่อนคริสตกาลและพำนักอยู่ที่นั่นเป็นเวลา20ปีจนกระทั่งเพลโตถึงแก่กรรมจึงเดินทางไปเผยแพร่คำสอนตามหลักปรัชญาของเพลโตในที่ต่างๆเป็นเวลา10ปีแล้วจึงตั้งสำนักศึกษาของท่านเองชื่อว่าThe Lyceumนาน12ปี

อริสโตเติลเป็นนักคิดคนแรกที่ค้นพบวิชาตรรกวิทยาโดยอาศัยข้อเท็จจริง2ข้อสนับสนุนกันและกันเช่นความดีทุกอย่างควรสรรเสริญและความกรุณาก็เป็นความดีอันหนึ่งฉะนั้นความกรุณาจึงควรได้รับการสรรเสริญด้วยเป็นต้น 

-3.ประวัติศาสตร์นิพนธ์          ของเฮโรโดตัสและธูซิดิดีส

เฮโรโดตัสเขียนประวัติของสงครามเปอร์เซีย ธูซิดิเดสเขียนประวัติสงครามเพลอปปอนเนซัส(Peloponnesian War)หลังสงครามเพลอปปอนเนซัสเซโนโฟน(Xenophon)เขียนเกี่ยวกับการผจญภัยของเขาในฐานะทหารรับจ้างต่อสู้กับเปอร์เซียช่วงที่โรมันเข้าครอบครองกรีซโพลีบิอัส(Polybius)เขียนประวัติของโรมในกรีกงานเหล่านี้เขียนในลักษณะร้อยกรอง

-4.บทสนทนาปรัชญาและสนธิสัญญา  ปรัชญาที่เขียนขึ้นเป็นครั้งแรกเขียนโดยพลาโตในรูปของบทละครแบบหนึ่งคนสองคนหรือมากกว่าสนทนาต่อกันและกันต่อมาทั้งของพลาโตและศิษย์ของเขาคืออริสโตเติลได้เขียนหนังสือปรัชญาออกมาในรูปร้อยกรองที่ไม่ได้เป็นบทสนทนา

6.ละครแนวโศกนาฏกรรมและสุขนาฏกรรม

โศกนาฏกรรมเป็นเรื่องเศร้าในขณะที่ศรีสุขนาฏกรรมเป็นตลกขบขันโศกนาฏกรรมเก่าที่สุดซึ่งเรายังคงมีงานอยู่เขียนโดยแอสไครัส(Aeschylus)และยังมีโศกนาฏกรรมที่เขียนโดยโซโฟคลีสและยูริปิเดส(Euripides)ศรีสุขนาฏกรรมเก่าที่สุดที่ยังคงเหลืออยู่เขียนโดยอาริสโตฟาเนส(Aristophanes)ศรีสุขนาฏกรรมต่อมาบางเรื่องเขียนโดยเมนานเดอร์(Menander)ละครยังเขียนเป็นบทร้อยกรอง

7.กีฬา Olympic

 

 

        หน้าคริสตกาลกว่า1,000ปีการแข่งขันกีฬาได้ดำเนินการกันบนยอดเขา"โอลิมปัส"ในประเทศกรีกโดยนักกีฬาจะต้องเปลือยกายเข้าแข่งขันเพื่อประกวดความสมส่วนของร่างกายและยังมีการต่อสู้บางประเภทเช่นกีฬาจำพวกมวยปล้ำเพื่อพิสูจน์ความแข็งแรงผู้ชมมีแต่เพียงผู้ชายห้ามผู้หญิงเข้าชมดังนั้นผู้ชมจะต้องขึ้นไปบนยอดเขาครั้นต่อมามีผู้นิยมมากขึ้นสถานที่บนยอดเขาจึงคับแคบเกินไปจึงทำให้ไม่เพียงพอที่จุทั้งผู้เล่นและผู้ชมได้ทั้งหมด

