ปรากฏการณ์คอมป์ตัน

                            1. คอมป์ตัน ชาวอเมริกัน ได้ทดลองฉายรังสีเอกซ์ที่มีความยาวคลื่นค่าเดียวไปชนอิเล็กตรอนของแท่งแกรไฟต์ แล้ววัดความยาวคลื่นของรังสีเอกซ์ที่กระเจิงออกมา พบว่า รังสีเอกซ์ที่กระเจิงออกมามีทั้งความยาวคลื่นเท่าเดิมและความยาวคลื่นมากกว่าเดิม
                            2. เนื่องจากการกระเจิงของรังสีเอกซ์ ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คอมป์ตันจึงเชื่อว่า การกระเจิงดังกล่าวจากรังสีเอกซ์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแสดงสมบัติเป็นอนุภาค (รังสีเอกซ์ประกอบด้วยก้อนพลังงานที่เรียกว่าโฟตอน) ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของไอน์สไตน์ตามทฤษฎีโฟตอนของแสง
                           3. คอมป์ตันได้อธิบายการกระเจิงของรังสีเอกซ์เมื่อชนกับแท่งแกรไฟต์โดยใช้กฎอนุรักษ์พลังงาน และกฎอนุรักษ์โมเมนตัม ซึ่งสรุปได้ดังนี้คือ
                                1)   กรณีรังสีเอกซ์ที่กระเจิงมีความยาวคลื่นเท่าเดิม แสดงว่า โฟตอนของรังสีเอกซ์ชนกับอิเล็กตรอนในแท่งแกรไฟต์แบบยืดหยุ่น

                               2) กรณีรังสีเอกซ์ที่กระเจิงมีความยาวคลื่นมากกว่าค่าเดิม แสดงว่าโฟตอนของรังสีเอกซ์ชนกับอิเล็กตรอนในแท่งแกรไฟต์แบบไม่ยืดหยุ่นโดย ยิ่งรังสีเอกซ์กระเจิงจากแนวเดิมมาก ความยาวคลื่นจะมีค่าเพิ่มขึ้นมาก

สร้างโดย: 
KAI

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 400 คน กำลังออนไลน์