        ดังนั้นในปีที่776ก่อนคริสตกาลชาวกรีกได้ย้ายที่แข่งขันกันที่เชิงเขาโอลิมปัสและได้ปรับปรุงการแข่งขันเสียใหม่ให้ดีขึ้นโดยให้ผู้เข้าเข่งขันสวมกางเกงพิธีการแข่งขันจึงจัดอย่างมีระเบียบเป็นทางการมีจักรพรรดิมาเป็นองค์ประธานอนุญาตให้สตรีเข้าชมการแข่งขันได้แต่ไม่อนุญาตให้เข้าแข่งขันประเภทกรีฑาที่มีการแข่งขันที่ถือเป็นทางการในครั้งแรกนี้มีกีฬาอยู่5ประเภทคือการวิ่ง กระโดด มวยปล้ำ พุ่งแหลนและขว้างจักร
ผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่งๆจะต้องเล่นทั้ง
5ประเภทโดยผู้ชนะจะได้รับรางวัลคือมงกุฎที่ทำด้วยกิ่งไม้มะกอกซึ่งขึ้นอยู่บนยอดเขาโอลิมปัสนั่นเองและได้รับเกียรติเดินทางท่องเที่ยวไปทุกรัฐในฐานะตัวแทนของพระเจ้าและการแข่งขันได้จัดขึ้น ณ เชิงเขาโอลิมปัสแคว้นอีลิสที่เดิมเป็นประจำทุกๆสี่ปีและถือปฏิบัติต่อกันมาโดยไม่เว้นเมื่อถึงกำหนดการแข่งขันทุกรัฐจะต้องให้เกียรติหากว่าขณะนั้นกำลังทำสงครามกันอยู่จะต้องหยุดพักรบและมาดูนักกีฬาของตนแข่งขันหลังจากเสร็จจากการแข่งขันแล้วจึงค่อยกลับไปทำสงครามกันใหม่ประเภทของการแข่งขันได้เปลี่ยนแปลงไปบ้างในระยะต่อๆมาโดยมีการพิจารณาและลดประเภทของกรีฑาเรื่อยมา อย่างไรก็ดีในระยะแรกๆนี้กรีฑา5ประเภทดังกล่าวจัดแข่งขันกันในครั้งแรกก็ยังได้รับเกียรติให้คงไว้ซึ่งเรียกกันว่า"เพ็นตาธรอน"หรือ"ปัญจกรีฑา"ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการรำลึกถึงกำเนิดของกรีฑาในปัจจุบันก็ยังมีการแข่งขันกันอยู่แต่ประเภทของปัญจกรีฑาได้เปลี่ยนตามยุคและกาลสมัย   

 

 


8.วิทยาศาสตร์ของกรีกโบราณ

ชาวกรีกสนใจมากในวิทยาศาสตร์ในฐานะเป็นวิธีของการจัดระเบียบโลกและจัดลำดับออกมาจากความยุ่งเหยิงสับสนและมีพลังอำนาจเหนือสิ่งที่มีอำนาจบางอย่างเช่นมหาสมุทรหรือลมฟ้าอากาศ(weather)ชายกรีกจำนวนมากใช้เวลาในการสังเกตดาวเคราะห์และดวงอาทิตย์และพยายามมองภาพการทำงานของดาราศาสตร์ชาวกรีกต้องนำบทเรียนแรกมาจากชาวบาบิโลเนียน ซึ่งเป็นผู้มีความสนใจและมีความรู้ดีในเรื่องดาราศาสตร์

ปิธากอรัส(Pythagoras)ได้สนใจในการค้นหารูปแบบและกฎในคณิตศาสตร์และดนตรี
และสร้างความคิดในการพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์แม้ว่าตามปกติแล้วสตรีกรีกไม่ได้รับการยินยอมให้ศึกษาวิทยาศาสตร์ปิธากอรัสได้ให้สตรีบางคนเข้ามาเป็นศิษย์ของเขาได้โสกราตีสหลังต่อมาเล็กน้อยได้พัฒนาวิธีตรรกะในการตัดสินว่าบางสิ่งเป็นจริงหรือไม่

อริสโตเติล(Aristotle) และนักปรัชญาอื่นที่ลีเซียม(Lyceum)และอคาเดมี(Academy)ในเอเธนส์ได้สังเกตพืชและสัตว์และจัดจำแนกประเภทพืชและสัตว์นี่เป็นวิธีการสร้างระเบียบออกมาจากความสับสนอีกด้านหลังจากอริสโตเติล(Aristotle)ใช้ความคิดของเขากับความคิดจากชาวอียิปต์
เปอร์เซีย และอินเดีย ฮิปโปเครตีส(
Hippocrates)และแพทย์กรีกอื่นๆเขียนตำราการแพทย์ที่สำคัญซึ่งใช้มาเป็นเวลาหลายร้อยปี

 จัดทำโดยม.6/2

1.น.ส.พิกุล นึกกระโทก
เลขที่
7

2.น.ส.อัยญารัตน์
กองเงิน เลขที่
22

3.น.ส.ภานุมาศ เกิดโภคา
เลขที่
23

4.น.ส.สรรศิริ
เพริศพรายวงศ์ เลขที่
27

5.นายปฏิพัทธ์ ทองวิลา
เลขที่
30

 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 227 คน กำลังออนไลน์